ร่วมสืบสานประเพณี “กวรคยาสารท” ณ วัดท่าเสด็จ
วัดท่าเสด็จ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกาญจนบุรีแห่งที่ จัดกิจกรรมประเพณีสารทไทย ไฮไลต์ของงานนี้คือการร่วมกันกวนคยาสารท (กระยาสารท) ของผู้คนในชุมชนอำเภอด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี
นอกจากนั้น บรรดานักเรียนระดับประถมในเขตอำเภอด่านมะขามเตี้ย มาร่วมกันกวนคยาสารท เพื่อแข่งขันให้ทุกคนได้สืบสานประเพณีการกวนคยาสารท และรู้ประวัติความเป็นมาของบุญคยาสารท ที่สืบสานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและเป็นรูปประธรรมมากยิ่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
คยาสารท ที่ได้จากการร่วมกันควรของเหล่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จะนำมาใส่บาตรพระสงฆ์เป็นการตักบาตรคยาสารทแด่พระสงฆ์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษและผู้ล่วงลับตามประเพณีด้วย
กิจกรรมครั้งนี้ ทางวัดท่าเสด็จ ในฐานะวัดที่เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกาญจนบุรีที่ 1 จะจัดให้เป็นประเพณีประจำ ณ วัดแห่งนี้ในทุกปีของสารทเดือน 10 ต่อไป เพื่อให้ทุกคนได้มาร่วมงานและสืบสารประเพณีมาร่วมทำบุญด้วยกัน
พิธีกวนคยาสารท
เป็นประเพณีที่วัดท่าเสด็จ ได้ดำเนินกิจกรรมมาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยจะดำเนินการจัดในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
สำหรับขนมกระยาสารทเป็นขนมไทยที่ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว และน้ำตาล ในแบบดั้งเดิม ขนมกระยาสารท เป็นขนมโบราณ มีความพิเศษ คือ เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของคนไทย โดยชาวบ้านจะกวนกระยาสารท มาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เครือญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จนกลายเป็นประเพณีสารทไทย
คำว่า “พิธีกวนคยาสารท” เป็นชื่อที่เรียกสืบต่อกันมาในชุมชนวัดท่าเสด็จ อำเภอด่านมะขามเตี้ย เรียกในพิธีกวนกระยาสารท เนื่องจากคำว่า “คยา” พ้องเสียงและพ้องรูปกับ “พุทธคยา” ซึ่งเป็นพื้นที่ทางศาสนาและสถานที่จาริกแสวงบุญที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระองค์
พิธีการกวนคยาสารทของวัดท่าเสด็จ มีกระบวนการและกรรมวิธี ดังนี้
ส่วนผสม
- น้ำตาลปี๊บอย่างดี 6. ถั่วลิสงคั่วบุบ
- หัวกะทิ 7. งาขาวคั่ว
- หางกะทิ 8. ข้าวตอก
- เกลือป่น 9. ข้าวเม่า
- แบะแซ
กรรมวิธีการทำ
- ตั้งกระทะสำหรับกวน เปิดไฟอ่อน ๆ พอร้อน นำหัวกะทิและหางกะทิผสมลงไป ตามด้วยน้ำตาลปี๊บ เกลือ คนจนส่วนผสมละลาย เคี่ยวให้เหนียว
- นำข้าวตอก ถั่วลิสงคั่วบุบ งาขาวคั่ว และข้าวเม่าเทลงไป ใช้ไฟกลางเคี่ยวต่อจนส่วนผสมเข้ากันดีรอจนเริ่มงวด
- ใส่แบะแซ กวนจนส่วนผสมเหนียวมากขึ้นอีกครั้ง ยกลงเทใส่ถาด รอตัดเสิร์ฟ
ที่มาข้อมูลพิธีกวนคยาสารท