Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ผอ.ททท.ชายแดนใต้ โจทย์ยากที่ต้องคิดให้มากกว่า

ช่วงเวลา 25 ปีของการทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กับภารกิจสุดหิน ที่เรียกได้ว่า เป็นโจทย์ที่ยากกว่าใคร เพราะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานส่งเสริมด้านการตลาด ที่จะต้องทำให้คนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรู้กันดีว่ามีภาพลักษณ์ที่น่ากังวลเช่นไร

เราเจอ คุณป้อม-มัณฑนา ภูธรารักษ์ ผอ. ททท. สำนักงานนราธิวาส ในทริป โครงการ “เก๋ายกก๊วน ชวนกันเที่ยวใต้ ประจำปี 2561”  จัดขึ้นจากความร่วมมือของ ททท. สนง.นราธิวาส  ร่วมกับ ไปไหนดี ทราเวล มูลนิธิเทพปูชนียสถาน และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนราธิวาส ได้พบเจอและพูดคุยกับผู้หญิงตัวเล็กๆ ซึ่งยินดีที่จะทำงานในพื้นที่นี้โดยไม่มีความคิดจะย้ายไปไหน

มาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร

“ไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ แต่ทำงานที่ ททท. สำนักงานนราธิวาส ซึ่งดูแล 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ปี 2536 ครบ 25 ปีแล้ว มีช่วงหนึ่งที่ย้ายไปทางหาดใหญ่พักหนึ่งแล้วกลับมารับตำแหน่ง ผอ. ที่นี่ เป็นการถูกเลือก และเราก็เต็มใจ เพราะอยู่แล้วมีความรู้สึกว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ ความผูกพัน เวลาที่เราอยู่มันยาวนาน มันเหมือนเป็นบ้านของเรา”

กลัวบ้างไหม

“มีบ้างในระยะแรกช่วงที่เริ่มมีเหตุการณ์ปี 2547 แต่เราก็ผ่านช่วงพีคซึ่งมีความรุนแรงมากในช่วงประมาณปี 50-51 มาแล้ว ปัจจุบันเหตุการณ์มันไม่ได้รุนแรงเท่ากับในอดีต เพราะทางภาครัฐได้เข้ามาใช้หลากหลายวิธี เหมือนการลองผิดลองถูกกันมา  มีการวิเคราะห์เชิงลึกมากขึ้น ทำให้ช่วงหลังสถานการณ์ก็เริ่มคลี่คลายลง”

 

จำนวนนักท่องเที่ยวเคยดิ่งลงไปขนาดไหน

“เรียกว่าหายไปเกินครึ่ง ลดฮวบเลย แถมหายไปนานหลายปี แต่ท้ายสุดก็กลับมา ตั้งแต่ปี 2558 จำนวนนักท่องเที่ยวของ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ไม่เคยต่ำกว่า 1.5 ล้านคน  แหล่งท่องเที่ยวที่ยังได้รับความนิยมหลักๆ คือ เบตง ยะลา รองลงมาคือ  สุไหงโกลก นราธิวาส และ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว  ปัตตานี”

นักท่องเที่ยวต่างชาติมีมากน้อยแค่ไหน

“ถ้าจะแยกกลุ่ม นักท่องเที่ยวต่างชาติ จะมีมากอยู่ในเมืองท่องเที่ยว อย่างเบตง สุไหงโกลก ส่วนปัตตานีจะเป็นคนไทยเป็นหลัก ทั้งกลุ่มประชุมสัมมนา  ทัวร์เชิงวัฒนธรรมไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เดิมทีพื้นที่ยะลากับนราธิวาส สัดส่วนของนักท่องเที่ยวไทยกับมาเลเซีย จะอยู่ที่  30:70 ยะลา แต่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เรารุกตลาดในประเทศ ทำให้สัดส่วนของนักท่องเที่ยวไทยเพิ่มเป็น 40 สอดคล้องกับค่าเงินริงกิตที่อ่อนตัวลง  เป็นการชดเชยการสูญเสียรายได้อีกทางหนึ่ง และในปีที่ผ่านมาก็ยังคงที่ตัวเลขมากกว่า 1.5 ล้าน  มีแนวโน้มกระเตื้องทุกปี  ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตัวเลขยังไม่เคยลด เพิ่มขึ้นราว 2-3% ต่อปี  ไม่หวือหวามากนัก”

จะกระตุ้นนักท่องเที่ยวในประเทศอย่างไร

เราคุยกับผู้ประกอบการว่า เราจะรอแค่นักท่องเที่ยวมาเลเซียอย่างเดียวไม่ได้ ต้องหารายได้เข้ามาเสริม และเราก็ไม่น่าจะหลงลืมนักท่องเที่ยวชาวไทย ซึ่งเป็นกลุ่มเดิมของเรา แต่เขาเหล่านั้นยังมีความกังวล ในเรื่องของสถานการณ์จากข่าวต่างๆ ทำให้ชะลอการตัดสินใจในการเดินทาง แล้วจะทำยังไงนักท่องเที่ยวชาวไทยมั่นใจในการเดินทางมากขึ้น จึงต้องคุยกับหลายๆ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งชุมชนด้านการท่องเที่ยว ทำแผนตลาดให้เป็นทิศทางเดียวกัน ถ้าต่างคนต่างทำ มันก็สะเปะสะปะ เดินไปได้ช้า จึงต้องทำตลาดแบบเชิงรุก มีการทดสอบตลาดร่วมกับพันธมิตรท่องเที่ยว ทั้งบริษัทนำเที่ยว สมาคม ชมรมต่างๆ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เข้ามาส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่”

ต้องมีการสนับสนุนอะไรเป็นพิเศษหรือไม่

“เรามุ่งเน้นการนำเสนอวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ตามพฤติกรรมของแต่กลุ่มเป้าหมาย พยายามที่จะช่วยสนับสนุน การจัดแพ็กเกจลงมา เช่น นักท่องเที่ยวเข้ามาพื้นที่แล้ว ททท. จะมีการจัดเลี้ยงต้อนรับ ที่พัก 1 คืน อาหารต้อนรับ 1 มื้อ เพื่อลดทอนในส่วนของราคาแพ็กเกจ  สมมุติว่าทัวร์จากกรุงเทพขายทัวร์มา 3 จังหวัด ในราคา 10,000 บาท เมื่อ ททท. เข้าไปดูแลบางส่วน ต้นทุนของบริษัททัวร์ก็ลดลง ทำให้ราคาขายลดลงเป็น 8,000 บาท เมื่อมีราคาที่รับได้ ทำให้มันน่าสนใจมากขึ้น”

กระตุ้นการเติบโตของรายได้อย่างไร

“ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา สัดส่วนรายได้จะมากกว่าปริมาณนักท่องเที่ยว เพราะเราหันมาเน้นกลุ่มคุณภาพมากขึ้น เพิ่มเรื่องระยะเวลาพำนัก เพื่อเพิ่มการใช้จ่ายต่อทริปต่อหัวต่อคน  เราพยายามที่จะหานักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีกำลังซื้อสูง ททท. วิเคราะห์พบว่า กลุ่มที่มีศักยภาพ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ   กลุ่ม GEN Y กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้หญิงโสด แต่ต้องมาดูว่า พื้นที่รับผิดชอบของเราว่าเหมาะกับกลุ่มไหน  ก็คงต้องเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวสูงวัย และ GEN X ซึ่งเข้ามาเยอะ ส่วนแนวโน้มที่เติบโตดีคือ GEN Y เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์ ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวกึ่งผจญภัย ล่องแก่ง ชมทะเลหมอก ปีนผา ส่วนใหญ่หลักๆ จะเป็นเบตง”

ปัตตานีเหมาะกับกลุ่มไหน

“ปัตตานี จะเน้นไปที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ความเชื่อความศรัทธา เราจะเห็นว่า กรุ้ปทัวร์เริ่มเข้ามามากขึ้น ขณะที่กลุ่ม ที่มาเองก็มีเหมือนกัน แต่ที่เดินทางเอง จะมีพฤติกรรมและวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมือนกัน อาจจะสะพายแบ็คแพ็คมา เดินป่า ล่องแก่ง มุ่งตรงไปในสิ่งที่เขาชอบ แต่กลุ่มทัวร์ หรือกลุ่มสูงวัย ต้องมีคนคอยดูแล อำนวยความสะดวก ที่น่าสนใจคือ เป็นกลุ่มที่ไม่มีเงื่อนไข มาเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องลางานของสูงวัยมาเที่ยวไม่มีเงื่อนไข  มีรายได้กำลังใช้จ่าย”

 

หนักใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ

“ในการทำงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้วัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไป ความเปราะบางของชุมชนก็ดี ประชาชนในพื้นที่ก็ดี เราต้องทำงานภายใต้ความกดดัน ภายใต้ความเปราะบางต่างๆ  เป็นความหนักใจว่าเราจะทำอะไรบุ่มบ่ามไม่ได้ ต้องคิดเยอะ ต้องมีวิธีการวางแผนที่ดี มีแผนสองแผนสามเข้ามารองรับ ทำอะไรต้องรอบคอบมากขึ้น วิเคราะห์แนวโน้มให้มันใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด”

เรื่องการท่องเที่ยวกับชุมชนวิถีไทย

“ที่นี่ค่อนข้างเติบโตช้ากว่าที่อื่น เพราะเป็นเรื่องใหม่  โดยปกติแล้ว ชาวบ้านจะประกอบอาชีพ ทำไร่นาสวนเป็นหลัก ไม่ค่อยมีใครได้จับเรื่องการท่องเที่ยว เขาจะมองไม่ออกว่า สิ่งที่เขาเป็นอยู่มีเอกลักษณ์น่าสนใจ เขามองท่องเที่ยวเป็นเรื่องไกลตัว  เราต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ให้รู้ว่าเขากับการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของกัน”

การโปรโมทวิถีชุมชนท่องเที่ยววิถีไทย

“เราจะถามความสมัครใจไปยังชุมชนก่อน ใน 3 จังหวัด มีชุมชนการท่องเที่ยวรวม 30 แห่ง เป็นชุมชนที่อยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐานของสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งเป็นหน่วยงานพัฒนาต้นน้ำ จะต้องดูว่าชุมชนแต่ละที่มีความเข้มแข็งมากน้อยแค่ไหน ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเข้าไป เราเข้าไปคุย  ไปดู  ไปทดสอบสินค้าและบริการ ให้ชุมชนเขาวัดตัวเองว่า มีจุดแข็งจุดด้อยตรงไหน จะพัฒนาเรื่องอะไร แล้วเราค่อยเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงไปช่วยให้ความคิดเห็น

ยกตัวอย่างชุมชนที่หนึ่งในนราธิวาส เขามาคุยเลยว่า ถ้าจะเอานักท่องเที่ยวเข้ามา ผมรับได้ไม่เยอะนะ จำนวนจำกัดต่อครั้ง ไม่เกิน 40 คน เราถามว่าทำไม เขาบอกเลยว่า พื้นที่ไม่พร้อม เช่น ห้องน้ำ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน  เขายังไม่ทัดเทียมที่อื่น กลัวว่ามาใช้บริการแล้วเกิดอุปสรรค มันก็จะไม่โอเค เราเห็นว่าเขารู้จุดอ่อนจุดแข็ง ก็มาคุยกัน ไม่ใช่ว่าอยากเอานักท่องเที่ยวไปที่ไหนแล้วพาไปเลย ต้องดูขีดความสามารถของชุมชน โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชนด้วย”

ทราบมาว่ายังมีอะไรที่น่าสนใจอีกมาก

“ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกมาก  ใครที่ชื่นชอบแหล่งท่องเที่ยวที่ยังไม่ถูกปรุงแต่งให้มาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้   พูดกันจริงๆ จุดชมทะเลหมอกยังมีอีกเป็นร้อยแห่ง แต่เราค่อยๆ เอาออกมานำเสนอ ไม่เปิดตัวทีเดียวทั้งหมด ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ มีแนวสันเขาเยอะ จุดชมวิวมีเยอะมาก เราอยู่กับธรรมชาติทั้ง ภูเขาและทะเล ทางฝั่งทะเลอ่าวไทย ยาวตั้งแต่ปัตตานีไปถึง นราธิวาส มีหลายช่วงหลายตอนมาก ปัตตานีมีเกาะจุดดำน้ำที่เกาะโลซิน   สวยงามมาก แต่จะรู้จักในหมู่นักดำน้ำเท่านั้น”

 

 

รู้สึกไหมว่าเราได้โจทย์ยาก

“ก็มีความรู้สึกนะ แต่มองว่ามันเป็นสิ่งที่ท้าทายที่เราอยากทำมันให้ได้ ก็เลยอยู่มาตลอด ก่อนหน้านี้สามารถจะย้ายได้ ก็ไม่คิดจะย้ายไปไหน มันคือความผูกพัน มันเหมือนบ้านของเราไปแล้ว”

เป็นความคิด จากความผูกพัน ซึ่งผู้ที่ไม่ได้สัมผัสก็ไม่อาจเข้าใจได้ ในวันที่หลายคนบอกว่า ไม่กล้าไปเที่ยวสามจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ต้องมาชวน ไม่ไปแน่ๆ แต่เธอคนนี้ ยังอยู่กับทีมงานและคนในพื้นที่ในทุกๆ วัน เสมือนบ้านของตัวเอง

 

 

 

 

 

Post a comment

9 − nine =