Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

เล่า ลำดับที่ ๑ : สันติ แต้พานิช

เล่าโดย  ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ 

พูดแบบไม่ขัดเขิน ผมชอบผลงาน สันติ แต้พานิช  …  
– การถ่ายทอดชีวิตนักสู้ของลูกอีสานบ้านๆ อย่างเสือร้องไห้
– เรื่องราว ขบถ มั่นใจในสิ่งที่ตัวเองเชื่อใช้ชีวิตเท่ แต่ยาก.. ที่จะเลียนแบบ อย่างตัวกูของกู” 
คือเหตุผลสำคัญ ที่ชื่นชมรสกำกับของ พี่แต้สันติ แต้พานิช  และติดตามเรื่อยมา  

ล่าสุด ไปชมภาพยนตร์สารคดี บันทึกเบื้องหลังภาพยนตร์ #Samuisong 

เนื้อกับหนัง” 

เล่าเบื้องหลังงานกำกับ ของผู้กำกับ ที่มีแนวทางชัดเจนที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ..นี้ 

ไม่มีภาพเปรียบเทียบ เพราะยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ 

ผมชอบการเริ่มต้น  .. มีรสสนุกๆ คล้ายๆ เกริ่นให้รับรู้ว่า เป็นเอก รัตนเรือง คือคนยังไง

การกระทำที่แตกต่าง มีผลมาจากวิธีคิดที่แตกต่าง 

ถ้าอยากหาตัวตนคนที่มีวิธีคิดแบบนี้ เป็นเอก รัตนเรือง คือ คนที่อยากแนะนำให้รู้จัก..  

คนที่เคยฟังบทสัมภาษณ์ เคยดู และเคยอ่านการสัมภาษณ์ น่าจะคิดไม่ต่างกัน .. พี่ต้อมเป็นคนรสสนุก

ตอบคำถาม และเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้มันส์ และ ดูจริงที่สุดคนหนึ่ง 

หนังแบ่งการเล่าเรื่องเป็นสามส่วนประกอบ คือ ผู้กำกับ .. นักแสดงนำ .. และเบื้องหลังภาพยนตร์ 

ถ้าคิดว่าอาชีพนักแสดงไม่ยาก ใช้เพียงใบหน้า คุณอาจได้มุมคิดอีกด้านกลับไป

หลายฉาก ทำให้เราได้มองเห็นมิติของชีวิต ที่อยู่รายรอบฉากหนังหนึ่งฉาก .. 

การเห็นชีวิตมากมายที่อยู่ด้านหลังฉากที่ปรากฎ น่าจะมีประโยชน์กับคนที่อยากเดินไปในเส้นทางสายนี้ 

ฉากที่ง่าย ผ่านตาไปง่าย .. ไม่กี่วินาทีที่ปรากฎ การผลิต ไม่ง่ายเลย 

(รวมถึงถ่ายแทบตาย วางแผน ดำเนินการเป็นวัน .. หรือหลายวัน แต่ไม่ปรากฏแม้หนึ่งวินาทีในหนัง)

มีคนกล่าวว่า พี่ต้อมเป็นผู้กำกับที่ไม่หวงเนื้อของหนัง ตัดออกได้ ถ้ารู้สึกไม่เหมาะสม  

สิ่งหนึ่งที่ผมเข้าใจ จากการฟังทัศนะของผู้กำกับเนื้อกับหนังคือสารคดีเรื่องนี้ถ่ายทอดฉากมากมายที่ไม่ปรากฏในหนัง

บอกแล้วไม่มีภาพเปรียบเทียบ เพราะยังไม่ได้ชมภาพยนตร์  

ตั้งคำถามในใจตนเองเล่นๆ ภาพยนตร์สารคดีเบื้องหลัง จำเป็นต้องเห็นแต่ฉากที่ปรากฏในภาพยนตร์ไหม

 

ถ้า.. ได้เห็น จะได้รับรู้บรรยากาศรอบด้าน รู้ถึงความทุ่มเท เพื่อให้เกิดฉากหนึ่งฉาก อาจเติมเต็มช่องว่างความเข้าใจเพิ่มขึ้น

แต่.. การเห็นฉากที่ไม่ปรากฎ คล้ายเติมเต็ม และชวนตั้งคำถามตามมาว่าเหตุใด .. ผู้กำกับถึงไม่ใส่ฉากเหล่านั้นลงไปในหนัง 

เราไม่มีวันรู้ ..

ไม่มีสาระที่ควรแสดงความคิดเห็นว่า ควรใส่ไม่ควรใส่ ฉากใดๆ และ ยืนยันให้เข้าใจว่าหนัง คือ หนัง” 

สิ่งที่อยู่ในจอ เป็นเพียงหนึ่งเรื่องเล่า ที่ผู้กำกับเลือกจัดวางให้เราได้เห็น  

หลายฉาก คนที่ติดตามผลงานของสันติ จะนั่งยิ้มจะรำพึงในใจ โคตรงานพี่แต้เลย 

เพลงที่ปรากฎ คนโตประมาณหนึ่ง น่าจะอยากไปตามหาเพลงเหล่านี้ ให้ความรู้สึก คล้ายๆ  “คิดถึง” 

ตัวอักษรที่ใช้ การสัมภาษณ์ที่เป็นธรรมชาติ จังหวะการเล่า ความไม่เนี้ยบที่ดูตั้งใจ คือบางสิ่ง ที่คิดเอาเองว่าเป็นความตั้งใจที่พี่แต้มักใส่ลงไปใปหนังทุกๆ เรื่อง 

บางครั้งความซ้ำที่เหมาะสม ก็เป็นการยืนยันถึงตัวตน เอกลักษณ์ รวมทั้งลายเซ็นของเจ้าของผลงาน

ตอนจบ . มีรสสนุกๆ เหมือนตอนเริ่มต้นเลย ยืนยันให้รับรู้ว่า สันติ แต้พานิช  คือคนทำสารคดี ที่หยิบจับสิ่งต่างๆ มาทำแล้วสนุกมาก 

ชวนตั้งคำถาม .. หากไม่ใช่การกำกับของพี่แต้ สารคดีเบื้องหลัง  Samuisong 

จะสนุกแบบนี้ไหม .

“เนื้อกับหนัง”
ภาพยนตร์สารคดี โดย สันติ แต้พานิช

……………………………………………………………………………………………

ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ

“โบ้” ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ ‘ทำ’ ‘เป็น’ หลายอย่าง
เป็นหนุ่มเท่ เป็นช่างภาพ เป็นนักเขียน นักเดินทาง เป็นป๋า ทำสำนักสอนวาดรูป
เป็นพิธีกรรายการทีวี ทำโปรเจ็คต์จากต้นคิดให้ก่อร่าง
สิ่งที่โบ้ ‘เป็น’และ‘ทำ’ อยู่นั้น
เหมือนจะยังไม่พอสำหรับหนุ่มพลังเหลืออย่างโบ้

เล่าเรื่องคน เรื่องราว ผ่านตัวอักษร…
อีกงานของโบ้จะปรากฎที่นี่ นับตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป.

Post a comment

6 + 7 =