Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

พพ. ปลื้ม 2 นวัตกรรมไทย ตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน 

คณะผู้บริหารกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน นำโดย มัณลิกา สมพรานนท์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน,  นันทนิษฎ์ วงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการกองกำกับและอนุรักษ์พลังงาน และ อาวุธ  เครือเขื่อนเพชร พร้อมทีมงาน เยี่ยมชม Transformer Low Carbon & Submersible Transformer Low Carbon และสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยได้ร่วมบรรยายหัวข้อ “ เรื่อง  Transformer Low Carbon & Submersible Transformer Low Carbon Plate Form บริหารจัดการพลังงานสะอาด Solar & Energy Storage มุ่งสู่ Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response

มัณลิกา สมพรานนท์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน กล่าวถึง Transformer Low Carbon & Submersible Transformer Low Carbon ถือเป็นนวัตกรรมของคนไทยตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน เพราะปัจจุบันเรื่องพลังงานถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทุกภาคส่วน รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายให้คนไทยมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ลดการนำเข้าพลังงาน

หม้อแปลงดังกล่าวจึงเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการที่จะพลิกโฉมประเทศ                      สู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่า เน้นการเติบโตที่สมดุล ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น สร้างพลวัตใหม่ให้แก่เศรษฐกิจ ยังช่วยลดการใช้พลังงาน ลดค่าไฟฟ้า ลดคาร์บอน ลดเรือนกระจก และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าพลังงานสะอาด

 ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและผู้แทนพิเศษ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเกียรติบรรยายเรื่อง Transformer Low Carbon & Submersible Transformer Low Carbon Plate Form บริหารจัดการพลังงานสะอาด Solar & Energy Storage มุ่งสู่ Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response

ด้วยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้ร่วมวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ดำเนินงานวิจัยหม้อแปลง  Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Sustainable Green Energy Management System ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Demand Response และ Saving Energy” ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าหม้อแปลงที่ใช้ในการดำเนินโครงการที่กล่าวในข้างต้น ตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน ในภาคอุตสาหกรรม Smart Factory, Smart Building ในด้าน Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน

โดยสามารถลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และมีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา  2 – 5  ปี ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าพลังงานสะอาด

ประจักษ์  กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ กล่าว ขอขอบพระคุณ ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)  โดยหม้อแปลงดังกล่าว ตอบโจทย์การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน ของภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการอาคารสถานที่ ที่สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 9% และลดคาร์บอนมากกว่า 100 ล้านตันคาร์บอน คืนทุนภายใน 2-5 ปี เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนสร้างความมั่นคงและความยืดหยุ่นด้านพลังงาน เพื่อผลัดดันการเปลี่ยนผ่านไป สู่พลังงานสะอาด ความยั่งยืนนี้จะส่งเสริมการเติบโตสีเขียวในภูมิภาค ทั้งนี้สถานการณ์ดังกล่าวทำให้รัฐบาลต้องประกาศนโยบายการลดคาร์บอน

โดยประกาศเป้าหมายความเป็นกลางของแผนลดก๊าซคาร์บอนในปี 2575 จะเห็นภาพการใช้พลังงานทั้งด้านอุตสาหกรรมและภาคประชาชน ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับการ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ดังนั้น หม้อแปลงที่กล่าวข้างต้นจึงตอบโจทย์ทุกหน่วยงาน ภาครัฐ, เอกชน และภาคอุตสาหกรรม ด้านการประหยัดพลังงานและลดคาร์บอน

Post a comment

8 + two =