Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

งานวิจัย “Smart Program” จ่ายอุปกรณ์ชี้ช่วยลดงานเจ้าหน้าที่ รพ.และการสูญเสีย

งานวิจัย “Smart Program” จ่ายอุปกรณ์การแพทย์ในโรงพยาบาลชี้ ช่วยสร้างความสะดวกในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล อีกทั้งยังช่วยลดอัตราการการติดเชื้อของผู้ป่วยหลังการรักษา คาดสามารถต่อยอดองค์ความรู้สร้างประโยชน์ได้ในอนาคตในภาวการณ์การที่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์มีภาระงานอยู่ล้นมือ ช่วยลดการสูญเสียทั้งค่าใช้จ่าย เวลาการทำงาน และชีวิตของผู้ป่วย

การศึกษาประโยชน์การจ่ายอุปกรณ์ของ Smart Program หรือ “โปรแกรมอัจฉริยะ” เป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยเรื่อง “ผลการพัฒนาประสิทธิภาพการจ่ายอุปกรณ์การแพทย์ในรูปแบบ Smart Program 2019” โดยทำการศึกษา ณ โรงพยาบาลบางสะพาน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะเวลาการศึกษาระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ถึง 15 มกราคม 2568 มีกลุ่มประชากรตัวอย่างภายใต้การวิจัยคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย อาทิ พยาบาลชาชีพ พนักงานช่วยเหลือคนไข้ เจ้าหน้าที่หน่วยหัตถกรรม แม่บ้านประจำหอผู้ป่วย รวมทั้งสิ้น 363 ตัวอย่าง

งานวิจัยได้ทำการศึกษาถึงบทบาทหน้าที่การจ่ายอุปกรณ์ของหน่วยงานกลาง พร้อมยก กรณีศึกษาในต่างประเทศเพื่อเทียบเคียงกับสถานการณ์ในเมืองไทย ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของหน่วยงานนี้กับหน้าที่การช่วยรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล ปัจจุบันหน่วยงานจ่ายกลางมีหน้าที่ให้บริการทำความสะอาดเครื่องมือที่ใช้แล้วให้ปราศจากเชื้อ เพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยให้ได้รับความปลอดภัย ไม่เกิดการติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเสียในหลายด้านเช่น นอนรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น ได้รับความทุกข์ทรมานมากขึ้น และอาจทำให้เกิดเสียชีวิตได้

ตัวอย่างกับกรณีศึกษานี้ที่เห็นได้ชัดในต่างประเทศคือ ประเทศอังกฤษ มีรายงานว่า มีการติดเชื้อแผลผ่าตัดจากการผ่าตัดกระดูก 15 ราย ซึ่งพบเชื้อทั้งในตัวผู้ป่วยและห่อเครื่องมือและพบมีการระบาดเชื้อดื้อต่อยาต้านจุลชีพในอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อจำนวน 6 ราย เสียชีวิต 2 ราย ผู้วิจัยได้ศึกษาและนำแนวคิด ECRS และ KAIZEN ซึ่งเป็นแนวคิดในการปรับปรุงขบวนการทำงานเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ โดยลดความยุ่งยากและซับซ้อนในกระบวนการทำงานลง โดยศึกษาและเปรียบเทียบในช่วงก่อนและหลังใช้ระบบ Smart Program ในด้าน คุณภาพชุดเครื่องมือแพทย์ จำนวนครั้งการ re-sterile ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการงานจ่ายกลาง และความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่งานจ่ายกลาง

ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ประสิทธิภาพการจ่ายอุปกรณ์การแพทย์ในรูปแบบ Smart Program 2019 อยู่ในเกณฑ์ดีและสร้างพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย หลายฝ่ายเห็นว่า โปรแกรมดังกล่าวมีประโยชน์กับการทำงานในสถานการณ์จริง ผลการศึกษาพบว่า Smart Program มีประโยชน์หลายด้าน ซึ่งรวมไปด้วย

  1. ลดการสูญเสีย ด้านค่าใช้จ่ายระบบ Smart Program ถูกออกแบบมาให้แจ้งวันหมดอายุชุดเครื่องมือได้ใน 3 วันก่อนหมดอายุ โดยสามารถลดจำนวนเครื่องมือที่เก็บในหน่วยงานลง ทำให้สามารถลดการ re-sterile ชุดเครื่องมือทีไม่ได้ใช้งานลงได้ตามหน่วยงาน และพบว่ามีอัตราชุดเครื่องมือลดลงที่งานจ่ายกลางอย่างมีมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถตรวจนับอุปกรณ์ได้ทันที ทำให้สามารถติดตาม เครื่องมือที่หายไป ลดการสูญหาย หรือชำรุดของเครื่องมือลงได้ ส่วนด้านการบริการด้านคุณภาพพบว่า การไม่ผ่านคุณภาพชุดเครื่องมือแพทย์หลังใช้ Smart Program ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทำ ให้หน่วยงานได้รับชุดเครื่องมือเพื่อนำไปใช้งานเพื่อการรักษากับผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง เจ้าหน้าที่งานจ่ายกลางมีเวลาที่ตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งาน และการบรรจุชิ้นเครื่องมือในชุดได้ครบถ้วนถูกต้องมากขึ้น และหน่วยงานต่างๆสามารถเข้าถึงการเบิกจ่ายชุดเครื่องมือได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทำให้รักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
  2. ช่วยลดการทำงาน จากเดิมที่ต้องเขียนใบรายการชุดเครื่องมือ และการติด autocalve tape ปรับมาใช้เป็นการลงรายการใน สติ๊กเกอร์ ของ smart program สั่งพิมพ์มาปิดหน้าห่อเครื่องมือ ซึ่งใน สติ๊กเกอร์ นั้นประกอบไปด้วย รายการชื่อชุดเครื่องมือ จำนวนชิ้น ชื่อผู้บรรจุ ชื่อผู้ทำปราศจากชื้อ วันผลิตและวันหมดอายุ รวมถึงมีแถบแสดงการผ่านSterile ซึ่งทำให้เจ้าหน้างานจ่ายกลางมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.30)
  3. จ่ายอุปกรณ์ถูกต้องแม่นยำ โดยการยิงสแกนบาร์โค๊ต ในแต่ละรายการห่อชุดเครื่องมือที่หน่วยงานเบิกมาในระบบ ทำให้จำหน่ายชุดเครื่องมือไปยังหน่วยงานได้ถูกต้องมากขึ้น ไม่ผิดหน่วยงาน และไม่ผิดชุดเครื่องมือแพทย์ ทำให้ผู้ใช้บริการแต่ละหน่วยงานมึความพึงพอใจในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย 3.92)
  4. ประหยัดเวลา ระบบ Smart Program มาใช้ในขั้นตอนการเขียนฉลากระบุชุดเครื่องมือ โดยพิมพ์จากรายการในระบบ Smart Program จึงทำให้เจ้าหน้าที่งานจ่ายกลางไม่ต้องใช้เวลาในการเขียน รายการชื่อชุดเครื่องมือ สามารถทำให้ทำงานเสร็จรวดเร็วขึ้นสร้างความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย4.30)
  5.  ที่ด้านระดับความพึงพอใจ การศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการงานจ่ายกลางมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมระดับดีมาก ในด้าน สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ส่วนระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่จ่ายกลางพบว่ามีระดับมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย4.50)  เนื่องจาก มีชุดเครื่องมือแพทย์ตอบสนองความต้องการตลอด 24ชั่วโมง ทำให้การทำงานง่ายและสะดวกขึ้น  มีความปลอดภัยมากขึ้น
  6. ด้านการป้องกันการติดเชื้อจากการใช้เครื่องมือแพทย์ พบว่า หน่วยงานสามารถตรวจเช็คความถูกต้องและการผ่านหลักปราศจากเชื้อได้สะดวกมากขึ้นทำให้มีการตรวจจับเครื่องมือที่ไม่ผ่านหลักปราศจากเชื้อ และส่งคืนงานจ่ายกลาง และการทบทวนเรื่องการติดเชื้อในโรงพยาบาลยังไม่พบว่าเกิดการติดเชื้อจากการใช้ชุดเครื่องมือแพทย์

การศึกษาครั้งนี้คาดว่า โปรแกรมอัจฉริยะสามารถนำไปต่อยอดสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์กับส่วนรวมต่อไปได้ในอนาคต เป็นไปในทิศทางกับโลกยุคดิจิทัลทางการแพทย์ ที่ทุกหน่วยงานทางการแพทย์ต้องปรับตัว ปัจจุบันโรงพยาบาลต่างๆเผชิญหน้ากับภาระงานที่ล้นมือ มีบุคลากรและงบประมาณที่จำกัด หรือต้องรับมือกับโรคอุบัติใหม่ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีนวัตกรรม เครื่องมือหรือโปรแกรมอัจฉริยะเข้าช่วยงาน เพื่อให้การรักษาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น Smart Program เป็นอีกหนึ่งความพยายามที่ตอบโจทย์สถานการณ์การรักษาในโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี เป็นการแบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง และประโยชน์ต่อประชาชนที่มาใช้บริการทางการแพทย์ สร้างความปลอดภัยและมั่นใจในการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล

Post a comment

12 + three =