Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

เบอร์เกอร์คิง ตั้งเป้าใช้ไข่-เนื้อไก่จากฟาร์มปลอดกรง 100% ในปี 2570

สำหรับสายเบอร์เกอร์ ก็ต้อง “เบอร์เกอร์เนื้อ” เท่านั้น จึงบอกได้ว่า “เข้าถึงดินแดนเบอร์เกอร์” โดยสมบูรณ์ โดยเฉพาะแบรนด์ “เบอร์เกอร์คิง” ที่มีเมนูเนื้อที่หลากหลายถูกอกถูกสาวกได้เต็มปากเต็มคำ

แต่ในอีกมุมหนึ่ง ผู้บริโภคมีความต้องการที่แตกต่างกัน บางคนไม่กินสัตว์ใหญ่ บางคนไม่กินเนื้อสัตว์ บางคนบอกต้องเป็นไก่เท่านั้น ความหลากหลายของเบอร์เกอร์ในเมืองไทยจึงเกิดขึ้น สำหรับสาวกเบอร์เกอร์ไก่ วันนี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจจากเบอร์เกอร์คิงมาฝาก

หลังจากการเจรจากับ องค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากล หรือ ‘ซิเนอร์เจีย แอนิมอล’ องค์กรซึ่งปฏิบัติงานในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของสัตว์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เบอร์เกอร์คิง หนึ่งในแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดชั้นนำระดับโลกได้ประกาศดำเนินนโยบายเลือกใช้วัตถุดิบจากฟาร์มปลอดกรงขังในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย โดยนโยบายนี้จะประกาศใช้กับร้านอาหารทั้งหมด 115 แห่ง รวมถึงที่จะเปิดดำเนินการในอนาคตทั้งหมดในประเทศภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นเจ้าของแฟรนไชส์เบอร์เกอร์คิงแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะเสร็จสิ้นภายในปี 2570

“คำประกาศเจตนารมณ์จากแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอย่างเบอร์เกอร์คิงจะมีส่วนในการช่วยลดความทุกข์ทรมานของแม่ไก่ในประเทศไทยได้นับล้านชีวิต และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลายๆ บริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะประกาศนโยบายเช่นนี้ตามมา” วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์   ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทยของซิเนอร์เจีย แอนิมอล กล่าว

ความจริงของกรงตับ

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตไข่รายใหญ่เป็นอันดับสามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  รายงานตามตัวเลขล่าสุด ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 จากกรมปศุสัตว์  ประเทศไทยมีแม่ไก่จำนวนมากกว่า 60 ล้านตัวในฟาร์มผลิตไข่ปัจจุบันแม่ไก่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยถูกขังอยู่ในกรงแคบๆ ที่เรียกว่า “กรงตับ” ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์ถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีปฏิบัติที่โหดร้ายที่สุดในการปศุสัตว์

แม่ไก่ใช้ทั้งชีวิตในพื้นที่ที่เล็กกว่ากระดาษ A4 ซึ่งพวกเขาไม่สามารถเดินหรือกางปีกได้สุด เนื่องจากกรงที่มีจำนวนแม่ไก่หนาแน่นเกินไป การเสียดสีกับกรงทำให้แม่ไก่เสียขนเป็นจำนวนมาก การขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสมทำให้พวกเขาได้รับความเจ็บปวดจากโรคกระดูกและกระดูกหัก การเลี้ยงในฟาร์มปลอดกรงสามารถบรรเทาความทรมานของแม่ไก่ได้อย่างมาก เนื่องจากแม่ไก่จะทำพฤติกรรมตามธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ เช่น เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ การทำรัง การจิก และการเกาะคอน

นอกจากนั้น ความปลอดภัยของอาหารในฟาร์มแบบกรงก็เป็นปัญหาที่สำคัญเช่นกัน งานศึกษาในสหภาพยุโรปพบว่ามีความเสี่ยงของการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลา (salmonella) ที่อยู่ในฟาร์มกรงสูงกว่าฟาร์มปลอดกรง ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า “คาดการณ์ว่าเชื้อ non-typhoidal Salmonella spp.  อาจทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันกว่า 93.8 ล้านกรณี และอาจทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลก 155,000 รายต่อปี ประมาณการณ์ว่า 85% ของกรณีดังกล่าวนี้เกิดจากอาหาร”

ห่วงโซ่อุปทานในเอเชียกำลังเปลี่ยนแปลงไป

การดำเนินการการจัดหาไข่จากฟาร์มปลอดกรงนั้นยังค่อนข้างใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย แต่ทั้งนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก ปัจจุบันมีมากกว่า 1,000 บริษัททั่วโลก ได้ประกาศนโยบายเฉพาะในการจัดหาไข่ที่มาจากแหล่งเลี้ยงปลอดกรงในห่วงโซ่อุปทาน เช่น Sodexo, Compass Group, Nestlé, และ Unilever  ต่างมุ่งมั่นที่จะหยุดการจัดหาไข่จากระบบใช้กรงขังทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย

ไม่เฉพาะเบอร์เกอร์คิงเท่านั้น มีรายงานว่า องค์กรอื่น ๆ ในประเทศไทย เช่น เทสโก้ โลตัส และ ซับเวย์ ต่างได้ประกาศนโยบายแบบเดียวกันนี้แล้ว โดยเทสโก้ โลตัส ประกาศนโยบายสั่งซื้อไข่ไก่จากฟาร์มปลอดกรงทั้งในประเทศไทย และมาเลเซียเมื่อปีที่ผ่านมา ส่วนซับเวย์ ประกาศเลิกใช้ไข่จากไก่ที่ถูกขังในประเทศไทย และในอีก 6 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ไต้หวัน และเกาหลีใต้

Post a comment

five × two =