ครูศิลป์ของแผ่นดินสร้างสรรค์เครื่องประดับรุ่นใหม่ เพื่อสตรี “ออเจ้า” สานฝันอนุรักษ์งานศิลป์ไทย
“เครื่องลงยาสี” นับเป็นศิลปะที่นิยมใช้บนเครื่องใช้ เครื่องประดับ ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ไทย ภูมิปัญญา อันเป็นเสน่ห์ของการลงยาสี ที่มีความละเอียดอ่อน ต้องใช้ความอดทน ความเพียรในขั้นตอนการทำ ที่ไม่อาจทดแทนได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ กว่าจะได้เป็นชิ้นงานที่ขับลวดลายของโลหะได้สีสันที่สดสวยด้วยยาสีหลากสี ที่ในปัจจุบันคงเหลือช่างศิลป์มีประสบการณ์การลงยาสีแบบโบราณด้วยการใช้ความร้อน หรือที่เรียกว่าการลงยาสีร้อน เพียงไม่กี่คนในประเทศไทย [caption id="attachment_14371" align="aligncenter" width="394"] นางอัมพวัน พิชาลัย[/caption] นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT กล่าวว่า เครื่องลงยาสีโบราณเป็นงานเชิงช่างที่แสดงถึงศิลปะบนเครื่องใช้เครื่องประดับ มีความวิจิตรของลวดลายที่แต่งแต้มด้วยยาสีหลากสีสัน เป็นงานศิลปะหัตถกรรมที่มีมานับแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาสืบทอดกันมาหลายร้อยปี SACICT จึงส่งเสริม อนุรักษ์ และให้ความสำคัญกับงานศิลปะเครื่องลงยางสีโบราณนี้อย่างมาก เพื่อมิให้มรดกศิลปวัฒนธรรมของประเทศสูญหาย ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ทางการตลาดหัตถศิลป์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ตลาดหัตถศิลป์เครื่องลงยาสีโบราณของไทยเป็นที่รู้จัก ชื่นชอบ และนิยมใช้ทั้งคนไทยและนานาประเทศ [caption id="attachment_14361" align="aligncenter" width="400"] คุณแม่บุญมี