Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

“ดิน” ที่พึ่งของคนทั้งโลก

ไม่ใช่เพียงแค่หน้าที่ที่ทำให้คนเรายังมีที่ยืน ที่อยู่ ที่อาศัย แต่วันนี้โลกรู้แล้วว่า ดิน คือ ที่พึ่งของคนทั้งโลก

เพราะแม้แต่กองทัพยังต้องเดินด้วยท้อง ดังนั้นความมั่นคงของประเทศ ที่หลายคนมองว่าเป็นแค่เรื่องของการทหาร ก็ยังต้องพึ่งพาอาหาร

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศมีความมั่นคงสูง ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร แต่ในขณะเดียวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการเรื่องของดิน น้ำ ป่า เพราะหากใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง  อาจจะกลายเป็นการทำลายสิ่งที่มีค่าไปอย่างน่าเสียดาย

หลายคนคงได้ทราบแล้วว่า ในวันดินโลก พ.ศ.2561 ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสหประชาชาติ (UN) มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันดินโลก เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชา และน้อมสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาดิน  รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดินเพื่อความมั่นคงทางอาหารโลกอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด ‘Be the solution to soil pollution’ เน้นเรื่องมลพิษทางดินซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร

นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ คุณสัญญา คุณากร ร่วมทำพิธีเปิดงาน ด้วยการสาธิตการบำรุงดิน ตามแนวทางธรรมชาติ

ตลอดระยะ 6 ปีที่ผ่านมา  มีการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน โดยบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พร้อมพันธมิตรทุกภาคส่วน ซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางที่เดินมามาจนจบเฟสที่ 2 ด้วยการ “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” เกิดต้นแบบใน 4 จังหวัด โดยมี  นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือ อาจารย์ยักษ์  เป็นนายทัพในการขับเคลื่อนโครงการจนประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม และได้ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจกับแนวโน้มของความมั่นคงทางอาหารที่สอดคล้องกับเรื่อง “ดิน” ตามศาสตร์ของในหลวง รัชกาลที่ 9

 

รวมพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน ก้าวสู่เฟส 3 ในปีที่ 7

โครงการ พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน  มุ่งเน้นในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาในการจัดการดิน น้ำ ป่า ตลอด 6 ปีเต็มที่ผ่านมาและประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้ชุมชนทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำอื่นๆ ร่วมกันฟื้นฟูดิน ด้วยการสร้างหลุมขนมครกเพื่อกักเก็บน้ำ การปลูกหญ้าแฝกเพื่อฟื้นฟูดินและป้องกันดินพังทลาย ส่งเสริมการทำกสิกรรมธรรมชาติ ขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์โดยให้ความรู้ในเรื่องการใช้สารชีวภาพทดแทนสารเคมีในการป้องกันแมลงที่เป็นศัตรูพืช การทำปุ๋ยชีวภาพ และการล้างพิษสารเคมีในดินด้วยน้ำหมักชีวภาพ เพิ่มความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นการสร้างความยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร  จึงนับว่าเป็นโครงการที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของวันดินโลกในปีนี้โดยตรง

6 ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่า สิ่งที่เราทำนั้นประสบความสำเร็จ จนสามารถเป็นศูนย์ฝึกและถ่ายทอดสู่คนทั่วโลก นี่ไม่ใช่เรื่องที่พูดขึ้นมาเล่นๆ เพราะองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้ง สมัชชาดินโลก โดยมีสมาชิก 220 ประเทศ และได้โหวตให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันดินโลก  และตัวผมถูกมอบหมายให้เป็นประธานคณะกรรมการวันดินโลก ซึ่งจะมีการจัดงานขึ้นทั่วโลก เพราะนานาประเทศต่างตระหนักถึงคำสอนของ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ว่ามีความสำคัญมาก มนุษย์จะอยู่รอดได้โดยไม่ทิ้งให้ใครอดอยากหรือ  Zero Hunger ซึ่งต้องเริ่มจากดิน  น้ำ การจัดการลุ่มน้ำ การดูแลป่า ที่สำคัญคือต้องพัฒนาคน

โครงการฯ ปีนี้ นับเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานในเฟสที่ 2 คือ ระยะของการแตกตัว ซึ่งในปีถัดไปโครงการฯ จะก้าวต่อไปสู่เฟสที่ 3 คือ การขยายผลเชื่อมโยงทั้งระบบ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ยกระดับสู่การแข่งขัน วางรากฐานการพัฒนามนุษย์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมโยง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศต่อไป

ปัจจุบันผมถูกเชิญไปต่างประเทศ มีประเทศระดับมหาเศรษฐีอย่างบรูไน ต้องการให้เราไปช่วยแก้ปัญหาเรื่องดิน ทั้งเรื่องดินเปรี้ยวและดินเค็ม เพราะเขารู้ว่าเขามีเงินมากก็จริง แต่สิ่งที่สร้างความมั่นคงให้เขาได้คือเรื่องของอาหาร เช่นเดียวกับรัสเซียที่ค้าอาวุธมากกว่าสหรัฐอเมริกามากกว่า 10 เท่า แต่เขายังต้องหันมาปลูกข้าว

หนึ่งในเกษตรอินทรีย์ ที่นำผลผลิตมาวางจำหน่ายที่ ฐานธรรมธุรกิจ หนึ่งในครือข่ายของโครงการ ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานในครั้งนี้ (สิ่งที่คุณพี่ท่านนี้ถืออยู่ คือ ผลของชะเอม ที่หลายคนไม่รู้จักมาก่อน)

นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความสามัคคี ความมุมานะและอดทน ของกลุ่มคนที่เล็งเห็นแล้วว่า อาหารคือความมั่นคงของชีวิต การกินอาหารที่ดี ก็คือการมอบสิ่งที่ดีให้กับชีวิต

ใบโกงกางทอด เมนูที่หลายคนอาจจะไม่รู้จัก ซึ่งวันนี้มีเกษตรกรทำมาลองให้ชิม และชี้ให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของอาหารในบ้านเรา

โลกรู้แล้วว่าอาหารคือความมั่นคงของมนุษยชาติ เรื่องสำคัญที่สุดคือ เรื่องดิน น้ำ ป่า และพรรณพืช แต่ที่สำคัญคือต้องสร้างความเชื่อที่ถูกต้อง หรือ My Set ว่านี่คือเรื่องสำคัญกับชีวิตมนุษย์จริงๆ ผู้นำประเทศมหาอำนาจ ผู้ที่มีความสามารถทางการเงินสูงอย่างประธานาธิบดี  สี จิ้นผิง ของจีน หรือ  วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เขารู้แล้วว่าอาหารคือความมั่นคงแห่งชีวิต ที่ส่งผลถึงความมั่นคงของประเทศ เพราะแม้แต่กองทัพก็ต้องเดินด้วยท้อง อาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

นี่คือสิ่งที่ท่านได้กล่าวในโอกาสที่โครงการ  พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน จะก้าวต่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ 9 ปี ซึ่งอาจารย์ยักษ์ได้ให้คำมั่นไว้ว่า “เมื่อครบปีที่ 9 แล้ว โครงการนี้จะเป็นที่พึ่งให้กับคนทั้งโลก”

Post a comment

1 × 1 =