Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

Medical Sciences Innovations: From Lab to Life

ปิดฉากอย่างภาคภูมิใจ งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32 ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567  จัดโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภายใต้แนวคิดหลัก “นวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จากแล็บสู่ชีวิตMedical Sciences Innovations: From Lab to Life” ในระหว่างวันที่ 5 – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์การประชุม อิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเป็นประธานเปิดการประชุม วิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และทรงพระราชทานพระดำรัสเปิดการประชุม พระราชทานโล่ที่ระลึก แก่นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ดีเด่น นักวิทยาศาสตร์การแพทย์รุ่นใหม่ DMSc Award อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ระดับชาติ

โดยมีคณะผู้บริหาร กระทรวงสาธารณสุข คณะผู้บริหารและบุคลากรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บุคลากรจากหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงคณะบุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ และร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์  ณ ศูนย์การประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567

นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จุดประสงค์ในการจัดงาน เพื่อเป็นเวทีให้นักวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เครือข่ายสุขภาพด้านต่างประเทศและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้นำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์งานวิชาการให้มีความก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศไทย

สำหรับกิจกรรมในงานประกอบด้วยการสัมมนาทางวิชาการ การเสวนาโดยวิทยากรจากชาวไทยและต่างประเทศ อาทิ “การเตรียมพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดการควบคุมการติดเชื้อ” โดย ดร.โยชิฮารุ มัตสึอุระ ศูนย์การศึกษาและการวิจัยโรคติดเชื้อ (CiDER) สถาบันวิจัยโรคจุลินทรีย์ (RIMD) มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น

“ความหลากหลายของเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในเอเชีย” โดย ดร.ยูกิฮิโระ อาเคดะ ผู้อำนวยการภาควิชาแบคทีเรียวิทยา สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น

“การใช้ CAR-T Cell ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือด” โดย ศ.นพ.เจียนเซียง หวาง รองผู้อำนวยการสถาบันโลหิตวิทยา สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์จีน, ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรงพยาบาลโรคเลือด และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางคลินิกแห่งชาติโลหิตวิทยา ประเทศจีน

“การควบคุมกำกับการใช้ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงโมโนโคลนอลแอนติบอดีในการรักษาโรคไข้เลือดออก” โดย ดร.เพ็ดดี เรดดี้ และ ดร.อนิรุธา โปเตย์ จากสถาบันเซรุ่มอินเดีย

นอกจากนี้ยังมีคณาจารย์จากโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัย เช่น โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช,โรงพยาบาลราชวิถี,โรงพยาบาลรามาธิบดี, ศิริราชพยาบาล, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่จะมาบรรยายแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ด้านการรักษาและการศึกษาวิจัย

รวมทั้งยังมีภาคเอกชนมาร่วมแชร์ประสบการณ์ เช่น  เถ้าแก้น้อย “วัยรุ่นพันธุ์แล็บสู่นวัตกรรมพันล้าน” โดย ดร.วิสุทธิ์ วีระกุลพิริยะ จาก บริษัท เถ้าแก่น้อยฟู้ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) และยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายหน่วยงาน

การนำเสนอและประกวดผลงานทางวิชาการ

ภายในงานมีการเปิดโอกาสให้นักวิจัยและนักวิชาการได้มีเวทีนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ นอกจากงานวิชาการในเชิงลึกแล้ว ยังมีการเปิดเวทีให้งานประเภท Routine to Research ที่มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาในงานประจำ มาร่วมนำเสนอผลงานด้วย

การจัดงานครั้งนี้มีผลงานที่ส่งเข้าร่วม 426 เรื่องแบ่งเป็นการนำเสนอผลงานวิชาการ การนำเสนอด้วยวาจา 47 เรื่อง โปสเตอร์ 211 เรื่อง R2R 168 เรื่องและการนำเสนอผลงานทางวิชาการของผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ดีเด่น และผู้ได้รับรางวัล DMSc award ตลอดจน อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนระดับชาติ

การแสดงเทคโนโลยีทางการแพทย์

มีการจัดแสดงนิทรรศการนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อให้ที่ผู้สนใจเข้าร่วมงานได้เยี่ยมชมความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ในปัจจุบัน อาทิ

บูทนิทรรศการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จัดแสดงผลงานดังนี้

– ด้านชันสูตรโรค แสดงการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านโรคติดเชื้อโรคไม่ติดเชื้อและโรคทางพันธุกรรมในทุกช่วงวัยของคนไทย (เกิดจนตาย) ตลอดจนการวิจัยพัฒนาและการให้บริการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง: Advanced therapeutic medicinal products

– ด้านคุ้มครองผู้บริโภค จัดแสดงการคุ้มครองผู้บริโภคใส่ใจทุกช่วงวัยของชีวิต

– ด้านสมุนไพร แสดงกระบวนการวิจัยพัฒนาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร

– ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน แสดงงานวิทยาศาสาตร์การแพทย์ชุมชนจากแล็บสู่คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในชุมชน โดยการดำเนินการของ อสม.นักวิทย์และศูนย์แจ้งเตือนภัย รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ OTOP/SME ด้านอาหารและเครื่องสำอางจากสมุนไพร

นอกจากนี้ยังมีบูทจากเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชนอื่น ๆ อีกกว่า 100 บูท อาทิ องค์การเภสัชกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หน่วยชีวสนเทศทางการแพทย์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท Engine Life คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี สมาคมการค้าส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ เอส เอ็มอี ฯลฯ ที่จะมาจัดแสดงผลงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ผู้ร่วมงาน

งานนี้ได้รับความสนใจจาก เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนผู้ประกอบการ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนเข้าร่วมงานและเยี่ยมชมนิทรรศการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในส่วนของเภสัชและนักเทคนิคการแพทย์สามารถเก็บสะสมคะแนนการศึกษาต่อเนื่องได้ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ :  0 29510000

เว็บไซต์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ : www.dmsc.moph.go.th

FB : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

Post a comment

18 − six =