Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

รู้จัก “ตุ๊กแกประดับดาว” ตุ๊กแกชนิดใหม่ของโลก

ครั้งแรกของโลกกับการค้นพบตุ๊กแกชนิดใหม่ “ตุ๊กแกประดับดาว” (Gekko pradapdao Meesook, Sumontha, Donbundit & Pauwels, 2021) ซึ่งค้นพบโดยคณะสำรวจสัตว์เลื้อยคลานบริเวณเขาหินปูนภาคกลาง นำทีมโดย ดร.วรวิทู มีสุข อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) ร่วมกับ นายมนตรี สุมณฑา นักวิชาการประมงชำนาญการ กรมประมง และ นางสาวณัฐสุดา ดรบัณฑิต นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดร.วรวิทู มีสุข

ตุ๊กแกประดับดาว” (Gekko pradapdao Meesook, Sumontha, Donbundit & Pauwels, 2021) ค้นพบขณะที่คณะสำรวจกำลังทำการสำรวจสัตว์เลื้อยคลานในถ้ำแห่งหนึ่งบริเวณเขาหินปูนภาคกลาง โดยได้พบตุ๊กแกชนิดหนึ่งมีลำตัวค่อนข้างแบนสีน้ำตาล ตาสีน้ำตาล มีจุดสีขาวประบนหัว ลำตัว แขน และขา โดยไม่เรียงตัวตามแนวขวางเกาะตามผนังหินปูนและวัสดุที่มีการนำไปไว้ในถ้ำจำนวนหนึ่ง ในเบื้องต้นไม่สามารถระบุชนิดได้ จึงเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบร่วมกับ Mr. Olivier S.G. Pauwels ภัณฑารักษ์ สถาบันธรรมชาติวิทยาแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม ซึ่งพบว่าเป็นตุ๊กแกที่ยังไม่เคยมีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์มาก่อน จากลักษณะสีตัวที่สีน้ำตาลเข้ม-ดำ และมีจุดประสีขาวกระจายทั่วหัวและตัวเปรียบเสมือนดวงดาวที่พร่างพราวบนท้องฟ้ายามค่ำคืน จึงเป็นที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ที่มาจากภาษาไทยว่า “ประดับดาว”

จากการสำรวจเขาหินปูนในภาคกลาง พบว่ามีสัตว์เฉพาะถิ่นอย่างยิ่ง (highly endemic species)  อยู่หลายชนิด ได้แก่ ตุ๊กแกประดับดาว (Gekko pradabdao) ตุ๊กแกสยาม (G. siamensis) ตุ๊กแกถ้ำอาจารย์วีระยุทธ์ (G. lauhachindai) ตุ๊กกายถ้ำสระบุรี (Cyrtodactyrus chanhomeae) ตุ๊กกายลายจุดผีเสื้อ (C. papilionoides) และจิ้งจกดินข้างดำ (Dixonius melanostictus) ซึ่งสัตว์เลื้อยคลายเหล่านี้มีรายงานการพบในพื้นที่จำกัด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรักษาระบบนิเวศเขาหินปูนในบริเวณนี้ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงจนกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์เหล่านี้มากนัก และมีกฎหมายในการปกป้องการนำสัตว์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ที่ไม่เหมาะสมเพื่อคงความสมดุลของระบบนิเวศเขาหินปูนภาคกลางอย่างยั่งยืน

นับเป็นความภาคภูมิใจของวงการวิชาการไทยอีกครั้ง ที่บุคลากรทางด้านวิชาการไม่หยุดศึกษาค้นคว้า สำรวจทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในประเทศและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักสู่สากล

Post a comment

seven + five =