Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ความเป็นมาเป็นไป ถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับ กรุงเทพฯ

เมื่อกล่าวถึงถนนสายอัญมณี เราก็มักจะนึกถึง “จันทบุรี” เนื่องจาชื่อเสียงของ “ถนนอัญมณี” ซึ่งเป็นแหล่งเป็นที่ตั้งของร้านเจียระไนพลอย ร้านค้าอัญมณีต่าง ๆ และร้านทองรูปพรรณ มากกว่า 120 ร้าน

แต่เรื่องราวการเดินทางและวิวัฒนาการของอัญมณีในเมืองไทยนั้นมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน โดยแหล่งใหญ่ในการผลิตและค้าขายที่สำคัญก็คือกรุงเทพฯ

หากคุ้นตากับย่านเยาวราชที่ได้ชื่อว่า “ถนนสายทองคำ” ก็พอจะนึกภาพออก แต่นอกเหนือจากนั้น ยังมีแหล่งอัญมณีและเครื่องประดับที่รวมรวมช่างฝีมือดี ผลงานสวย ๆ ให้เลือกซื้อหาอยู่อีกหลายแห่ง

และนี่คือเรื่องราวที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ได้รวบรวมข้อมูลไว้ โดยได้เชื่อมโยงเรื่องราวของอัญมณีและเครื่องประดับเข้ากับการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการ Bangkok Jewelry Week by GIT  มุ่งเน้นการพัฒนาต่อยอดเครื่องประดับเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเก่าแก่เชิงสร้างสรรค์บนถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับ กรุงเทพมหานคร (บางรัก สัมพันธวงศ์ พระนคร) ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

บางรัก

บางรัก เป็นศูนย์รวมของพหุวัฒนธรรมและความเจริญทางเศรษฐกิจนานนับร้อยปีที่  เป็นศูนย์กลางคิด – ผลิต – จำหน่าย อัญมณี เครื่องประดับ โลหะมีค่า เป็นถนนสายเศรษฐกิจการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของไทย/ เริ่มจาก

“ถนนเจริญกรุง” ถนนสายแรกของไทย เป็นถนนแห่งเครื่องเงินที่ขึ้นชื่อมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ถนนเจริญกรุงเป็นถนนสายแรกของไทยที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ได้รับการขนานนามว่าเป็น ถนนสายเครื่องประดับเงิน” (Silver Jewelry Street) ซึ่งมีความหลากหลายในสินค้าที่จําหน่ายไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงินล้วน เครืองประดับเงินที่ตกแต่งด้วยเพชรและพลอยสี รวมถึงเครื่องประดับเงินที่ใช้วัสดุอื่น ๆ

สำหรับด้านมาตรฐาน ชิ้นงานที่ขายส่วนใหญ่นั้นได้รับมาตรฐานเงินสเตอร์ลิงซึ่งมีสัดส่วนความบริสุทธิ์ของเนื้อเงิน 925 ส่วนจาก 1,000 ส่วนหรือ 92.5% ผู้ซื้อสามารถสังเกตได้จากตัวเลข 925 ที่จะตอกไว้ด้านในตัวเรือนเครื่องประดับซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความตระหนักในคุณภาพการผลิต และมาตรฐาน เปรียบเสมือนกับการทําตรา หรือที่เรียกกันว่า Hallmark

พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ ที่สถาบัน GIT

ถนนมเหสักข์  ถนนแห่งการค้าพลอยคุณภาพสูงที่เก่าแก่และได้รับความเชื่อมั่น เป็นที่ตั้งของร้านค้าส่งออกอัญมณี ที่รับได้รับการเชื่อมั่นมากว่า 30 ปี

ถนนสีลม/ สุรวงศ์ เป็นตลาดเครื่องประดับเก่าแก่ของไทย มีร้านค้าเครื่องประดับเพชรชั้นนำเรียงรายอย่างคับคั่ง และเป็นที่ตั้งของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ที่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ผ่านการสร้างศักยภาพและความเชื่อมั่นในทุกมิติ

บางรัก ยังมีผู้ค้าอัญมณีและผู้ประกอบการภาคธุรกิจที่ค้าขายอัญมณีและเครื่องประดับจำนวนมาก กระจายตัวอยู่ในละแวกถนนสีลม อาทิ ซอยมเหศักดิ์ ศูนย์การค้าจิวเวลรี่เทรดเซ็นเตอร์ และตึก Gem Tower ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญที่ช่วงให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถทำรายได้เข้าประเทศกว่า 300,000 ล้านต่อปี เป็นจุดเริ่มและจุดสร้าง SMEs และแรงงานฝีมือในระบบกว่า 800,000 ราย


สัมพันธวงศ์

สัมพันธวงศ์ เป็นแหล่งค้าทอง ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปี เริ่มต้นมาจากชาวจีนที่อพยพมาอยู่เมืองไทย ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นหนึ่งในไชนาทาวน์ หรือชุมชนจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325

ชาวจีนกลุ่มนี้ได้นำภูมิปัญญาความรู้ ด้านการผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับทอง และทองรูปพรรณมาสู่ประเทศไทย นับได้ว่า ถนนเยาวราช เป็น “ถนนสายทองคำ” ที่มีร้านค้าทองคำรวมกันกว่า 150 ร้าน จึงได้สมญานามของถนนเยาวราชที่ได้ชื่อว่าเป็น “ถนนทองคํา” ป้ายชื่อร้านทองที่ถี่จนแทบจะบดบังกันเป็นสิ่งโดดเด่นที่ดึงดูดสายตา โดยเฉพาะในทําเลร้านทองช่วงกลาง ๆ ของถนนที่เรียกว่า “ท้องมังกร”

บ้านช่างทอง เยาวราช

ทองที่จำหน่ายในเยาวราชนั้นมีค่าความบริสุทธิ์ 96.5% ซึ่งส่วนใหญ่จําหน่ายให้แก่ผู้ซื้อชาวไทย หากแต่ก็มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาซื้อบ้างประปราย โดยทอง 96.5% ถือเป็นค่าความบริสุทธิ์ที่คนไทยนิยมและเป็นค่ามาตรฐานของร้านทองทุกร้าน เนื่องจากมีความแข็งแรงคงทนทําเป็นลวดลาย ต่าง ๆ ได้หลากหลาย

อีกทั้งยังมีสีสันที่เหลืองสุกอร่าม เมื่อถูกไฟสีของทองจะไม่เปลี่ยน มีความวาวพอดี ขณะที่ทอง 99.99% แม้จะมีค่าความบริสุทธิ์ของทองคําที่สูงกว่า หากแต่เนื้อทองค่อนข้างนิ่ม ยืดง่ายและบิดงอเสียรูปทรงได้ง่าย ส่วนทองคำที่มีค่าความบริสุทธิ์ต่ำกว่า 96.5% ลงนั้น เนื้อทองจะแข็งมาก จนบิดงอ ทําลวดลายต่าง ๆ ได้ยาก อีกทั้งเวลาถูกไฟลนสีของทองจะเปลี่ยนไป

ร้านค้าทองในย่านนี้ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสมาคมค้าทองคํา ซึ่งสินค้าที่วางจําหน่ายในร้านได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานจากสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดังนั้นลูกค้าที่เห็นตราสัญลักษณ์บนสินค้าจึงมั่นใจได้ว่าสินค้าที่ซื้อจากร้านค้านั้น ๆ ได้มาตรฐานตามกําหนด


พระนคร

พระนคร เขตการค้าที่เชื่อมโยงความเจริญจาก วัด-วัง-ตลาด และแหล่งการค้าเก่าแก่ที่สำคัญ และที่รู้จักกันในนามชุมชนบ้านหม้อ แยกสี่กั๊กพระยาศรี ถนนเจริญกรุง และพาหุรัด เป็นย่านที่มีการรวมตัวของสินค้าประเภทเครื่องประดับเพชรพลอยและช่างทำทอง ฝัง ชุบ เชื่อม โดยเฉพาะบริเวณบ้านหม้อในอดีต ไม่ว่าจะมีงานมงคลใด ๆ ทุกคนจะมุ่งหน้าสู่บ้านหม้อ

ในปัจจุบันส่วนมากจะเป็นร้านค้าเพชรและร้านทอง รวมถึงร้านจำหน่ายผ้าตัดเย็บที่เปิดกิจการมานานจนมีชื่อเสียง เขตพระนครจึงเป็นย่านขายเครื่องเพชร พลอย ทองคำ และเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน มีผู้ประกอบการร้านค้าเพชรพลอยในเขตนี้กว่า 200 ราย ซึ่งเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยภูมิปัญญาตามวีถีไทยดั้งเดิมและการสั่งสมความเชี่ยวชาญของ “ช่างฝีมือ” เจียระไนพลอยสี ช่างขึ้นตัวเรือนเครื่องประดับ

ดิโอลด์สยาม พลาซ่า เป็นอีกแหล่งรวมร้านอัญมณีและเครื่องประดับในย่านพระนคร

เขตพระนครมี โรงเรียนช่างฝีมือในวัง / ชุมชนที่ตรอกบ้านพาน คือกลุ่มช่างเงิน ผลงานทําผลิตภัณฑ์จากพานเงินให้กับคนในชุมชนจากในอดีตย่านตีทองที่ถนนตีทอง มาจนถึงบ้านหม้อที่เคยค้าเพชรและมีช่างจีนทําทองรูปพรรณตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมื่อเปิดเป็นย่านทําทองรูปพรรณส่งร้านทองทางเยาวราช ทำให้แรงงานเหล่านั้นก็เริ่มรับทําทองรูปพรรณเองโดยสามารถเปิดหน้าร้านค้าขายเครื่องทอง รับซ่อมแซมตัวเรือนแหวนต่าง ๆ จนกลายเป็นเจ้าของกิจการและกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนตรอกเฟื่องทอง-ตรอกวิสูตร แรงงานมาฝึกเป็นช่างฝีมือ ต่ออายุให้กับงานช่างที่เป็นเครื่องประดับในยุคปัจจุบัน

กรุช่างทองโบราณ ห้างดิโอลด์สยามพลาซ่า

ตลาดบ้านหม้อ ตั้งอยู่บนถนนบ้านหม้อ แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร เป็นแหล่งศูนย์รวมร้านจำหน่ายเครื่อง-เพชร พลอย ทองคำ และเครื่องประดับ แต่เดิมผู้คนในย่านนี้ประกอบอาชีพปั้นหม้อและเครื่องปั้นดินเผาขาย เป็นชุมชนเก่าแก่พอ ๆ กับกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังเกิดเพลิงไหม้ใหญ่ อาชีพปั้นหม้อจึงหายไปตามกาลเวลา คงเหลือไว้เพียงชื่อถนนบ้านหม้อ ที่เริ่มจากถนนเจริญกรุงตรงถนนสี่กั๊ก  พระยาศรี ตรงไปทางปากคลองตลาดตัดถนนพาหุรัด


ใครที่อยากเลือกซื้อหา ไปชม ไปชิล หรือหาความรู้เกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับ พร้อมเดินสายถนนอัญมณีและเครื่องประดับ ไปได้ที่งาน Bangkok Jewelry Week 2024 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-25 ตุลาคม 2567 ณ ลานมิ่งเมือง ชั้น 1 ศูนย์การค้าดิโอลด์สยาม พลาซ่า และถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญในเขตบางรักและเขตสัมพันธวงศ์

พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ สถาบัน GIT บางรัก

ผลงานจากโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับไทยในภูมิภาค

หรือถ้างานจบไปแล้วก็ยังสามารถหาความรู้ได้ที่ สถาบัน GIT ซึ่งตั้งอยู่ในย่านบางรัก ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับให้เราเข้าไปศึกษาความเป็นมาและความรู้เกี่ยวกับอัญมณีจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งชมคอลเล็คชั่นสวย ๆ ที่หมุนเวียนมาให้ชม ซึ่งในช่วงนี้เป็นการจัดแสดงผลงานจากโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับไทยในภูมิภาค โดยการผสมผสานอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นเข้ากับดีไซน์เครื่องประดับได้อย่างน่าสนใจ บอกเลยว่าสวยงามมาก ๆ

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fan page : Bangkok Jewelry Week

รีวิวฉบับเต็ม นิทรรศการ “ประดับ by GIT” โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับไทยในภูมิภาค แรงบันดาลใจจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น click>> https://www.meetthinks.com/git-museum/

Post a comment

6 − 5 =