Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

บทเพลงของผู้สูงวัย

คอลัมน์ เซาะร่องเสียง
โดย นกป่า อุษาคเณย์

ในปัจจุบัน ทั้งไทย และทั้งโลก ได้ก้าวเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” แต่ดูเหมือนว่าเรื่องราวของ “ผู้สูงวัย” ไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสื่อกระแสหลัก

อย่างไรก็ดี มีศิลปินอิสระกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเลือกทำงาน ชนิดที่เรียกว่า ท้าทายวงการเพลง ด้วยการสร้าง Project วงดนตรีที่เป็นตัวแทน “ผู้สูงวัย” เพื่อสื่อสารกับคนรุ่นใหม่

วงนี้มีชื่อว่า The Charapaabs (เดอะ ชราภาพ) วงดนตรี Hi-concept ของคนหนุ่ม ที่รวมตัวกันทำวง และทำเพลงเนื้อหาเกี่ยวกับ “ผู้สูงวัย”

แต่ไม่ว่าจะวัยไหน ถ้าได้ฟังเพลงของพวกเขา รับรองได้ว่า ต้องถูกใจอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับผู้เขียน

คนหนุ่มทั้ง 5 ประกอบด้วย วิน ยศ กิต ดร และโจ้ หรือชาร์ลี เป็นคนทำงานสายโฆษณา Content Creator มีคนที่เป็นนักดนตรี และทนายความ อาจารย์

การรวมตัวครั้งนี้เกิดจากคำชวนของเพื่อนๆ ว่า มาทำวงดนตรีสนุกๆ กัน แต่มีข้อแม้ว่า Project นี้ ต้องทำอะไรที่แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร

ด้วย Concept ที่วางไว้ในตอนต้น คือ “ความแก่” ดังนั้น พวกเขาจึงพยายามแพร่กระจายกลิ่นอายความแก่ให้แทรกซึมเข้าไปในดนตรี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sound แบบย้อนยุค

วิธีสื่อสารเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของ The Charapaabs เพราะพวกเขาไม่เปิดเผยตัวตนแท้จริง แต่เลือกใช้ภาพผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน Music Video หรือแม้หน้าเวที

Bennetty รุ่นน้องของ The Charapaabs

ฐิติชัย สวัสดิ์เวช มือกีตาร์วัย 65 ปี และเพื่อนร่วมวงอีก 5 คน คือ บุญเสริม ชูช่วย (86, เมาท์ออร์แกน) เทพ เก็งวินิจ (74, คีย์บอร์ด) ธนกร เจียสิริ (65, กลอง) วัชระ ณ ระนอง (80, ร้องนำ) และ ศิริ ดีลัน (69, เบส)

ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมวงดนตรี ภายใต้ความร่วมมือของชูใจ กะ กัลยาณมิตร ครีเอทีฟเอเจนซี ค่ายสมอลล์รูม และคงเดช จาตุรันต์รัศมี ผู้กำกับภาพยนตร์และสารคดี ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

แน่นอนว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีวงดนตรีสร้างสรรค์งานเพลงเกี่ยวกับ “ผู้สูงวัย”

เพราะ 2 ปีก่อนหน้า Bennetty วง “เดอะ ชราภาพ” ได้เปิดตัว Single “ศาลาคนเศร้า” และ “ตรวจสุขภาพประจำปี” เพลงร็อคจัดๆ ชวนดิ้น เนื้อหากล่าวถึง “ผู้สูงวัย” ที่ต้อง “ตรวจสุขภาพประจำปี”

ที่แม้จะต้องผจญกับความเจ็บไข้ได้ป่วยจากโรคภัยที่เพิ่มขึ้นตามอายุ แต่จิตใจ และทัศนคติที่ดี จะทำให้พวกเขาไม่ต้องจมอยู่กับทุกข์ และมีความสุขได้ตามอัตภาพ

รีวิวอัลบั้ม “มหามรดก” คณะ “เดอะ ชราภาพ”

เพลง “ตรวจสุขภาพประจำปี” https://www.youtube.com/watch?v=7Be3smHYaE4

เพลงพูดแบบ “เพลิน พรมแดน” แต่ใส่เสียงกีตาร์แตกๆ สับคอร์ดรัวๆ กลองฟาดอย่างมันส์ ขัดกับความเชื่องช้าหน้าห้องตรวจสุขภาพประจำปี เสียงร้องประสานเหมือนเพลงสวดในโบสถ์คริสต์ ในภาพรวมที่สดใสของการเรียบเรียงเสียงประสาน คลอด้วยเสียงบรรยากาศโรงพยาบาล 555

เพลง “ศาลาคนเศร้า” https://www.youtube.com/watch?v=cSoB5aaktMg

เราคงอยู่ รู้เรื่องราว ทุกข่าว คล้ายเรื่องเก่า

เราคงอยู่ รู้บางสิ่ง ความจริง ที่ต้องเจอ

ต้องไปงานเลี้ยงที่ไม่มีกำหนดก่อน

และเป็นอยู่บ่อยครั้ง ที่ไม่พร้อม ไม่อยากจะไป

เพียงแค่ทายทัก คนที่ได้รู้จัก

จะยิ้มมากนัก ก็ดูไม่เหมาะ ไม่ควร

กลิ่นดอกไม้ หอมควันและไออุ่น

บทประสานฟังคุ้น บรรยากาศกลับดูวังเวง

ข้าวปลาเพียบพร้อม กินกันไม่มีหมด

เจ้าของงานงดออกโลง มาชวนพูดคุย

จะมีอีกกี่ครั้ง ที่ใครลุกไปก่อน

เกิดงานเดิมซ้ำซ้อน และเมื่อไหร่เล่าจะถึงคราว

เพลง “ศาลาคนเศร้า” เล่าถึงกิจกรรมประจำวัยของ ส.ว. (สูงวัย) คือการไปงานศพของเพื่อนวัยเดียวกันที่เริ่มจากไปทีละคน

ดนตรีเป็น Brit Rock ยุค Alternative ปลายๆ ท่อนสร้อยที่ร้องวน Loop เหมือนตอกย้ำมโนสำนักของ “ผู้สูงวัย” เราคงอยู่ รู้เรื่องราว ทุกข่าว คล้ายเรื่องเก่า เราคงอยู่ รู้บางสิ่ง ความจริง ที่ต้องเจอ

เพลง “อัลไซเมอร์” https://www.youtube.com/watch?v=Nm98a4uAj5k

Rhythm Session Drum & Bass คือพระเอกของเพลงนี้ เปิดด้วยบทสัมภาษณ์ทั้งคนที่เป็น “อัลไซเมอร์” และคนที่ดูแลคนเป็น “อัลไซเมอร์” กับความห่วงหาอาทรในชีวิตประจำวัน เสียงประสานมาในสไตล์ Another Brick In the Wall กับดนตรี Progressive กึ่ง Opera Rock

เพลง “สวัสดีวันจันทร์” https://www.youtube.com/watch?v=dkNZlMXzGzg

ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับคนแก่ที่ชอบส่งไลน์ “สวัสดีวันจันทร์” เพลงของ “เดอะ ชราภาพ” เพลงนี้ก็เช่นเดียวกัน เป็นความเหงาที่อยากสื่อสารกับเพื่อนๆ แม้คนวัยอื่นอาจรำคาญ แต่ถ้าเป็นคนวัยเดียวกันจะเข้าใจ ว่า “ผู้สูงวัย” ส่งสติ๊กเกอร์ และรูปดอกไม้ “สวัสดีวันจันทร์” กันไปทำไม

ดนตรีเป็น Rock & Roll ชวนเต้น สับคอร์ดสนุกๆ ฟังๆ ไปฝีมือของ “เดอะ ชราภาพ” นี่ไม่ธรรมดาเลย การโค้ชคนแก่ที่ไม่มี Skill ด้านงานเพลงแบบมืออาชีพให้มาลงเสียงร้องไม่ง่ายเลย

เพลง “เอลวิสยังอยู่” https://www.youtube.com/watch?v=3FfmGPUPp7U

เนื้อร้อง และลีลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสียงร้องคือ “เอลวิส” ที่สนุกสนานแบบนุ่มๆ เขย่าๆ ภาษาเขียนคล้าย ’รงค์ วงษ์สวรรค์’ อยู่บ้าง ดนตรีจัดมาแบบ “เอลวิส” ผสม Seattle Sound

เป็น “เอลวิส” ที่ไม่ได้สื่อถึงแค่ Rock Star ดาวค้างฟ้าผู้โด่งดังก้องโลก แต่ยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ ว่าความฝันไม่มีวันบุบสลายไปตามวัยเมื่อเราแก่ตัวลง

เพลง “ทนต์” https://www.youtube.com/watch?v=UCCtENWxVA8

สับคอร์ด และ Rhythm มาในแบบ Last Christmas เดินเบสมันส์ๆ เหมือนทุกเพลง ท่อน Rap กระชากใจ โดย “ตู้ ดิเรก”

เนื้อหาพูดถึง “สุขภาพช่องปาก” ของ “ผู้สูงวัย” และการดูแลรักษา “ฟัน” หรือ “ทนต์” (ทันตะ) ที่แปลว่า “ฟัน” พ้องเสียงกับคำว่า “ทน” หรือ “อดทน” กับวัยที่ร่วงโรย และ “ฟัน” ที่ทยอยร่วงทีละซี่ จนใกล้จะหมดปาก “เดอะ ชราภาพ” เน้นทำเพลงแบบใช้เสียงประสาน ให้อารมณ์ Pink Floyd

เพลง “สายเปย์” https://www.youtube.com/watch?v=ZZD2_4ByuOY

เพลงนี้ใช้เบสและการโซโล่กีตาร์ เล่าเรื่องแฟนตาซีแบบ “ป๋าๆ” ที่เคยค้นพบว่า “การเปย์” คือการแลกความสุข และการยอมรับชั่วครั้งชั่วคราว “ความใจป๋า” อาจมีความยั่งยืนในบางเรื่อง แต่กับเรื่อง “สายเปย์” แทบไม่มีใครยกย่องชื่นชม นอกจากคนที่ได้ประโยชน์จากการ “เปย์” ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นเพลงเต้นรำสนุกสนาน แม้คอร์ดจะรก และ Sound หนวกหูอยู่บ้าง แต่ก็ฟังเพลง

เพลง “บุพการีรอ” https://www.youtube.com/watch?v=6TE6EaW4SWw

ขึ้นมาแบบ Rock จัดเต็มแต่ค่อยดึงอารมณ์ให้ช้าลง และเป็น Ballad Rock เล่าถึงการเฝ้ามองการเติบโตของบุตรหลาน และความคิดถึง ใช้ภาษาเหนือผสมภาษากลาง มีความเนิบช้า สื่อถึงความถวิลหาลูกหลาน เพลงนี้เหมาะกับเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่ ที่แค่คนแก่หวังเพียงลูกหลานทักไปทางไลน์ หรือโทร.หา ก็แค่นั้น แต่ถ้ามาหาก็จะดีมาก

เพลง “คนที่ไปก่อน” https://www.youtube.com/watch?v=RhDBkqLlUmw

เพลงนี้เศร้าที่สุดในอัลบั้ม แม้เพลงอื่นจะเศร้า แต่ถ้ามาถึง Track นี้คนที่ฟังต้องหยุด จากการวางโครงสร้างดนตรี และการเรียบเรียงเสียงประสาน การเลือกใช้เครื่องดนตรี การแต่งเนื้อร้อง วิธีร้อง การนำเสนอทั้งหมดในองค์รวม คล้ายการขยายเสียง Music Box ในหนาขึ้น ให้บรรยากาศเหมือน Sound Track หนังผีเศร้าๆ ปนกับหนังไทยโบราณ “เดอะ ชราภาพ” ชอบใช้เสียงประสานเล่าเรื่อง และเพลงนี้ดูเหมือนจะลงตัวที่สุด ตบท้ายด้วยกีตาร์โฟล์คเศร้าๆ

เพลง “ภวชรา” https://www.youtube.com/watch?v=kXYThLr_ufM

เพลงนี้ Featuring กับ “ธเนศ วงศ์ยานนาวา” บอกตรงๆ ว่าผมซื้อแผ่นเสียงชุดนี้เพราะมีชื่อ “ธเนศ วงศ์ยานนาวา” และเมื่อได้ฟังเพลงนี้ก็ตลกดี ยิ่งดูมิวสิควิดีโอที่เล่นกับคนหน้าเหมือนประยุทธ์ก็ยิ่งขำ

สับคอร์ดมันส์ๆ เหมือนยั่วล้อประยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อเพลง (กลอน) หรือกลอนเปล่าแบบมีสัมผัส เลือกใช้วิธีการอ่านบทกวี ที่คล้ายจะด้นสด (แต่เขียนไว้ล่วงหน้า) เป็นเพลงปิดอัลบั้มที่กระชากใจได้ดี และปิดท้ายด้วยเสียงร้องประสานเหมือนทุกๆ เพลงที่ฟังมา

สรุป

“มหามรดก” เป็นอัลบั้มที่หยิบมาฟังบ่อย บางวันฟังแล้วสนุก ขำๆ แต่บางวันก็ฟังแล้วร้องไห้ คิดถึงบุพการี เพื่อนฝูง เจ้านาย และญาติๆ ที่จากไป กับสภาวะของคนแก่ที่ยังอยู่ใกล้ตัวเรา และตัวเราเองที่กำลังแก่ลงทุกๆ วัน

Post a comment

16 − 12 =