Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

THE POWER OF GEMS

ความคุ้มค่าในการลงทุน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการเลือกซื้อเครื่องประดับในปัจจุบัน ดังนั้นการออกแบบเครื่องประดับที่สามารถตอบโจทย์ในข้อนี้ได้ก็จะสร้างโอกาสในการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น

เช่นเดียวกับผลงาน The power of gems โดยคุณจิรวัฒน์ สมเสนาะ นักออกแบบเครื่องประดับที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดในโครงการประกวดออกแบบเครื่องประดับ (GIT’s World Jewelry Design Awards) ประเภทเครื่องประดับสำหรับในหัวข้อเครื่องประดับที่ใช้พลอยทับทิม (สีแดง) และ/หรือ พลอยไพลิน (สีน้ำเงิน) หรือ พลอยเฉดสีที่ใกล้เคียง

The power of gems มีความโดดเด่นของการออกแบบที่ผสมผสานความงดงามของพลอยสีแดง และไพลินสีน้ำเงิน เป็นชุดสร้อยพร้อมจี้ ต่างหู และแหวน ที่สะท้อนความหรูหราน่าหลงใหลแฝงเอกลักษณ์ความเป็นไทยไว้อย่างน่าชื่นชม พร้อมการออกแบบเพื่อตอบสนองการใช้งานหลายรูปแบบ โดยผลงานชุดนี้สามารถถอดชิ้นงานเครื่องประดับออกมาสวมใส่ได้ถึง 8 แบบ อาทิ ตัวสร้อยที่ถอดมาเป็นเข็มขัดหรือพู่ที่ถอดออกมาเป็นสร้อยได้อีกแบบ

ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องประดับโบราณ ทรงพุ่มดอกพิกุล เป็นดอกซ้อนกัน ลดหลั่นกัน โดยใช้อัญมณีแห่งราชาทั้ง 2 ชนิด คือ ทับทิมและไพลินมาผสมผสาน ใช้การออกแบบและรังสรรค์ ไม่ว่าจะใส่กลางวันหรือกลางคืน ก็ช่วยเสริมพลังความสง่างามให้กับผู้สวมใส่

โครงการประกวดออกแบบเครื่องประดับ (GIT’s World Jewelry Design Awards) จัดโดย  สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้  นักออกแบบทั้งมืออาชีพ และบุคคลทั่วไป ได้นำเสนอผลงานความคิดสร้างสรรค์ออกสู่สายตาประชาชน ครั้งนี้เป็นการประกวดครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ  “Blue by Day, Green By Evening, Red by Night” เน้นการออกแบบเครื่องประดับที่มีอัญมณีน้ำเงิน อัญมณีสีแดง หรือ อัญมณีสีเขียว เป็นองค์ประกอบหลักในชิ้นงาน อีกทั้งยังได้จัดการประกวดพลอยเจียระไน สำหรับช่างเจียระไนพลอยในจังหวัดจันทบุรี และช่างเจียระไนจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการเจียระไนรวมถึงช่างเจียระไนได้มีโอกาสพัฒนาฝีมือให้เข้าสู่วงการมาตรฐานระดับโลก โดยครั้งนี้มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดออกแบบเครื่องประดับจำนวนมากถึง 660 ผลงาน จากทั่วโลก เป็นผลงานจากนักออกแบบชาวไทยจำนวน 557 ผลงาน และต่างชาติ 103 ผลงาน โดยมาจาก 14 ประเทศทั่วโลก

“จากคอนเซ็ปต์ในการประกวดครั้งนี้ จึงได้นำพลอยสีแดงและน้ำเงินซึ่งเป็นแม่สีมาเป็นหลักในการออกแบบ เมื่อตัดสีเขียวซึ่งเป็นการประกวดอีกประเภทออกไปก็จะเหลือ Blue by Day, Red by Night จึงเป็นที่มาของการออกแบบเครื่องประดับที่สวมใส่ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน พร้อมฟังก์ชั่นที่สามารถถอดออกมาใช้ได้อีกหลายรูปแบบ โดยให้ความสำคัญกับสีสันของทั้งสองเฉด เป็นการซื้อ 1 แต่ใช้ได้หลายรูปแบบ และมีโอกาสในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ลูกค้าที่ซื้อไป ไม่จำเป็นต้องใส่เต็มเซ็ต อยากแต่งเต็มหรือเบาๆ ก็เลือกได้ ผลงานชิ้นนี้ถือเป็นต้นแบบ จึงมีราคาหลายแสนบาท แต่หากนำไปผลิตจริง ราคาจะขึ้นอยู่กับว่า จะเลือกใช้ทองคำหรือเพชรมาประดับอีกเท่าไหร่ รวมทั้งการคัดเลือกตัวพลอยซึ่งมีสีสันและเกรดหลายระดับ” คุณจิรวัฒน์ อธิบาย

นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์

โดยไม่นานมานี้ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดงานประกาศผลงานการตัดสินรอบชิงชนะเลิศ โครงการประกวดออกแบบเครื่องประดับ ครั้งที่ 13 ชิงโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และการประกวดพลอยเจียระไน ครั้งที่ 3 มูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท หรือ 35,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดสามารถของนักออกแบบ และ ช่างเจียระไนพลอยรุ่นใหม่ สู่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ภายในงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2019 ณ บริเวณชั้น 1 ศูนย์ส่งเสริมอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี หวังดันนักออกแบบและช่างเจียระไนพลอยไทยสู่เวทีโลกอย่างเต็มภาคภูมิ เมื่อวันที่  4 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยมี นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการพาณิชย์ เป็นประธานในพิธี

นอกจากนี้ GIT ยังได้จัดการประกวดเจียระไนพลอยระดับโลก GIT’s World Challenge Gems Faceting Master 2019   ที่ส่งเสริมและสนับสนุนรวมทั้งเปิดโอกาสให้กับช่างเจียระไนทั่วไป และมืออาชีพ ทั้งของไทยและระดับนานาชาติ  โดยเฉพาะช่างเจียระไนจันทบุรี ให้มีทักษะ และฝีมือขั้นสูงจนสามารถเติบโตและแข่งขันได้ในตลาดโลก จำนวน 82 ผลงาน แบ่งเป็น ช่างเจียระไนจันทบุรี จำนวน 22 เม็ด ช่างเจียระไนทั่วไป จำนวน 60 เม็ด


สำหรับรอบการตัดสินสถาบันได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ร่วมในการตัดสิน ได้แก่  นางสุพัตรา ศรีสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ นางสิริพร ภาณุพงศ์ อดีตอัครรราชทูต ณ กรุงเวียนนา รองประธานกรรมการสำนักกฎหมาย Royal Law หม่อมหลวง คฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ นายสุริยนต์ ศรีอรทัยกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท บิวตี้เจมส์ จำกัด และผศ.ดร.วีรวัฒน์ สิริเวศมาส รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรรมการได้ทำการคัดเลือก 30 ผลงานออกแบบ และ 8 ชิ้นงานที่ได้คะแนนสูงสุดไปผลิตเป็นเครื่องประดับจริง และตัดสินรอบชิงชนะเลิศไปเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา และนำมาแสดงแฟชั่นโชว์ ภายในงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2019 นำโดย ขวัญ อุษามณี ไวทยานนท์ พร้อมนางแบบชั้นนำของเมืองไทย

The Blue Macaw

สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลการประกวดออกแบบเครื่องประดับในปีนี้ ได้แก่

ประเภทเครื่องประดับสำหรับในหัวข้อครื่องประดับที่ใช้พลอยทับทิม (สีแดง) และ/หรือ พลอยไพลิน (สีน้ำเงิน) หรือ พลอยเฉดสีที่ใกล้เคียง

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คุณจิรวัฒน์ สมเสนาะ ผลงานชื่อ The power of gems

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ คุณ สิปปกร อวดคม ผลงานชื่อ Rose in The Night

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ คุณวรรษา แพรักขกิจ ผลงานชื่อ The Blue Macaw

รางวัลชมเชย ได้แก่ คุณ อาทิตยา ผลสุข ผลงานชื่อ Blue Deco

ผลงานชนะเลิศ ประเภทเครื่องประดับรางวัลประเภท เครื่องประดับที่ใช้พลอยเพริโด หรือ พลอยเฉดสีที่ใกล้เคียง โดย คุณปวันรัตน์ ปัญจไชยโรจน์ ผลงานชื่อ Grass in Evening

ผลงานชื่อ Green Calm

Reyhaneh Etyehad

ประเภทเครื่องประดับรางวัลประเภท เครื่องประดับที่ใช้พลอยเพริโด หรือ พลอยเฉดสีที่ใกล้เคียง

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คุณปวันรัตน์ ปัญจไชยโรจน์ ผลงานชื่อ Grass in Evening

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ Reyhaneh Etyehad ผลงานชื่อ Green Calm

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ คุณชาญชัย ดวงระหว้า ผลงานชื่อ Bamboo

รางวัลชมเชย ได้แก่ คุณอำพล แตระพรพาณิชย์ ผลงานชื่อ Salika

และรางวัลพิเศษในปีนี้ รางวัล Popular Design Award 2019 ได้แก่ คุณวรรษา แพรักขกิจ ในชื่อชุดผลงาน The Blue Macaw ซึ่งชนะการโหวตด้วยคะแนนถึง 300,000 คะแนน

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลการประกวดการเจียระไนพลอยในปีนี้ ได้แก่

รางวัลประเภทช่างเจียระไนจันทบุรี

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายอำนาจ ทองดา
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นายธีรศักดิ์ ทองดา
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นายวิสุทธิ์ ไขศรี

รางวัลประเภทช่างเจียระไนทั่วไป

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวกัลยา สิรินิมิตกุล
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นางถวิล ตูนา
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นายนิวัฒน์ ศรีสุรินทร์

 

Post a comment

1 × 5 =