ตามรอยพ่อ ไปทำนาขาวัง หนึ่งเดียวในลุ่มน้ำบางปะกง
นอกจาก “นาปรัง” และ “นาปี” ที่บ่งบอกฤดูกาลและลักษณะของการปลูกข้าวแล้ว หลายคนแทบไม่รู้จัก และอาจจะไม่เคยได้ยินเรื่องของการทำ “นาขาวัง” มาก่อน แต่หากใครที่เคยรู้เคยเห็นว่า บนเกาะกลางทะเล หรือ พื้นที่ติดทะเล ก็สามารถทำนาได้ เรื่องของ “นาขาวัง” ก็อาจจะอยู่ในทำนองที่คล้ายคลึงกัน เพราะการทำ “นาขาวัง” เป็นรูปแบบการทำนาในระบบนิเวศ 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เรียนรู้กลไกธรรมชาติของน้ำขึ้น น้ำลง เมื่อถึงหน้าฝนมีน้ำมีท่าก็ทำนาตามปกติ ส่วนในฤดูแล้งก็จะปล่อยน้ำเค็มให้ไหลเข้ามาในนาเพื่อเลี้ยงกุ้ง หอย ปู ปลา ส่วนคำว่า “ขาวัง” คือ ลุ่มน้ำบางปะกง เป็นภูมิปัญญาในการจัดการน้ำของชาวนา สำหรับการทำนาขาวัง อาจจะไม่รู้จักกันเป็นที่แพร่หลายมากนัก เพราะปัจจุบันเหลือพื้นที่ทำนาขาวังเพียงแค่ที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา