เล่า ลำดับที่ ๒ : สารคดีภาพถ่าย “ ก่อนหมดสิ้น .. สับขาลาย”
โดย : ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ
“ หากไม่เปิดเปลือยจะไม่รู้ว่ามีความงามใดซ่อนอยู่ ..
หากไม่สังเกตุอาจหลงเข้าใจว่าบุรุษนุ่งเตี่ยวยืนกลางลำธารใสเย็น .. ”
ผม เดินทางมาที่ “อมก๋อย” อำเภอริมสุดด้านใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ด้วย “ความเชื่อ”
จากพื้นราบ สู่เส้นทางคดโค้ง หลายสิบยอดดอย หลายสิบหย่อมชุมชน ของชาวกระเหรี่ยงทั้ง 2 กลุ่ม ที่ตั้งถิ่นฐานมายาวนาน
หวังทำความเข้าใจ ใน “คติความเชื่อ” ใน “ราก” ทางความคิด ใน “ศิลปะเฉพาะ” ที่กำลังจะสาบสูญในอีกไม่กี่สิบปี..
ในอดีตทุกชุมชนในกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยง บุรุษเมื่อย่างเข้าสู่วัยฉกรรจ์ ล้วนอยากเป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดลวดลายโบราณที่มีแบบแผนคล้ายคลึง
แต่ต้องอดทนต่อความเจ็บปวดที่อาจต้องแลกด้วยชีวิต จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในทุกสิบคนจะมีคนเสียชีวิตสองถึงสามคนเสมอ
แต่คนส่วนใหญ่ถือว่าคุ้มค่า เป็นความภาคภูมิใจที่จะปรากฏอยู่บนเรือนร่างและคงอยู่ตราบลมหายใจสุดท้ายของชีวิต
สิ่งนี้คือความงามรูปแบบเฉพาะที่ถือเป็นตัวแทน ของศิลปะของชายชาวกระเหรี่ยง เราเรียกสิ่งนี้ว่า “หมึกขาลาย” หรือ “การสับขาลาย”
“หมึกขาลาย” หรือ “การสับขาลาย” คือ การสักจากใต้หัวเข่าขึ้นมาจนถึงบริเวณเอวเหนือสะดือ ขาทั้งสองข้างมีกรอบสีเหลี่ยมหรือกรอบวงกลม
เว้นช่องว่างให้เห็นเนื้อหนังบางส่วนภายใน เป็นภาพสัตว์ต่างๆ หมึกดำทึบที่ใช้ มีส่วนผสมจากดีของสัตว์หลายชนิดผสมร่วมกับว่าน
ปัจจุบัน ความภาคภูมิใจเหล่านี้ กลายเป็นเพียงสิ่งตกค้างจากวันเวลา ชาวกระเหรี่ยงอายุน้อยกว่า50ปี ในพื้นที่อำเภออมก๋อย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่
กว่า80% คือชาวกระเหรี่ยงโป และกระเหรี่ยงสะกอ แทบไม่ปรากฏคนที่สับขาลายอีกแล้ว จึงเป็นจุดเริ่มต้น เป็นแรงบันดาลใจ ให้สร้างสรรค์
การบันทึกภาพประวัติศาสตร์ของศิลปะบนเรือนร่าง ในชื่อผลงานภาพถ่ายสารคดี “ ก่อนหมดสิ้น .. สับขาลาย”
ผลงานภาพถ่ายชุด นี้ ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 – รางวัล Popular Vote
“ 10 ภาพเล่าเรื่อง ” season 6 National Geographic Thailand Photography Contest 2016
แขกรับเชิญ รายการ แกะกล้า ตอนสักขาลายอัตลักษณ์ใกล้สาบสูญ ช่อง Amarin TV เสาร์ที่26มีนาคม 2559
ชมรายการสัมภาษณ์ ย้อนหลัง ทาง https://youtu.be/yyCtqI5ojWc
ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ : คนทำงานศิลปะ พิธีกร นักเขียน นักเดินทาง และ นักบันทึกภาพ
พื้นฐานที่เกิดจากการเรียนศิลปะ ความหลงใหลการเดินทางเพื่อทำสารคดีที่เกิดจากความอยากรู้
การเห็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง ”ปู่ม่าน–ย่าม่าน”ที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน เกิดคำถาม .. ปัจจุบัน
ยังหลงเหลือ “สักขาลาย” อยู่ไหม จึงตั้งปณิธานเล็กๆ ในการออกเดินทาง 3 ปี ทั่วประเทศ หวังที่จะ
บันทึกเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์เฉพาะของการสักบนเรือนร่าง ก่อนจะสาบสูญ .. ในยุคสมัยเรา
I FB – ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ I charnpichit.jumbo@gmail.com