Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ชมผลงาน Innovative Heritage Craft เวที I.CCA. 2025

“แสงกระทบผิวน้ำ” สะท้อนความเชื่อ ความศรัทธา ประเพณีอันงดงามของชาวล้านนา เป็นแนวคิดในการออกแบบ ผลงาน Light Hitting Water ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการประกวดแนวคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมระหว่างประเทศ (International Craft Creation Concept Award 2025: I.CCA. 2025)

โดยเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2568 สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดงานตัดสินรอบชิงชนะเลิศ และพิธีเปิดนิทรรศการโครงการประกวดแนวคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมระหว่างประเทศ (International Craft Creation Concept Award 2025: I.CCA. 2025)

ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า International Craft Creation Concept Award 2025: I.CCA.2025 เป็นการจัดการประกวด เพื่อสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ ให้มีเวทีแสดงความสามารถในการออกแบบ โดยนำงานหัตถกรรมดั้งเดิม มาประยุกต์สู่การสร้างสรรค์ให้เกิดความร่วมสมัย และแสดงศักยภาพผลงานนวัตศิลป์ที่มีความน่าสนใจ

อีกทั้งยังแสดงอัตลักษณ์ของไทยให้ก้าวไกลในระดับสากล เป็นการต่อยอดจากการประกวดที่นักออกแบบของไทยต่างให้ความสนใจมาอย่างต่อเนื่อง

การจัดประกวดปี 2568 ดำเนินการจัดขึ้นเป็นปีที่สอง เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลทั่วไปที่ผลิตงานศิลปหัตถกรรม นักออกแบบ นักสร้างสรรค์ นิสิต นักศึกษา ที่มีความสามารถด้านการออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรม

นำเสนอแนวคิด “Innovative Heritage Craft: หัตถศิลป์แห่งมรดกหัตถกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมงานศิลปหัตถกรรมไทยจากเดิม อาทิ เครื่องไม้ เครื่องสาน เครื่องดิน เครื่องทอ เครื่องโลหะ เครื่องหนัง เครื่องกระดาษ เครื่องแก้ว หรือเครื่องหิน

ตลอดจนถึงปัจจุบันในกลุ่มผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่เกิดจากการผสมผสาน วัสดุ เทคนิคเชิงช่าง กระบวนการที่คิดค้นขึ้นใหม่ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาประยุกต์ในการพัฒนารูปแบบผลงานประกวด

สศท. มีพันธกิจหลักในด้านการสืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม งานศิลปหัตถกรรมไทยทั่วประเทศให้สามารถเผยแพร่และต่อยอดองค์ความรู้เชิงช่าง สู่การเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่ร่วมสมัย ที่ขยายผลงานสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ทั้งในระดับประเทศและสากล

โดยการประกวดในปีนี้จะเป็นก้าวแรกในการเปิดโอกาสให้นักออกแบบเจ้าของผลงาน ทั้ง 10 ราย/ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ได้ร่วมเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานไปพร้อมกับนักออกแบบรุ่นพี่ รวมถึงทายาทช่างศิลปหัตถกรรมทั้ง 10 ท่าน ที่ให้เกียรติร่วมแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ เพื่อให้ได้ 10 ผลงาน ที่ตอบโจทย์ความเป็น INNOVATIVE HERITAGE CRAFT ได้อย่างน่าชื่นชม

โครงการ I.CCA.2025 ครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบ อาทิ ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่, ผศ.ดร.วิทวัน จันทร, เพลินจันทร์ วิญญรัตน์,  จิตต์สิงห์ สมบุญ และ วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข  ซึ่งคณะกรรมการฯ แต่ละท่านมีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบ การต่อยอดทางศิลปะ รวมถึงการต่อยอดทางการตลาด เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน

Light Hitting Water แรงบันดาลใจจาก “พัดเปลว”

ผลงานชนะเลิศในปีนี้ได้แก่ “Light Hitting Water แสงกระทบผิวน้ำ” โดย “ศรัณย์ เหมะ” และ “เหมวรรณ ศรีสุวรรณ์”  การออกแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่สืบสานภูมิปัญญาหัตถกรรมจักสานผักตบชวา ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาตินำมาผสานกับเทคนิคและภูมิปัญญาท้องถิ่น จนเกิดเป็นโคมไฟดีไซน์ร่วมสมัย รูปทรงของโป๊ะโคมไฟได้แรงบันดาลใจมาจาก “พัดเปลว” อุปกรณ์ประดับตกแต่งขบวนเรือพายในประเพณี “กว๊านพะเยา สายน้ำแห่งชีวิต ตานข้าวทิพย์พระเจ้าตนหลวง” ซึ่งเป็นความวิจิตรงดงามแรกที่ต้องตาจากการรับชมขบวนแร่เรือตานข้าวทิพย์ ณ ชายฝั่งกว๊านพะเยา

โดย พัดเปลว” มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์สีสันสวยงาม รูปทรงคล้ายพัด เรียงตัวกันเป็นชั้นไล่ระดับจากใหญ่ไปหาเล็ก ถูกนำมาเป็นแรงบันดาลใจ

หลักในการออกแบบสร้างสรรค์รูปทรงของโคมไฟ ผสานเข้ากับเรื่องราวของวัสดุธรรมชาติ “ผักตบชวา” และภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมจักสานผักตบชวาอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดพะเยา เป็นผลิตภัณฑ์โคมไฟจากหัตถกรรมจักสานผักตบชวาที่แสดงออกถึงมิติทางวัฒนธรรมของชาวล้านมา คงกลิ่นอายทางวัฒนธรรม ถูกออกแบบพัฒนารูปแบบให้เหมาะสม การใช้งานสอดคล้องกับลักษณะการนำไปใช้ในสังคมปัจจุบัน

สำหรับงานหัตถกรรม เป็นฝีมือช่างหัตถกรรมชุมชนฟากกว๊านพะเยา เพื่อคงความผลงานศิลปหัตถกรรมที่ทรงคุณค่าและลักษณะเฉพาะตัว นำเสนอความงดงามของภูมิปัญญาและคงความเป็นอัตลักษณ์ดั้งเดิมของชุมชมชุมชนไว้

ทั้ง 10 ผลงาน นำเสนออัตลักษณ์ไทยที่น่าสนใจแตกต่างกันไป สอดแทรกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความสมดุล ความยั่งยั่งยืน อันเป็นกระแสของงานของออกแบบในปัจจุบัน


วิถีใต้ (Southern Way) (ผลงานรองชนะเลิศ)

โดย “สุจิตรา พาหุการณ์” “ขนิฐา นาลา” และ “เพชรน้ำหนึ่ง เจริญภูมิ”

ผู้ออกแบบเล็งเห็นว่าว่างานศิลปกรรมไทยโบราณ โดยเฉพาะงานจิตรกรรมลายรดน้ำ ลายกำมะลอและลายประดับมุขเป็นงานช่างชั้นสูงและเปรียบเสมือนศิลปกรรมประจำชาติของไทยที่กำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลา จึงคิดสร้างสรรค์ผลงานหัตถศิลป์ขึ้น

วิธีการและปรับเปลี่ยนวัสดุในการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นใหม่เพื่อแสดงถึงทัศนคติส่วนต้นผ่านเรื่องราวในวิถีชีวิตของชาวประมง และเพื่อเป็นการสืบทอดเทคนิคที่สำคัญบางประการของช่างไทยโบราณให้คงอยู่สืบต่อไป โดยถ่ายทอดออกมาในงานหัตถศิลป์ไทยที่สามารถใช้สอยได้ในชีวิตประจำวัน

รูปทรงของผลงานเป็นการตัดทอนรูปทรงจาก “เรือกอและ” ให้ออกมาเป็นผลงานแนว origami เป็นงาน sculpture ที่มี function เสริมเป็นที่นั่งไปในตัว บนพื้นผิวสแตนเลสมิลเลอร์และมีการโชว์พื้นผิวมิลเลอร์ บางส่วนสะท้อนเทคนิคลายรดน้ำ กำมะลอ และประดับมุข เพื่อต้องการสื่อเงาสะท้อนที่มาของรากฐานศิลปะไทยแบบโบราณ


Amphawa Chandelier โคมระย้าอัมพวา

โดย “อภิเษก นรินทร์ชัยรังสี”

การออกแบบเครื่องประดับตกแต่งบ้านร่วมสมัยจากเศษวัสดุเครื่องถ้วยเบญจรงค์ โดยนำเศษเครื่องถ้วยเบญจรงค์ที่ชำรุดเสียหาย บิ่น แตก หัก หรือไม่สมบูรณ์แบบจากกระบวนการผลิต มาสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าและ ลดทรัพยากรที่สิ้นเปลืองสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือCircular economy และใช้แนวความคิด Sustainability เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน


วาบุลัน (Wabulan)

โดย “อัรกาน หะยีสาเมาะ”

งานประติมากรรมตกแต่งที่จะนำเสนอ ความงาม ความละเอียดอ่อน และทักษะ ของการทำว่าวบุหลัน โดยใช้เทคนิค การเหลา การขึงเชือก และการฉลุแกะลายกระกระดาษ มาประยุคใช้ในการออกแบบ เพื่อให้เกิดผลงานที่แตกต่าง ดูร่วมสมัย หากแต่ยังคงกลิ่นอายของความเป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นได้อย่างลงตัว


ฮูปแต้ม Sim I-San

 โดย “รัฐพล ทองดี”​ และ “วัชรพล คำพรมมา”

“ฮูปแต้ม” หรือฮูปแต้ม คือ จิตรกรรมฝาผนังของชาวอีสานที่นอกจากปรากฏบนผนังภายในสิม หรือโบสถ์ที่สวยงามแปลกตา ภาพจิตรกรรมที่วัดนี้จะเขียนทั้งภายในและภายนอกโบสถ์ สิ่งที่สะดุดตา คือ การเขียนด้วยสีฝุ่นในโทนสีธรรมชาติ เหลือง ขาว ซึ่งเป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ มองสบายตา ลักษณะการเขียนภาพเน้นตัดเส้นที่เก็บจริง อารมณ์ของภาพดูสุขสงบ

ภาพที่เขียนสีคนอีสานเรียกว่า “ฮูปแต้ม” นักเป็นเรื่องราวในนิทานพื้นบ้านที่มีจุดหมายเพื่อเตือนใจคน ถ่ายทอดวิถีชีวิตพื้นบ้านผ่านศิลปะแห่งความศรัทธาด้วยเทคนิคการเฟ้นท์สี่ครามธรรมธรรมชาติ สีประดู่ สนิมเหล็ก ในรูปแบบสิมอีสาน เพิ่มมิติให้ภาพด้วยการปักมือด้วยเส้นฝ้าย


Under The Sea

โดย “ปัทวี เข็มทอง”

ความสวยงามใต้ท้องทะเลในประเทศไทยถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ติดอันดับโลกมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันการที่มีนักท่องเที่ยวมากก็ย้อมทำให้ธรรมชาติได้รับผลกระทบเช่นกัน 22% ของขยะในท้องทะเลคือขวดพลาสติก

ดังนั้นจึงนำขยะจากขวดพลาสติกที่เก็บมาจากในทะเล และนำมาผ่านการเป็นเส้นใย Recycled สร้างสรรค์ผลงานที่เลียนแบบความสวยงามทั้งรูปทรง สีสัน พื้นผิว ของโลกใต้ท้องทะเล ที่ประกอบไปด้วย เบาะนั่ง พรม และผ้าม่าน โดยใช้เทคนิค การทอ การปัก การถัก และการสร้างผืนผ้าใหม่จากเศษวัสดุ ที่จะสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของการทิ้งขยะลงไปในทะเลที่สวยงาม


 

Para Craft (พาราคราฟท์)

โดย “ถากูร เชาว์ภาษี”

“งานฝีมือใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม แสดงความงามของวัสดุที่ธรรมชาติสร้างให้ ” โดยการใช้รูปร่างของ LICHEN (ไลเคน) ที่สามารถพบได้ทั่วไปในบริเวณผิวของต้นยางพารา ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณแถบนั้น นำมาเป็น Decoration Wall Art ที่ส่งเสริมความงามของวัสดุความเป็นแผ่นยางได้ดี

รวมถึงการใช้สีที่เป็นสีธรรมชาติในการผลิตตัวแผ่นยางตั้งแต่ต้นน้ำ และนำตัวแผ่นยางมาจัดองค์ประกอบศิลป์ เพื่อเพิ่มมิติ ลวดลายและพื้นผิวของชิ้นงาน ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาเป็นมีความเป็นงานหัตถศิลป์รูปแบบใหม่ที่สามารถให้ชาวบ้านผลิตได้เองตั้งแต่ต้นถึงปลายน้ำ


ต้มยำกุ้ง เพอรานากัน (Tom Yum Koog)

โดย “ช่อฟ้า หงส์สิทธิชัยกุล”

ความประทับใจในการได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานเฉลิมฉลองการขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” เป็น ICH UNESCO ประจำปี 2024 ของประเทศไทย และการขึ้นทะเบียน “ชุดเคบายา” ร่วมกับ 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเชีย

สิงคโปร์ อินโดนิเซีย บูรไน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ผ่านการออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัยของสตรีชาวเพอรานากัน

โดยการผสมสาบงานหัตถศิลป์ ได้แก่ การประดับมุก เปรียบเสมือนน้ำต้มยำ และประดับตกแต่งด้วยอัญมณี (พลอยเนื้ออ่อน) สีเขียว-เหลือง-ส้ม-แดง เป็นแทนสีสันของวัตถุดิบปรุงรส และผสมผสานการปักดิ้นโบราณแบบฉบับของ Chofa Studio


เหลี่ยม/ทอ/ประกาย (Brilliant Cut of Mat Gems)

โดย “ภัทรบดี พิมพ์กิ”

เครื่องประดับร่วมสมัย เหลี่ยม/ทอ/ประกาย เป็นเครื่องประดับที่มุ่งหวังนำเสนอความงดงามและเชิดชูคุณค่าของงานหัดกกรรม “เสื่อกกจันทบูร” ซึ่งเปรียบเสมือนอัญมณีน้ำงามอีกเม็ดหนึ่งที่อยู่คู่กับชาวจันทบุรีมากว่า 120 ปี

สะท้อนเรื่องราวความเป็นมาของเสื่อกกจันทบูร 2 ยุคสมัย ได้แก่ ยุคก่อกำเนิด คือ ยุคที่แม่ชีชาวญวนเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ และมีการถ่ายทอดวิธีการทอเสื่อกกให้กับชาวจันทบุรี

และยุคแห่งการฟื้นฟูงานเสื่อโดยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ได้ทรงออกแบบออกแบบลวดลายเสื่อซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ลายเสื่อสมเด็จฯ”

ในการออกแบบครั้งนี้มีการผสมผสานเส้นสายและรูปทรงของศิลปะยุคโกธิคจากโบสถ์คริสต์ ริมน้ำจันทบูรร่วมกับอัตลักษณ์งานเสื่อสมเด็จฯ ที่นิยมสร้างลวดลายที่ใช้สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดมาจัดเรียงต่อกัน สะท้อนผ่านรูปร่างรูปทรงของงานเรขาคณิตเพื่อสร้างความรู้สึกเข้มแข็ง หรูหราและสง่างาม มีการใช้เสื่อสีแดงเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของสีที่ได้รับความนิยม

ในการทอเสื่อช่วงสมัยยุคแรก นอกจากนี้ เครื่องประดับยังมีการนำอัญมณี “โกเมน” ที่ผ่านการเจียระไนโดยช่างฝีมือในจังหวัดจันทบุรีมาประดับตกแต่งเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานงานเชิงช่างในท้องถิ่น 2 สกุล ได้แก่ ช่างศิลปะหัตถกรรมด้านการทอเสื่อกกและช่างศิลปะหัตถกรรมด้านเครื่องประดับและอัญมณีอีกด้วย


เก้าอี้กนก (Kanok Chair)

โดย “สหรัฐ ศรีสมร”

เก้าอี้กนกคือการหลอมรวมระหว่างศิลปะไทยดั้งเดิมและงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัย ผ่านการตีความลวดลายกนกเปลวไทยใหม่ ให้อยู่ในรูปแบบของโครงสร้างที่อ่อนช้อย มีมิติ และใช้งานได้จริง

แรงบันดาลใจจากลายกนกเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะไทยที่สะท้อนถึงความเคลื่อนไหวขององค์ประกอบที่สมดุล และความวิจิตรของงานช่างฝีมือ ซึ่งมักถูกใช้ในสถาปัตยกรรมและงานศิลป์ไทยแบบดั้งเดิม แต่แทบจะไม่ถูกนำมาประยุกต์

ในรูปแบบเฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัย “เก้าอี้กนก” จึงเป็นความพยายามที่จะตีความลายกนกใหม่ โดยไม่ให้เป็นเพียงแค่ลวดลายตกแต่ง แต่ให้กลายเป็นโครงสร้างของเฟอร์นิเจอร์ที่สะท้อนถึงความสง่างามของไม้ไทยและศักยภาพของงานช่างฝีมือ โดยใช้เส้นสายของลายกนกเปลวไทยมาสร้างโครงสร้างฟรีฟอร์ม ที่ไหลลื่นเน้นความอ่อนช้อยแต่แข็งแรง ผ่านการเลือกใช้ไม้เนื้อแข็งที่เหมาะกับงานเฟอร์นิเจอร์ ผสานเทคนิคการแกะสลักไม้ไทย และงานออกแบบเชิงโครงสร้าง เพื่อสร้างสมดุลระหว่างความงามและการใช้งาน

ผลลัพธ์ที่ได้คือเฟอร์นิเจอร์ที่สะท้อนถึง เอกลักษณ์ของงานหัตถศิลป์ไทย แต่สามารถเข้ากับบริบทของการใช้งานในปัจจุบัน

เชิญเข้าร่วมชมนิทรรศการแสดงผลงานโครงการประกวดแนวคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมระหว่างประเทศ (International Craft Creation Concept Award 2025: I.CCA. 2025) ในธีม “Innovative Heritage Craft: หัตถศิลป์แห่งมรดกหัตถกรรม” ทั้ง 10 ผลงาน สถานที่ หน้าหอเกียรติยศ อาคารพระมิ่งมงคล สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย ชั้น 2 ในวันที่ 17 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป เวลา 10.00 – 16.00 น.

Post a comment

5 × two =