Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

กล้อง, สถานที่, เสียง, แสงไฟ และตัวเรา กับ 5 เทคนิคง่ายๆ ไลฟ์ให้ยอดวิวกระจาย

“ไลฟ์” กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของชีวิตวิถีดิจิตัล โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ชื่นชอบการการถ่ายทอดสด หรือจะพูดให้ฟังดูคุ้นหูในภาษาวัยรุ่นคือการไลฟ์ (Live)” โดยเฉพาะการไลฟ์ผ่านกล้องดิจิทัลกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ดารา เซเลป บล็อกเกอร์ชื่อดัง ไปจนถึงชาวโซเชี่ยลธรรมดาอย่างเราๆ เพราะเป็นมากกว่าการสื่อสารทั่วไป เห็นทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียง อารมณ์ต่างๆ หลายคนจึงใช้การไลฟ์มาเป็นเครื่องมือในการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ ขายของ โชว์ความสามารถ หรือแม้กระทั้งการออกมาระบายความรู้สึกส่วนตัว แต่จะไลฟ์อย่างไรให้มียอดผู้ชม (Viewer) เข้ามาดูเป็นจำนวนมาก? เป็นสิ่งที่นักไลฟ์มือใหม่ต้องรู้

หาวต่อวงศ์ ซาลวาลาช่างภาพระดับท็อปคลาสของเมืองไทยแนะนำ 5 เทคนิคง่ายๆ สำหรับการไลฟ์ให้มีคนติดตามชมในงานดิ แอดวานซ์เซด ออฟ พรีเมียม เอ็กซ์พีเรียนซ์ เวิร์คช็อป” (The Advanced of Premium Experience Workshop) กิจกรรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่จัดขึ้นโดย บิ๊ก คาเมร่า

หาวต่อวงศ์ ซาลวาลา เล่าว่า การไลฟ์หลายคนอาจมองเป็นเรื่องง่ายซึ่งใครก็สามารถทำได้เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนและสัญญาณอินเตอร์เน็ต แต่หากมองกันแบบระดับมืออาชีพจะพบข้อแต่ต่างกันที่มีมากอยู่พอสมควร ทั้งเนื้อหา เรื่องราว และภาพที่ถูกถ่ายทอดออกไป ซึ่งจะมีคุณภาพเทียบเท่ารายการโทรทัศน์ดีๆ หนึ่งรายการเลยก็ว่าได้ เพราะในความเป็นจริงแล้วการไลฟ์ถือเป็นศิลปะการสื่อสารอีกแขนงหนึ่ง ที่ต้องอาศัยทักษะ อุปกรณ์ และองค์ประกอบต่างๆ ผสมผสานเข้าด้วยกัน

อันดับแรก กล้องดิจิทัล เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญเพื่อให้ไฟล์ที่ถ่ายทอดออกไปมีคุณภาพดี ซึ่งวิธีการเลือกซื้อกล้องดิจิทัลเพื่อการไลฟ์ต้องเลือกแบบที่มีโหมด Clean HDMI เพราะจะสามารถลบไอคอนเมนูตัวหนังสือต่างๆ ที่ปรากฏบนจอหลังกล้องให้เหลือเพียงแค่ภาพที่ต้องการถ่ายทอดได้ ส่วนเคล็ดลับที่ทำให้ภาพออกมาดูคมชัด คือการตั้งค่าขนาดของไฟล์ โดยเลือกคุณภาพไฟล์ที่ขนาด 720 HD ก็พอ ไม่ต้องตั้งสูงถึง 4K เพราะจะทำให้ภาพกระตุกเนื่องจากประเทศไทยสัญญาณอินเตอร์เน็ตยังไม่รองรับการไลฟ์ด้วยภาพระดับ 4K เท่าไรนัก เลือกใช้โหมดแบบ Manual โดยตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/50 สุดท้ายคือการตั้งค่า White Balance ควรตั้งแบบ Kelvin เลือกสีโทนของภาพตามใจชอบห้ามตั้งแบบออโต้เพราะจะทำให้กล้องจับสีภาพออกมาเพี้ยน

อีกหนึ่งเคล็ดลับคือการตั้งกล้องเวลาไลฟ์ควรตั้งมุมฉากขนาดกับพื้น ไม่ควรใช้มุมก้มหรือเงย เพราะจะทำให้ภาพออกมาไม่สวย สังเกตง่ายๆ คือ เส้นฉากหลัง อาทิ รูปภาพ เสา ต้องเป็นเส้นตรง และสำหรับเล่าบล็อกเกอร์สายเชฟที่ชอบไลฟ์การทำขนมหรืออาหาร จำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้กล้องดิจิทัล 2 ตัวโดยกล้องตัวแรกใช้จับภาพใบหน้าของผู้ไลฟ์พูดคุยให้ข้อมูลต่างๆส่วนกล้องตัวที่สองจับภาพมือขณะปรุงอาหารเพราะหากใช้กล้องตัวเดียวถ่ายภาพสลับไปมาจะทำให้ผู้ชมเวียนหัวได้

ต่อมาคือเรื่องสถานที่ไม่ควรเปลี่ยนไปมา เพราะจะทำให้ยากต่อการควบคุมเสียงรบกวน  การจัดแสง และการตกแต่ง ส่วนขนาดพื้นที่นั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของการไลฟ์ อาทิ การไลฟ์ในลักษะพูดคุย หรือการไลฟ์เพื่อรีวิวสิ่งของ อาจจะใช้สถานที่ไม่ใหญ่มาก เป็นบริเวณริมหน้าต่างของห้องนั่งเล่นหรือห้องทำงานเพื่อให้ได้แสงจากธรรมชาติเข้ามาช่วย แต่หากเป็นการไลฟ์เพื่อสอนเต้นหรือออกกำลังกาย จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่และใช้ไฟจำนวนมาก เพื่อให้เห็นรายละเอียดของท่าเต้นได้ง่าย เทคนิคคือ เลือกห้องที่มีบานประตูหรือหน้าต่างขนาดใหญ่ เวลาเต้นให้หันหน้าออกมาทางประตูหรือหน้าต่าง เพื่อรับแสงจากธรรมชาติลดการใช้ไฟฟ้า

เสียง จัดเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญสำหรับการไลฟ์ โดยจะแบ่งเสียงออกเป็น 2 แบบ คือ เสียงรบกวน เช่น เสียงรถ เสียงแอร์ เสียงพัดลม ซึ่งเป็นเสียงที่ต้องหาวิธีกำจัดออกไปก่อนการไลฟ์ โดยอาจจะเริ่มจากการเลือกห้องไลฟ์ที่ไม่ติดถนน การปรับลมแอร์ให้เบาลง เป็นต้น ต่อมาคือ เสียงพูด เพื่อให้เกิดเสียงที่คมชัดในการสื่อสาร จึงต้องใช้ไมโครโฟนเข้ามาเป็นตัวช่วย โดยเฉพาะการไลฟ์โชว์การร้องเพลง เล่นดนตรี ซึ่งปัจจุบันไมโครโฟนมีให้เลือกหลายแบบขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่แนะนำให้เลือกเป็นไมโครโฟนประเภท USB Microphone เพราะจะใช้งานง่าย ให้เสียงดี และลดเสียงรบกวนรอบข้าง

ส่วนนักไลฟ์ที่สอนเรื่องการแต่งหน้าหรือคนที่ชอบไฟล์ตอนกลางคืน แสงไฟ คือผู้ช่วยชั้นเยี่ยม นอกเหนือจากแสงธรรมชาติ เพราะจะทำให้ภาพออกมาคมชัดเห็นรายละเอียด สีสัน ที่ชัดเจน  ซึ่งแสงไฟที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่ คือ แสงหลักสำหรับช่วยเพิ่มความสว่าง อาจใช้เป็น LED Board ที่สามารถปรับเพิ่มลดความเข้มของแสงได้ และแสงรองสำหรับช่วยลดเงาสะท้อนอาจใช้เป็นพื้นหลังที่เป็นสีขาว อย่างผ้าม่านหรือกำแพงทาสีขาว เข้ามารับการสะท้อนจากแสงหลัก แทนแสงไฟก็ได้เช่นกัน

สุดท้ายคือ ตัวเรา ไลฟ์จะปังหรือจะแป๊ก ก็ขึ้นอยู่ที่ตัวเราเป็นสำคัญ ซึ่งเคล็ดลับการเตรียมตัวแบบง่ายๆ คือ ต้องเตรียมเนื้อหาให้ดี เลือกนำเสนอจากสิ่งที่รัก สนใจ ถนัด และมีประโยชน์ต่อผู้ชม เพื่อให้สามารถเล่าเป็นเรื่องราวได้ ส่วนการพูดต้องมีความต่อเนื่อง พูดได้เรื่อยๆ ไม่ให้มีภาวะเงียบ (Dead Air) และต้องมีการพูดโต้ตอบกับผู้ชมเสมอ และความถี่ของการไลฟ์ ถ้าเริ่มต้นควรไลฟ์ทุกวันหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ  1-2 ครั้ง เพื่อเป็นการฝึกฝนตนเอง

นอกจากการสอนภาคทฤษฎีแล้ว กิจกรรมเวิร์คช็อปในครั้งนี้ยังให้นักไลฟ์มือใหม่ได้ลงมือปฎิบัติกับการไลฟ์สดมินิคอนเสิร์ตสุดเอ็กซ์คลูซีฟจาก ฮาร์ทสุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล ที่มาร่วมมอบบทเพลงอันไพเราะพร้อมเสียงกีต้าร์นุ่มๆ ให้นักไลฟ์ได้โชว์ฝีมือการไลฟ์กันอย่างเต็มที่ โดยมี หาวต่อวงศ์ ซาลวาลาคอยเป็นโค้ชกำกับและให้ความรู้อย่างใกล้ชิด

สำหรับใครที่อยากจะเป็นนักไลฟ์ลองนำวิธีเหล่านี้ไปพัฒนาตัวเองได้ หรือถ้าใครอยากได้เคล็ดลับดีๆ เรื่องการถ่ายรูป สามารถเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปสุดเอ็กคลูซีฟเช่นนี้ได้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจัดขึ้นโดยบิ๊ก คาเมร่า สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บิ๊ก คาเมร่า (BIG CAMERA) ทั้ง 230 สาขาทั่วประเทศไทย

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.bigcamera.co.th, Facebook : BIGCAMERACLUB, Instagram : BIGCAMERA_CLUB, Youtube : BIGCameraTV

Post a comment

twenty + 14 =