Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

มาจากยุค 90

คอลัมน์: เซาะร่องเสียง

โดย นกป่า อุษาคเณย์

ก่อนหน้าคอนเสิร์ต GRAMMY x RS เราได้เห็น Event ที่นำศิลปินยุค 90 กลับมาแสดงคอนเสิร์ตกันเป็นระยะ

อีกทั้งมีการนำผลเอาผลงานเพลงยุค 90 มาทำเป็น CD รวมฮิต หรือ MP3 แบบถูกลิขสิทธิ์ออกวางขายกันอย่างมากมาย

โดยค่ายเพลงไทยที่ทรงอิทธิพลในยุค 90 ที่ยังดำเนินธุรกิจขายแผ่น CD กันอยู่ ไม่ว่าจะเป็น GRAMMY KITA BAKERY

แม้ RS จะไม่สนใจทำ CD หรือ MP3 แต่ค่ายเฮียจั๊วะเฮียฮ้อ ก็มีการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ของศิลปินยุค 90 อยู่เป็นระยะเช่นกัน

เหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้ศิลปินจากยุค 90 หวนกลับมาอยู่สปอตไลท์วงการเพลงยุคปัจจุบัน นอกจากความล่มสลายของวงการขาย CD เพลงที่ทำให้มีศิลปินเกิดใหม่ในยุคนี้น้อยมาก จึงทำให้ศิลปินรุ่นเก่าโดยเฉพาะรุ่นยุค 90 มีโอกาสกลับมา

อีกทั้งกลุ่มคนฟังในยุค 90 ที่ถ้าเป็นวัยรุ่นยุคนั้นก็อายุ 10 กลางๆ ถึง 20 ต้นๆ มาถึงวันนี้กลายเป็นนักฟังเพลงรุ่นใหญ่ หลายคนลงหลักปักฐาน มีความมั่นคงในชีวิต มีสตางค์ มีกำลังซื้อ จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของบรรดาค่ายเพลง

ศิลปินจากยุค 90 เป็นที่รู้จักคุ้นหน้าคุ้นตา หลายคนยังโลดแล่นอยู่ในวงการ หลายคนยังเดินสายแสดงคอนเสิร์ตตามผับ หลายคนยังเป็นพรีเซนเตอร์สินค้ากันอยู่ และหลายวงก็ยังคงออกผลงานอยู่อย่างต่อเนื่อง

ฐานคนฟังตรงนี้มีความน่าสนใจ และค่ายเพลงไทยก็รู้ดีว่า นี่คือกลุ่มคนฟังเพลงกลุ่มใหญ่ ที่ยังติดตามข่าวคราวของศิลปินยุค 90 เป็นกลุ่มที่ยังอุดหนุน CD รวมฮิต หรือ MP3

แม้กระทั่ง ยังควักกระเป๋าซื้อแผ่นเสียง กลุ่มคนฟังเพลงยุค 90 ที่ถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มเล็ก ทว่า กระเป๋าหนัก และทรงอิทธิพลต่อตลาดเพลงไทย โดยเฉพาะวงการเพลง POP

เพราะเพลง POP เป็นดนตรีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการฟังเพลงของคนวงกว้าง มีเมโลดี้ง่ายๆ มีท่วงทำนองที่ติดหู และมีเนื้อร้องที่ฟังแล้วไม่ต้องตีความซับซ้อน สามารถร้องตามและจดจำกันได้ไม่ยาก

เราจึงเห็นการร้องคาราโอเกะมีการกดเพลง POP ขึ้นมาร้องมากที่สุด และตามงานเลี้ยงก็จะเล่นเพลง POP มากที่สุดเช่นกัน

แม้อีกด้านหนึ่ง ดนตรี Alternative ROCK จะได้รับความนิยมในวงกว้างไม่แพ้กัน

แต่ด้วยท่วงทำนองและการเรียบเรียงดนตรีที่ซับซ้อนมากกว่าเพลง POP ยังไม่ต้องพูดถึงเนื้อเพลงที่ร้องตามยากกว่า จึงไม่เป็นที่นิยมสำหรับคาราโอเกะและบนเวทีงานเลี้ยงเท่ากับเพลง POP

อย่างไรก็ดี ทั้งเพลง POP และดนตรี Alternative ROCK ได้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหลังผ่านไป 30 ปี

หากย้อนกลับไปขุดราก และถอนประวัติศาสตร์ วงการเพลงยุค 90 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นทางวงการดนตรีโลก คือ อเมริกา และยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝั่งอังกฤษ

เพลง POP และดนตรี Alternative ROCK ยุค 90 โดย Alternative ROCK เสมือนสัญลักษณ์แห่งการปลดปล่อยความเก็บกดทางดนตรีของหนุ่มสาวที่กำลังถูกห้อมล้อมด้วยเพลง Bubble Gum ผลผลิตจากค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ที่พากันเปิดกรอกหูกันอยู่ 24 ชั่วโมง

แม้ว่า ในท้ายที่สุด Alternative ROCK ยุค 90 จะถูกคลื่นเพลงยุค Digital โถมเข้าใส่ และกลืนหายไปกลายเป็นดนตรีกระแสหลัก เป็นประวัติศาสตร์ และจบลงด้วยการตายของ Kurt Cobain แห่งวง Nirvana

และแม้ในยุคปัจจุบัน ที่การเดินดู CD ตามร้านกลายเป็นของแปลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหลือร้าน CD น้อยเต็มที

การฟังวิทยุจากคลื่นหลักก็เป็นของแปลกเช่นกัน เพราะ Internet เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของ Generation Z และทุกๆ คนบนโลกใบนี้

และแม้ว่า จะสามารถคาดการณ์ได้ไม่ยากว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ จะต้องมีดนตรีแนวใหม่ๆ เกิดขึ้นอีก แต่ก็คงเป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูกันต่อไป เพราะตอนนี้เรากำลังย่างเข้าสู่กลางทศวรรษใหม่ ยุค 2020

ย้อนหลังกลับไปก่อนยุค 90 คือราวห้วงต้นยุค 80 การระเบิดขึ้นของ The Cure และ The Smith แม้จะได้รับความนิยมในกลุ่มคนฟังเล็กๆ แต่นั่นก็คือเป็นวาระการ “เปิดตำนาน” ดนตรี Alternative ROCK ยุค 90 อย่างแท้จริง

โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าสู่ยุค 90 วงการดนตรีฝั่งอเมริกา ได้เปิดปรากฏการณ์ดนตรีแนว Grunge Rock หรือ Seattle Sound นำโดย Pearl Jam, Soundgarden, Alice in Chains, Mudhoney and Hammerbox

ขณะที่ฝั่งอังกฤษก็เกิดดนตรีแนวใหม่ เช่นกัน ภายใต้รหัส BRIT POP นำโดยOasis, Radiohead, Blur

ความแตกต่างระหว่างความดิบของ Grunge กับ BRIT POP คือ เมโลดี้ที่ไพเราะและเสียงร้องที่ฟังสบาย อาทิ Don’t Look Back In Anger ของ Oasis แต่ถ้าจะสู้กับ Grunge ก็ต้อง Creep ของ Radiohead

ในวงการเพลงไทย เพลง POP และดนตรี Alternative ROCK ยุค 90 โดย Alternative ROCK ก็เสมือนสัญลักษณ์แห่งการปลดปล่อยความเก็บกดทางดนตรีของหนุ่มสาวที่กำลังถูกห้อมล้อมด้วยเพลง Bubble Gum ผลผลิตจากค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ที่พากันเปิดกรอกหูกันอยู่ 24 ชั่วโมงเช่นกัน

Alternative ROCK ยุค 90 ของไทย มีวงเด่นๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่คอเพลงไทย ก็เช่น อรอรีย์, Siam Secret Service, พราว, Moderndog, The Must, AUDI, ซีเปีย, Paradox, สี่เต่าเธอ, สครับบ์ ที่ฟังแล้วได้อิทธิพลจาก BRIT POP และอีกหลายวง

แม้อีกด้านหนึ่ง ดนตรี Alternative ROCK จะได้รับความนิยมในวงกว้างไม่แพ้กัน แต่ด้วยท่วงทำนองและการเรียบเรียงดนตรีที่ซับซ้อน จึงไม่เป็นที่นิยมสำหรับคาราโอเกะและบนเวทีงานเลี้ยงเท่ากับเพลง POP นั่นเอง

Post a comment

five × 2 =