CHANGE PLEASE บาริสต้าเปลี่ยนโลก
ทีม CHANGE PLEASE จากสหราชอาณาจักรคือผู้ ชนะโครงการ CHIVAS VENTURE 2018ในงาน TNW CONFERENCE ที่เมืองอัมสเตอร์ดัม
Will.I.Am. (วิล.ไอ.แอม) ผู้ที่เป็นทั้งTech entrepreneur และนวัตกรผู้สร้างสรรค์อยู่ในอัมสเตอร์ดัม เพื่อช่วยคัดเลือกและตัดสินผู้ชนะในโครงการ Chivas Venture 2018 ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับโลกของ ชีวาส รีกัล (Chivas Regal) โดยมอบทุน 1 ล้านดอลลาร์โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ เป็นประจำทุกปีให้กับสตาร์ทอัพเพื่อสังคมที่มีแววรุ่งมากที่สุดในโลก จากผู้เข้ารอบสุดท้าย 27 ราย Change Please ผู้ประกอบการสัญชาติอังกฤษ เป็นผู้คว้าเงินทุนก้อนใหญ่ที่สุดไป โดยได้รับเงิน 350,000 ดอลลาร์ หลังจากการ pitching แบบสดๆ ในงาน TNW Conference ซึ่งเป็นงานด้านเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของยุโรป ต่อหน้าผู้คลั่งไคล้เทคโนโลยี ระดับนานาชาติ นักลงทุน และผู้ประกอบการ
Change Please ช่วยเหลือชุมชนของคนไร้บ้านด้วยการไปฝึกให้พวกเขาเป็นบาริสต้า สตาร์ทอัพจากกรุงลอนดอนได้พาคนไร้บ้านไปจากท้องถนนและให้ความเชื่อมั่นว่าพวกเขาจะหาบ้านให้ได้ภายใน 10 วัน รวมทั้งมอบบัญชีธนาคารและงานที่จ่ายค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างของลอนดอน กาแฟที่พวกเขาชงจะเสิร์ฟในแก้วที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นผลผลิตที่เชื่อมั่นได้ จากฟาร์มซึ่งสนับสนุนชุมชนยามที่พวกเขาลำบาก
Cemal Ezel (ซีมอล เอเซล) ผู้ก่อตั้ง Change Please กล่าวถึงความรู้สึกที่เป็นผู้ชนะว่า “ผมมีความสุขมากผมว่าผมยังตกใจอยู่เลยครับ เป็นการเดินทางที่ ยากลำบากและยาวนานมาก แต่การได้รู้จักเพื่อนใหม่น่าทึ่งทั้ง 26 ทีมจากทั่วโลก นั่นคือไฮไลท์สุด ๆ สำหรับผมสี่เดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่น่าทึ่งมาก ๆ ผมอยากจะขอบคุณชีวาสมาก ๆ ครับ”
รอบ The Global Final ซึ่งมีนักแสดงเจ้าของรางวัล BAFTA นักเขียน ผู้กำกับ และพิธีกรรายการโทรทัศน์ Richard Ayoade (ริชาร์ด เอโยอาเด) เป็นผู้ดำเนินรายการ เป็นรอบไคลแม็กซ์ในปีที่ 4 ของการแข่งขันChivas Venture การแข่งขันปีนี้ดึงดูดผู้เข้าแข่งขัน 2,600คนจากทั่วโลก แล้วคัดเลือกให้เหลือผู้เข้ารอบสุดท้าย 27 ทีม ทั้งหมดแข่งขันกันเพื่อให้ได้ส่วนแบ่งในเงินทุนจำนวน 1 ล้านดอลลาร์จาก ชีวาส รีกัล คณะกรรมการประกอบด้วย Will.i.am (วิล.ไอ.แอม) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ I.AM.PLUS; Alexandre Ricard (อเล็กซานเดอร์ ริคาร์ด) ประธานและซีอีโอของ เพอร์นอต ริคาร์ด บริษัทแม่ของ ชีวาส รีกัล; Sheila Herrling (ชีอิล่า เฮอร์ลิ่ง) นักวิชาการอาวุโสแห่ง The Beeck Center for Social Impact + Innovation (ศูนย์เบ็คเพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคมและนวัตกรรม) ; และKresse Wesling (เครสซี่ เวสลิง) ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการแบรนด์สุดหรูเน้นความยั่งยืน Elvis &Kresse (เอลวิส & เครสซี่)คณะกรรมการประเมินสตาร์ทอัพแต่ละทีมโดยพิจารณาจากความสามารถในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนผ่านทางโมเดลธุรกิจที่มีแววประสบความสำเร็จและมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้
นี่ไม่ใช่แค่การแข่งขัน แต่เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการและนวัตกร ซึ่งสร้างผลกระทบต่อโลกเราได้ อย่างแท้จริง
ผู้เข้ารอบสุดท้ายอีก 4 ทีม ที่ได้รับเงินทุนจำนวนมาก ได้แก่ Mestic จากเนเธอร์แลนด์ (200,000 ดอลลาร์) ทีมที่จะเปลี่ยนมูลวัวให้กลายเป็น biotextiles (สิ่งทอชีวภาพ), bioplastics (พลาสติกชีวภาพ) และbiopaper (กระดาษชีวภาพ); Spain’s BraiBook (100,000 ดอลลาร์) ผู้สร้างสรรค์eReader ด้วยตัวอักษรเบรลล์เป็นรายแรก; The Picha Project จากมาเลเซีย (50,000 ดอลลาร์) ซึ่งสนับสนุนชุมชนที่ถูกกีดกันทางสังคมผ่านทางธุรกิจจัดเลี้ยงและจัดส่งอาหารแบบยั่งยืน และ change:WATER Labs จากสหรัฐอเมริกา (50,000 ดอลลาร์) ทีมที่พัฒนาห้องสุขาที่ไม่ใช้น้ำ และต้นทุนต่ำ สำหรับชุมชนหรือบ้านพักอาศัยที่ไม่มีระบบท่อน้ำทิ้งทั่วโลก
มีการตัดสินรางวัล People’s Choice Award โดยการถ่ายทอดสดในคืนนั้นและมีผู้ชมในสตูดิโอและผู้ชมกว่า 420,000 คนทั่วโลกที่ชมภาพการถ่ายทอดสด will.i.am ประกาศว่าผู้ชมได้ตัดสินมอบรางวัลเงินทุนเพิ่มเติมอีก 50,000 ดอลลาร์ให้กับ Eric Sicartจากทีม BraiBook
Will.i.am (วิล.ไอ.แอม) กรรมการตัดสินกล่าวถึงงานนี้ว่า “ต้องขอบคุณ Chivas Venture ทำให้เราได้รู้จักบรรดาคลื่นลูกใหม่ของ entrepreneur ที่มีแววมากๆ ซูเปอร์สตาร์ในอนาคตก็คือบรรดาผู้ก่อตั้งบริษัทแบบนี้ที่กำลังแก้ปัญหาต่างๆ ของโลก ผมรู้สึกขอบคุณชีวาสที่ยกระดับและส่งเสริมสตาร์ทอัพเพื่อสังคมซึ่งกำลังพยายามเปลี่ยนแปลงให้โลกเราดีขึ้น”
Alexandre Ricard (อเล็กซานเดอร์ ริคาร์ด) ประธานและซีอีโอบริษัท เพอร์นอต ริคาร์ด กล่าวเสริมว่า “Chivas Venture เป็นโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ที่ ผมรู้สึกภาคภูมิใจมาก นี่ไม่ใช่แค่การแข่งขัน แต่เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการและนวัตกร ซึ่งสร้างผลกระทบต่อโลกเราได้ อย่างแท้จริง พวกเขากำลังเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราทำธุรกิจ เราได้มอบเงินทุนไป 3 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่เริ่มต้นการแข่งขัน และผู้เข้ารอบสุดท้ายกำลังช่วยพัฒนาชีวิตผู้คนกว่า 1 ล้านคนในกว่า 40 ประเทศทั่วทั้ง 6 ทวีป นับว่าเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนไม่เลวเลยครับ”
ปัจจุบันเป็นปีที่ 4 แล้วของการจัด Chivas Venture มีผู้สมัครเข้าแข่งขันกว่า 8,000 รายแล้ว นับตั้งแต่เริ่มต้นการแข่งขันในปี พ.ศ.2557 สตาร์ทอัพที่ชีวาสสนับสนุนได้ ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลงได้กว่า 60 ล้านตัน รีไซเคิลขยะ 13,000 ตัน อนุรักษ์ต้นไม้ไว้ได้ว่า 8 ล้านต้นรวมทั้งรังผึ้ง 1 ล้านรัง ผู้หญิงและเด็กได้รับการศึกษา 75,000 วัน มีน้ำดื่มสะอาดให้ผู้คน 24 ล้านลิตร และบ้าน 23,000 หลังมีพลังงานปลอดภัยใช้
ชีวาสเชื่อว่าความโอบอ้อมอารีและความสำเร็จสามารถเกิดคู่กันได้ เป็นความเชื่อที่ได้แรงบันดาลใจมาจากสองพี่น้องผู้ประกอบการและเป็นผู้ก่อตั้งชี วาส นั่นคือ เจมส์และจอห์น ชีวาส ซึ่งแบ่งบันความสำเร็จของพวกเขากับชุมชนเมื่อธุรกิจของพวกเขาเติบโตมากขึ้น ปัจจุบัน โครงการ Chivas Venture มีผู้ประกอบการแชมเปี้ยนของชีวาส ซึ่งมีปรัชญาเดียวกัน ซึ่งต้องการประสบความสำเร็จ ขณะเดียวกันก็ต้องการช่วยให้โลกดีขึ้นด้วย
องค์กรเพื่อสังคมเหล่านี้ได้รับเชิญให้สมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อโอกาสในการเป็นผู้ชนะในส่วนแบ่งเงินทุนจำนวน 1 ล้านดอลลาร์รวมทั้งแหล่งข้อมูลต่างๆ เมื่อโครงการ Chivas Venture 2019 จะเปิดรับสมัครในเดือนกันยายน พ.ศ.2561 ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง www.chivas.com/the-venture