“คร่ำ” อัตลักษณ์แห่งสยาม
“คร่ำ” งานหัตถศิลป์ชั้นสูงที่หาชมได้ยาก และอาจจะอยู่ห่างไกลจากชีวิตประจำวันของคนทั้งไป จนทำให้หลายคน โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ ไม่รู้จักคร่ำ
งาน “คร่ำ” เป็นการตกแต่งลวดลายบนพื้นโลหะประเภทเหล็กโดยใช้เครื่องมือสกัดให้เป็นลวดลายบนพื้นโลหะต่างชนิด เช่น เงิน ทอง นากลงไปแล้วขัด หรือที่ศัพท์ช่างเรียกว่า กวดผิวให้เรียบจะเกิดลวดลายจากสีของโลหะที่ต่างกัน ตามลวดลายที่สลักและฝังโลหะไว้ ลงบนผิวหน้าของเครื่องใช้ที่ทาด้วยเหล็ก
หากใช้เส้นเงินฝังเรียก คร่ำเงิน หากใช้เส้นทองฝังเรียก คร่ำทอง หากใช้เส้นนากฝังเรียก คร่ำนาก โดยจะต้องทำให้ผิวเหล็กเกิดเป็นรอยที่ละเอียดด้วยการใช้เหล็กสกัดที่คมบางแต่แข็งแกร่งตีสับลายตัดกันไปมาบนผิวโลหะให้เกิดความขรุขระ จากนั้นจึงใช้เส้นทองหรือเส้นเงิน หรือเส้นนากตอกให้ติดเป็นลวดลายวิจิตรงดงามตามที่ต้องการ
ประเภทเครื่องใช้ที่จะตกแต่งใช้วิธีคร่ำ ต้องเป็นของที่ทามาจากเหล็ก เช่น ตะบันหมาก กรรไกรหนีบหมาก หัวไม้เท้า กรรไกรตัดผม ไปจนถึงเครื่องราชูปโภค เครื่องเหล็กซึ่งนิยมตกแต่งลวดลายด้วย การคร่ำเงิน คร่ำทอง หรือคร่ำนาก มักเป็นเครื่องราชศัสตราวุธ เช่น พระแสงดาบ พระแสงหอก พระแสงง้าว ขอพระคชาธาร พระแสงปืน ตลอดจนเครื่องใช้ในการมงคลต่างๆ
จากการค้นคว้าข้อมูล พบว่า ประวัติของคร่ำ สันนิษฐานว่า มีกำเนิดที่ประเทศเปอร์เซียและได้แพร่เข้ามาสู่อินเดีย อัฟกานิสถาน จีน เขมร ลาว และไทย โดยเฉพาะภาคใต้ของไทย เช่น เมืองปัตตานี โดยปรากฏชื่องานคร่ำในกลุ่มช่างสิบหมู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขุนสารพัดช่าง ข้าราชการกรมวังนอกได้ควบคุมงานช่างคร่ำในกรมช่างสิบหมู่ และได้ถ่ายทอดวิชางานคร่ำแก่ นายสมาน ไชยสุกกุมาร ผู้เป็นบุตรของขุนสารพัดช่างซึ่งได้สืบทอดศิลปะการทาคร่ำสืบต่อมา แต่ก็ไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายของคนทั่วไป (http://ich.culture.go.th)
งานคร่ำ เป็นหนึ่งในงานหัตถศิลป์ชั้นสูง ที่นำมาแสดงให้ชมภายในงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 10” จัดโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) : SACICT ภายใต้แนวคิด “The Artisanal Collectibles” สะท้อนให้เห็นถึงชิ้นงานศิลปหัตถกรรมซึ่งผ่านองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษมายาวนาน ผ่านรุ่นสู่รุ่นมายังครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม
พร้อมส่งต่อไปยังคนยุคปัจจุบันที่เห็นคุณค่าของงานหัตถศิลป์ชั้นสูงซึ่งแต่ละชิ้นงานสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างละเอียดประณีตวิจิตรบรรจงอย่างที่ไม่มีชาติใดเสมอเหมือนและบางชิ้นงานยังหาคนทำยากและใกล้สูญหาย แต่งานนี้ได้รวบรวมมาให้ชมอย่างยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน
ตลอด 4 วันที่ท่านจะได้พบกับสุดยอดงานหัตศิลป์ล้ำค่า มาที่เดียวสามารถเรียนรู้ทุกเรื่องราวของศิลปหัตถกรรมไทย ในงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 10” ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพลนารี ฮอลล์ สอบถาม โทร. 1289