วิเวียน เวสต์วูด “นักคิดทางแฟชั่น” กับ “The First Exhibition”
Vivienne Westwood จัดงานเปิดตัว “The First Exhibition” ครั้งแรกในประเทศไทย รวมไปถึงเปิดตัวคอลเลคชั่นใหม่ล่าสุด ANGLOMANIA Spring/Summer 2018 โดยได้สาว Influencer สุดจี๊ดอย่าง นท พนายางกูร มาเป็นแม่งานรวมถึงเป็น Curator ของงานในครั้งนี้
ทั้งนี้ นท และ Influencers ชั้นนำของเมืองไทย อย่างเช่น Pearypie โทนี่ รากแก่น หลิน- มชณต สุวรรณมาศ ยิปโซ-อริย์กันตา มหาพฤกษ์พงศ์ และ เอลิค ตูบัว มาร่วมเปิดงาน พร้อมเล่าเรื่องราวผลงานชิ้นพิเศษ ที่ได้ทำตามคอนเซ็ปรักโลกซึ่งตรงกับแมสเสจหลักของคอลเลคชั่นใหม่ล่าสุด ที่รณรงค์เรื่องการงดใช้ถุงพลาสติก นอกเหนือจากนี้ลายพิมพ์บนเสื้อคำว่า “ขอขอบคุณ” ยังถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องในคอลเลคชั่น ซึ่งป้าวิเวียนได้รับแรงบันดาลใจหลัก ครั้งที่ได้มาเที่ยวทะเลที่เมืองไทย
ชม Vivienne Westwood The First Exhibition ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2561 ชั้น 2 โซน THAI THAI เซ็นทรัลชิดลม
วิเวียน เวสต์วูด เกิด 8 เมษายน ค.ศ. 1941 ที่เมืองกลอสสอปเดล มณฑลดาร์บีเชียร์ เป็นดีไซเนอร์ชาวอังกฤษในแนวพังค์ร็อกและนิวเวฟ ผู้ทรงอิทธิพลในวงการแฟชั่นระดับโลก นับตั้งแต่ยุค 70 ในช่วงของยุค “พังค์” เสื้อผ้าของเธอถูกสวมใส่โดยวงดนตรีพังค์ร็อกเซ็กซ์ พิสทอลส์ ที่โด่งดังที่สุดในยุค 70 มาจนถึงปัจจุบัน รายได้การขายเสื้อผ้าที่เธอดีไซน์ให้ลูกค้าผู้ดีมากกว่า 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 1998
วิเวียนได้รับรางวัล British Designer ในปี 1990 ปี 1992 ได้รับรางวัล OBE สำหรับความกระตือรือร้นในแฟชั่น ปี 1998 รับรางวัลจากราชินีอังกฤษสำหรับยอดการส่งออกที่มากที่สุดในรอบปี และในปี 2003 วิเวียน็เป็นที่รู้จักในนามของ Designer of the year
เธอได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ท่านผู้หญิง (Dame) จากราชสำนักอังกฤษตอบแทนการเป็นดีไซเนอร์ที่สร้างชื่อให้ประเทศ
วงการแฟชั่นยกย่องวิเวียนเป็น “นักคิดทางแฟชั่น” กระนั้นเสื้อผ้าของวิเวียนหลายชิ้นถูกวิจารณ์ว่า “ใส่จริงไม่ได้” ทั้งความแปลกของวัสดุ ลวดลาย สัดส่วนโครงสร้างและแพตเทิร์นการตัดเย็บ แต่เธอมีมุมมองว่า “เสื้อผ้าของฉันอาจดูนอกลู่นอกทาง เพียงเพราะผู้คนไม่ได้คาดคิด แต่สิ่งที่ฉันทำก็เพื่อประณามความจืดชืดและความน่าเบื่อของแฟชั่นธรรมดาเหล่านั้น”
วิเวียนนำภูมิปัญญาแฟชั่นดั้งเดิมมาใช้ เป็นเสมือน “กล้องส่องย้อนอดีตแห่งแฟชั่น” วิเวียนยังสนใจการทำเสื้อผ้าเข้ารูป ด้วยเชื่อว่า “เสื้อผ้าคือการเปลี่ยนรูปทรงของร่างกาย” เธอใช้เทคนิคเพิ่ม ลด ตัดเฉือน เพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงทางสรีระผู้สวมใส่ ให้ดูดีแบบอุดมคติ และทำให้สิ่งที่เธอคิดว่า ควรจะเป็นส่วนที่ดึงดูดใจที่สุด คือใบหน้าโดดเด่น
ที่มา : วิกิพีเดีย