Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

47 ปี เส้นทางดนตรีของโป่ง

คอลัมน์: เซาะร่องเสียง
โดย นกป่า อุษาคเณย์

ไล่เรียง Timeline ของ “โป่ง” ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ หรือที่รู้จักกันในนาม “โป่ง หินเหล็กไฟ” เนื่องจากวง “หินเหล็กไฟ” คือจุดพีคสูงสุดในอาชีพของเขา

แม้ว่าจะ “โป่ง” จะเคยให้สัมภาษณ์ รวมถึงเขียนประวัติชีวิตตัวเอง ให้แฟนเพลงได้รู้ว่า เขาเริ่มต้นบนถนนดนตรีจากการทำวงนาอ้อนสมัยมัธยม และวง Inferno ในระดับมหาวิทยาลัย แน่นอน เป็นที่ทราบกันดี ว่าทั้งสองวงไม่มีผลงานการบันทึกเสียง

 เพราะการเปิดศักราชดนตรีร็อคของเขาประเดิมที่ค่ายแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์ ในนามวง “โซดา”

ก่อนจะสร้างชื่อเสียงด้วยผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ และเป็นประวัติศาสตร์คลาสสิคในวงการร็อคไทย ด้วยผลงานชุด “หูเหล็ก” ที่เป็นการร่วมงานกับ “โอฬาร พรหมใจ” ภายใต้ชื่อวง The Olarn Project สังกัดไมล์สโตน เร็คคอร์ด

 โดยก่อนหน้านี้ The Olarn Project ออกอัลบั้มกับค่ายเสียงทอง ชื่อชุด “กุมภาพันธ์ 2528” ที่ถือเป็นการเปิดตัว The Olarn Projectและสร้างชื่อเสียงได้ในระดับหนึ่ง

ก่อนที่เขาจะระเบิดฟอร์มระดับมาสเตอร์พีชกับวง “หินเหล็กไฟ” ในฐานะหัวหน้าวงเป็นครั้งแรก และนำพา “หินเหล็กไฟ” ให้กลายเป็นวงร็อคเฮฟวี่เมทัลหมายเลขหนึ่งของไทยจนถึงปัจจุบัน ตามด้วยการออกอัลบั้มในนามวง The Sun ก่อนที่เขาจะไปทำงานเดี่ยว และเป็นผู้บริหารค่ายเพลงในสังกัดอาร์.เอส.โปรโมชั่นในเวลาต่อมา

“ชีวิตผมโชคดีที่เจอมือกีตาร์เก่งๆ อยู่ตลอด”

คอนเสิร์ต PONG 47 ปี Rock Never Dies เมื่อวันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา จัดขึ้นให้พระเอกของงานได้ฉลองไปกับผองเพื่อน แฟนเพลง บนเส้นทางดนตรีที่ยาวนานเกือบ 50 ปี

เป็นความพยายามปะติดปะต่อประวัติศาสตร์ส่วนตัว ซึ่งบางจุดผมมองว่าไม่จำเป็น เช่น วงช่วงมัธยมอย่างนาอ้อน หรือมหาวิทยาลัยคือ Inferno เพราะเป็นการ Cover เพลงสากล ที่ยังไม่มีเพลงไทยภายใต้ฝีไม้ลายมือของ “โป่ง” ให้เป็นที่ประจักษ์

แม้ว่า หากมองในแง่ดี มันคือการฉายภาพจุดเริ่มต้นของร็อคสตาร์คนหนึ่งซึ่งเติบโตมากับเพลงเฮฟวี่เมทัลทั้งฝั่งอเมริกาและยุโรปก็ตาม

เพราะแม้แต่วง SODA ที่มีอัลบั้มออกกับแกรมมี่ที่ตัวเพลงจะเป็นเนื้อหาภาษาไทย แต่ถ้าพิจารณาถึงแนวดนตรีในภาพรวมก็มิอาจพูดได้ว่าเป็นร็อคได้เต็มปากแม้แต่น้อย

ยิ่งหากสังเกตุจากปฏิกิริยาผู้ชมทั้งหมดที่ความตื่นเต้นลดลงเรื่อยๆ นับจากเพลงแรกที่เปิดการแสดงไปจนถึงเพลงสุดท้ายของ SODA ที่เหมือนแฟนๆ ต่างรอดูหินเหล็กไฟ และ The Sun รวมถึง The Olarn Project กันอย่างใจจดใจจ่อมากกว่า

ดังที่กล่าวไป หากมองว่าเป็นการเติมเต็มเพื่อให้เห็นรากฐานทางดนตรีของโป่งก็ต้องถือว่าวงนาอ้อน และวง Inferno ได้ทำให้โป่งได้สั่งสมประสบการณ์ เรียนรู้วิถีการทำงานดนตรี และได้รู้จักนักดนตรีในวงการในเวลาต่อมา

ภาพรวมของคอนเสิร์ตในคืนนั้น แน่นอนว่าการร้างเวทีไปกว่า 40 ปี ทำให้นักดนตรีหลายท่านต้องใช้ความพยายามในการเล่นอยู่บ้าง ขณะที่หลายคนใช้ความเจนเวทีเอาตัวรอดไปได้ ไม่ต้องพูดถึงมือเก๋าอยากพิทักษ์ ศรีสังข์ที่ยืนปักหลักให้กับโป่งเสมอมา

ในส่วนไฮไลท์ที่แท้จริงของงานเมื่อคืน ต้องยอมรับว่าคือหินเหล็กไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งป๊อปกับโป่งที่ทุ่มเททุกอย่างให้โชว์นี้ ผมเชื่อว่าเสียงกีตาร์จากป๊อปคือสิ่งที่ทุกคนในงานชื่นชมที่สุด ทั้งไหลลื่น แม่นยำ มีมิติที่มากกว่าใน CD ที่บันทึกไว้ และมีเลเยอร์มากกว่าคอนเสิร์ตที่ผ่านๆ มา

เป็นสิ่งที่ต้องให้เครดิตกับป๊อปที่โอบอุ้มคุณภาพของโชว์เอาไว้ และสร้างความประทับใจให้กับแฟนเพลงรุ่นใหม่ที่เสียเงินเข้ามาชม

ส่วนแฟนเพลงรุ่นเก่าอย่างผม การได้เห็น เอกชัย วิมลแก้ว (พี่น้อย มือกีตาร์ Inferno) จุมพฏ เลขะพันธุ์ (พี่สาย มือกีตาร์ ผู้ก่อตั้งวงเนื้อกับหนัง หรือ Flesh & Skin) สมโชค นวลนิรันดร์ (พี่อาร์ต มือกีตาร์ และหัวหน้าวง SODA) ขึ้นเวทีอีกครั้ง

ส่วนโอฬาร พรหมใจ (พี่โอ้ มือกีตาร์ หัวหน้าวง The Olarn Project) ดูบ่อยแล้ว รวมถึงนำพล รักษาพงษ์ (พี่โต หินเหล็กไฟ) และวีระ โชติวิเชียร (พี่ตุ้ม Inferno)

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การได้ดูลีลาของ จักรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย (พี่ป๊อป มือกีตาร์วงหินเหล็กไฟ และวง The Sun) ร่วมเวทีเดียวกับมือกีตาร์ระดับตำนาน ที่ทำให้โป่ง ต้องเอ่ยประโยค “ชีวิตผมโชคดีที่เจอมือกีตาร์เก่งๆ อยู่ตลอด” เป็นการปิดงานที่สมบูรณ์แบบสำหรับ PONG 47 ปี Rock Never Dies ที่ผ่านไป

เส้นทางดนตรี “โป่ง” ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์

“โป่ง” ในวัยเยาว์ก็เช่นเดียวกับเด็กบ้านนอกทั่วไป ที่ชอบฟังเพลงจากวิทยุ นำโดยวง “ดิ อิมพอสซิเบิล” ตามด้วย “สุนทราภรณ์” และ “ชาตรี” ที่น่าสังเกตว่า เป็นวงดนตรีไทยสากลยุคแรกที่เขียนเนื้อเพลงไทยขึ้นมาเองใหม่ แม้ส่วนใหญ่ท่วงทำนองจะยืมมาจากสากล

นอกเหนือไปจากในวิทยุ บ้านเกิดของ “โป่ง” ในอำเภอปะทิว จังหวัด ยังมีแผ่นเสียงให้เขาเลือกฟังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น “เอลวิส เพรสลีย์” หรือ “คลิฟฟ์ ริชาร์ด” รวมไปถึง “คาราวาน” และแผ่นเสียงลูกทุ่งอีกจำนวนหนึ่ง

ซึ่งดูเหมือนว่า “โป่ง” จะถูกจริตกับภาษาในเพลงลูกทุ่ง ถึงกับนำไปร้องประกวด คือเพลง “คนหัวล้าน” ของ “สุรพล สมบัติเจริญ” นอกจากนี้ เขายังชื่นชอบเพลงของ “ศรคีรี ศรีประจวบ” “ชาตรี ศรีชล” และ “สายัณห์ สัญญา” อีกด้วย

นาอ้อน และ Inferno

         เมื่อเข้ามาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ในรั้ว “เทพศิรินทร์” ดูเหมือนว่าโลกทัศน์การฟังเพลงของ “โป่ง” จะเปลี่ยนไป โดยมีรายการวิทยุของ “วิฑูร วทัญญู” ผู้สนับสนุนให้เกิดวง Flesh & Skin (เนื้อกับหนัง) ซึ่งเป็นวงที่ทำเพลงร็อคเนื้อไทยวงแรก เป็น idol

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อนที่กรุงเทพฯ ต่างฟังเพลงที่ “โป่ง” ไม่เคยได้ยินมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น Pink Floyd, Deep Purple, Led Zeppelin, Judas Priest, Uriah Heep โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Black Sabbath และ Ozzy Osbourne

ทำให้เขากับเพื่อนๆ ได้รับแรงบันดาลใจจากวงเหล่านี้ นำไปสู่อาการเส้นเลือดสูบฉีดอยากเป็นร็อคสตาร์ ตั้งวงร็อคที่ชื่อ “นาอ้อน” ซ้อมกันหนักเข้าขั้นเอาจริง และรับงานแสดงตามงานเลี้ยงต่างๆ จนจบ ม.6 ก็ถึงเวลาต้องแยกย้ายไปตามทางของแต่ละคน

การเข้าเรียนต่อที่ “รามคำแหง” ทำให้ “โป่ง” ได้รู้จักคนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อนรุ่นใหญ่ขึ้น และบางคนก็เป็นนักดนตรีอาชีพ เมื่อได้คลุกคลีกับคนคอเดียวกับบ่อยๆ คือคอร็อคเหมือนกัน ได้นำไปสู่การตั้งวง Inferno ตระเวนเดินสายเล่นตามมหาวิทยาลัย และเวทีต่างๆ

ผลงานเข้าตา “วิฑูร วทัญญู” และที่สำคัญก็คือ “โอฬาร พรหมใจ” มือกีตาร์วง VIP ของ “แหลม มอริสัน” ที่กำลังจะฟอร์มวงใหม่ในสังกัด Grammy Entertainment

เข้าสู่วงการเทปกับวง SODA และเริ่มมีชื่อเสียงกับ The Olarn Project

ผลงานชุดคำก้อนของวง SODA ในสังกัดแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้ เป็นเพราะเพลงไทยแนวร็อคยังเป็นของใหม่สำหรับนักฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถูกกลบความดังโดย “นกแล” ที่ออกเทปในช่วงเดียวกันพอดี แถมเป็นค่าย Grammy Entertainment เหมือนกันเสียด้วย

อย่างไรก็ตาม “โป่ง” ได้เรียนรู้กลไกการทำงานเบื้องหลังในห้องอัด และทักษะการแต่งเพลงจาก “พี่เต๋อ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้เรียนรู้รูปแบบธุรกิจเพลง การทำงานเป็นระบบแบบมืออาชีพ และที่สำคัญก็คือ การตลาด

หลังหมดสัญญากับ “แกรมมี่” แล้ว “โป่ง” และ “โอฬาร พรหมใจ” ได้ร่วมกันฟอร์มวงใหม่อีกครั้ง คราวนี้เป็นร็อคที่หนักขึ้นว่า SODA ทั้งคู่ร่วมกันแต่งเพลงใหม่ โดย “โอฬาร”แต่งทำนอง และ “โป่ง” เขียนเนื้อร้อง

นั่นคือวง The Olarn Project ออกผลงานเพลงชุด “กุมภาพันธ์ 2528” ในสังกัดเสียงทอง

“หูเหล็ก” ตำนานบทแรก และดังสุดขีดกับ “หินเหล็กไฟ”

แม้จะได้รับคำชื่นชมจากแฟนเพลง นักวิจารณ์ และคนในวงการร็อคไทย แต่ “กุมภาพันธ์ 2528” ยังไม่มีงานจ้างเข้ามามากเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยอดขายที่อยู่แค่กลุ่มนักศึกษา และนักฟังที่ชื่นชอบเพลง “อย่าหยุดยั้ง” “ไฟปรารถนา” “แทนความห่วงใย” เท่านั้น ยังไม่สามารถทะลุไปสู่ระดับ Mass ได้

เพราะมาสเตอร์พีชของ The Olarn Project ที่ทะลุไปสู่ระดับ Mass คือ “หูเหล็ก” ผลงานชุดที่ 2 ของพวกเขาในสังกัดไมล์สโตน เรคคอร์ด ที่แรงตั้งแต่ปกเทปที่ใช้พื้นหนังและตัวอักษรเหล็ก สื่อถึงระดับความแรงของ Heavy Metal ที่อัลบั้มชุดนี้ ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ และชาวหูเหล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนในวงการร็อคไทย ว่าเป็น “อัลบั้ม Heavy Metal ภาษาไทยที่ดีที่สุดตลอดกาล”

หลังปิดฉาก The Olarn Project ต้องยอมรับว่า “โป่ง” หายไปจากวงการเพลงเป็นเวลาค่อนข้างนาน ก่อนจะกลับมาระเบิดฟอร์มอีกครั้ง และคราวนี้กราฟชีวิตร็อคของเขาได้พุ่งสู่จุดสูงสุด เมื่อออกอัลบั้ม “หินเหล็กไฟ” ในชื่อวงเดียวกับชื่ออัลบั้มสังกัดอาร์.เอส.โปรโมชั่น

“หิน เหล็ก ไฟ” ใช้เวลากับการออกทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้มชุดแรกนานถึง 2 ปี จึงได้กลับมาทำอัลบั้มชุดที่สอง ชื่อว่า “คนยุคเหล็ก” ที่มีเพลงไล่เรียงกันไปดังนี้ หลงกล มั่วนิ่ม สอยมันลงมา คิดไปเอง พอกันที ไขว้เขว คนยุคเหล็ก หวาดระแวง คนธรรมดา โอกาส เจ็บบ้างก็ดี ที่บางคนบอกว่าอัลบั้มนี้ดีกว่าชุดแรก ขณะที่หลายคนชอบชุดแรกมากกว่า

The Sun และผลงานเดี่ยว ก่อนขึ้นแท่นผู้บริหารค่ายเพลง

แต่แล้ว ความสำเร็จของ “หินเหล็กไฟ” กลับกลายเป็นทุกขลาภ เพราะกลายเป็นความระหองระแหง ทำให้ “โป่ง” ตัดสินใจออกไปตั้งวงใหม่ชื่อว่า The Sun ซึ่งยังคงสังกัด RS อยู่

The Sun มีผลงานภายใต้สังกัด RS จำนวน 2 อัลบั้ม คือ The Sun และ “เสือ สิงห์ กระทิง แรด” ส่วนอัลบั้มชุดที่ 3 สังกัด Bakery Music ชื่อว่า “ถนนพระอาทิตย์” โดยที่ต่อมา เมื่อ “โป่ง” เป็นผู้บริหาร “เรียลแอนด์ชัวร์” ค่ายย่อยของ RS ได้นำลิขสิทธิ์ “ถนนพระอาทิตย์” กลับมาอยู่ภายใต้ RS ด้วย

หลังจากนั้น “โป่ง” ออกอัลบั้มเดี่ยว 2 ชุดคือ The Game และ Sexperience กลับมารียูเนี่ยนกับ “หินเหล็กไฟ” อีก 2 อัลบั้มคืองานเพลงชุดที่ 3 ของ “หินเหล็กไฟ” ชื่อว่า Never Say Die

และงานแสดงสดในสตูดิโอที่เป็นการเรียบเรียงเพลงฮิตของ “หินเหล็กไฟ” ในรูปแบบอคูสติก คล้ายกับชุด The Olarn Classic โดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า Acoustique ถือเป็นผลงานชุดที่ 4 ของ “หิน เหล็ก ไฟ”

Post a comment

2 × four =