Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

“วิสาหกิจเพื่อสังคม” กับเทรนด์ SE เมืองไทย ไปถึงไหนแล้ว

Profit (ผลกำไร) People (คน) และ Planet (โลก) ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในทำการทำธุรกิจในโลกปัจจุบัน แต่สำหรับธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนอย่างแท้จริง คงต้องลำดับความสำคัญอีกแบบ โดยเริ่มต้น Planet, People แล้วตามด้วย Profit

คำอธิบายที่ทำให้เห็นภาพของคำว่า ธุรกิจเพื่อสังคม”  จาก พิเชษฐ โตนิติวงศ์” ผู้จัดการไปทั่ว บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด หนึ่งในต้นแบบของวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี 2556 ก่อนที่คำว่า SE จะเข้ามามีบทบาทในเมืองไทย

สวส. กับการผลักดัน SE ในเมืองไทย

เมื่อกระแสโลกมุ่งหวังการพึ่งพาและเกื้อกูลกันเพื่อสร้างความสมดุล ประเทศไทยจึงมีการจัดตั้ง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562

นภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) เปิดเผยว่า วิสาหกิจเพื่อสังคมและกลุ่มกิจการเพื่อสังคม เป็นธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์หลักคือส่งเสริมการแก้ไขและพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการประกอบธุรกิจประเภทหนึ่ง และนับเป็นเทรนด์โลกที่สอดคล้องกับหลักการของคำว่า   Sustainable Development Goal (SDGs), BCG (Bio-Circular-Green Economy), ESG (Environment – Social – Governance), SE – Social Enterprise

สวส. มีภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมให้มีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการให้ความช่วยเหลือสังคม นับตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน มีธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม จำนวน 222 กิจการ แต่ละกิจการมีจุดมุ่งหมายในการคืนกำไรสู่สังคม และสร้างสังคมที่มีความเกื้อกูล อุดหนุนซึ่งกันและกัน

นภา เศรษฐกร

เดินหน้าสานพลัง สร้างสังคมแห่งการเกื้อกูล

“SE หรือ กิจการเพื่อสังคม เป็นหนึ่งในเทรนด์โลกที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ  ความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเชื่อมั่นว่าหากประเทศไทย มีจำนวน SE เพิ่มขึ้น ก็จะช่วยสร้างสังคมที่ดีขึ้นตามไปด้วย

สวส. จะเดินหน้าผนึกกำลังกับหน่วยงานราชการ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เพื่อส่งเสริมให้มีวิสาหกิจเพื่อสังคมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจเพื่อชุมชน ซึ่งมีการดำเนินงานในทิศทางที่สอดคล้องกัน และยังมีจำนวนอีกมากในประเทศไทย รวมทั้งกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่  ที่มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจ สามารถร่วมผลักดัน ภาพรวมของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทยให้เติบโตขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ในปีนี้ สวส. มีแผนในการผนึกกำลังความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อการศึกษาและพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมจากชุมชนรอบโรงไฟฟ้าซึ่งมีอยู่ 200 แห่งทั่วประเทศ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการศึกษาข้อมูล  รวมทั้งการเพิ่มมาตรการสร้างแรงจูงใจสำหรับวิสาหกิจเพื่อสังคม เช่น สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมด้านภาษี สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนผ่าน BOI เป็นต้น”

ขณะเดียวกัน สวส. ยังคงเดินหน้าประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง  โดยล่าสุด ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และสร้างความรับรู้ระบบนิเวศวิสาหกิจเพื่อสังคม ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “สังคมแห่งความสุข สังคมแห่ง การพัฒนาด้วยวิสาหกิจเพื่อสังคม” โดยมีเจ้าหน้าที่ สวส. ผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคม สื่อมวลชน และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน ณ บริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566

พิเชษฐ โตนิติวงศ์

นาวี นาควัชระ

ภายในงาน มีวิสาหกิจเพื่อสังคมต้นแบบเข้าร่วมเสวนาแชร์ประสบการณ์ ได้แก่ พฤฒิ เกิดชูชื่น” กรรมการผู้จัดการ บริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด, พิเชษฐ โตนิติวงศ์” ผู้จัดการไปทั่ว บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และ นาวี นาควัชระ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด

แดรี่โฮม เกษตรอินทรีย์ วิถีแห่งความยั่งยืน

แดรี่โฮม” เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2542 โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมความเปลี่ยนแปลงของฟาร์มโคนมในประเทศไทย จากการผลิตที่มุ่งเน้นปริมาณไปสู่คุณภาพ  มุ่งสู่ น้ำนมอินทรีย์” โดยใช้หลักการของ เกษตรอินทรีย์” ที่สร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก เป็นอีกธุรกิจที่มุ่งประเด็นทางสังคมมาก่อนที่จะเข้าร่วมจดทะเบียนกับ สวส.

พฤฒิ เกิดชูชื่น

พฤฒิ เกิดชูชื่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด กล่าวว่า การดำเนินงานตามหลักการเกษตรอินทรีย์ของแดรี่โฮม สร้างผลกระทบเชิงบวกไปยัง 3 กลุ่ม เริ่มต้นจากการสร้างนมคุณภาพดีให้กับกลุ่ม ผู้บริโภค” ได้รับประทานน้ำนมคุณภาพดี ปราศจากสารเคมีหรือสารพิษ

สร้างระบบฟาร์มยั่งยืนให้กับกลุ่ม เกษตรกร” โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพิ่มความภาคภูมิใจให้กับเกษตรกร สร้างรายได้จากสินค้าที่มีคุณภาพ จูงใจให้คนรุ่นใหม่กลับมาสานต่อธุรกิจฟาร์มโคนม ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรฟาร์มโคนมส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้สูงวัย หากภายใน 5 ปี ไม่มีลูกหลานมาสืบทอดกิจการ อาจจะทำให้ปริมาณการผลิตน้ำนมโคในประเทศไทยลดลง จนต้องหันไปพึ่งพาการนำเข้า

อีกกลุ่ม คือ สิ่งแวดล้อม”  ปัจจุบันแดรี่โฮม มีเกษตรกรที่เลี้ยงวัวนมในพื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่  แนวทางเกษตรอินทรีย์สามารถลดการใช้สารเคมีในการปลูกหญ้าเลี้ยงวัวได้หลายแสนกิโลกรัมต่อปี ลดมลพิษจากสารเคมีที่ไหลลงดิน น้ำ และอากาศ ลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีสำหรับโคนม นับเป็นผลกระทบเชิงบวกที่เห็นได้อย่างชัดเจน  

ตัวแทนจากวิสาหกิจเพื่อสังคมต้นแบบทั้ง 3 ท่าน มีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า วิสาหกิจเพื่อสังคม เป็นธุรกิจที่ส่งคืนสู่สังคมในหลายมิติ ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยนำกำไรจากการประกอบกิจการคืนกลับสู่สังคมเป็นหลัก ดังนั้นไม่ว่าอย่างไร กิจการเพื่อสังคมก็ยังต้องอาศัยหลักการทางธุรกิจและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้สามารถยืนหยัดอยู่ได้ เช่นที่แดรี่โฮม กำไรจากการการประกอบกิจการ จะนำไปใช้ในการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถของเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ เป็นต้น

สวส. ระบุว่า ในปี 2565 การเพิ่มขึ้นของวิสาหกิจเพื่อสังคมมีอัตราการเติบโต 30% ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจและวิกฤตโรคระบาด คาดว่านับจาก ปี 2566  จำนวนของวิสาหกิจและกิจการเพื่อสังคมจะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 20% ต่อปี

นมอัดเม็ด ฟ.ฟัน ผสมโปรไบโอติกส์ นวัตกรรมนมป้องกันฟันผุจากแดรี่โฮม โดย ศ.ดร. รวี เถียรไพศาล

“หากมีวิสาหกิจเพื่อสังคมเพิ่มขึ้น สังคมก็จะดีขึ้นตามไปด้วย” โดยวันนี้ ผู้ผลิต และผู้บริโภคส่วนหนึ่ง เริ่มมีความเข้าใจในระบบของวิสาหกิจเพื่อสังคมแล้ว แต่ยังถือว่าเป็นสัดส่วนส่วนที่น้อยมาก และจำกัดอยู่ใน “นิชมาร์เก็ต”  หากต้องการเปลี่ยนกลไกทางการตลาดให้เข้าสู่โลกแห่งความยั่งยืนที่แท้จริง ต้นทางการผลิต การตลาด และผู้บริโภค รวมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐ จำเป็นที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิต กิน ใช้ และสนับสนุนสินค้าและบริการที่ส่งเสริมสังคม ให้เข้าสู่ระดับ “แมส”

เมื่อนั้นภาพของความยั่งยืนในประเทศไทย ซึ่งมีจุดแข็งด้านการเกษตร และการเป็นแหล่งอาหาร จะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดของ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” ได้ที่ https://www.osep.or.th/

Post a comment

19 − fifteen =