ข้าวหย่ากู๊-ข้าวปุกงา กับภูมิปัญญาน่าทึ่งจากใบตองตึง
หากย้อนไปไกล ๆ หลายสิบปีก่อน ตอนที่การโดยสารข้ามจังหวัดไม่ได้สะดวกสบายเช่นวันนี้ การได้ไปเยือนจังหวัดที่มีรากฐานทางศิลปะวัฒนธรรมที่แตกต่าง แม้จะเป็นเมืองไทยด้วยกัน ก็ดูตื่นตาตื่นใจไปเสียหมด แรกเริ่มเดิมทีก่อนที่จะมี “ถนนคนเดิน” ภาพของการเที่ยวชมตลาดของคนพื้นเมืองอยู่ในช่วงเช้า นอกจากการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่ในแต่ละจังหวัดแล้ว ตลาดเช้านี่แหละ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชุมชน ได้สัมผัสกับคนท้องถิ่น การกิน อยู่ แบบชาวบ้านจริง ๆ [caption id="attachment_26130" align="aligncenter" width="746"] ถนนคนเดินหอนาฬิกาแม่ฮ่องสอน ช่วงค่ำ ๆ จะมีการแสดงของนักเรียนนักศึกษาบริเวณทางเข้า[/caption] หลังจากมีรูปแบบ “ถนนคนเดิน” เกิดขึ้น เกิดเป็นกิจกรรมที่เพิ่มรสชาติของการท่องเที่ยวได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และถือเป็นการกระจายได้ให้กับชุมชนนอกเหนือจากการค้าขายปกติทั่วไป นอกจากพ่อค้าแม่ค้าดั้งเดิมแล้ว คนรุ่นใหม่ก็มีช่องทางในการนำเสนอสินค้าของตัวเองด้วย จนปัจจุบัน มีตลาดชุมชน ตลาดนัด ตลาดน้ำ ฯลฯ เกิดขึ้นเป็นทางเลือกอีกมาก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหนก็จะไม่ลืมนำเสนอเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการดึงดูดให้ผู้คนเข้าเที่ยวชม [caption id="attachment_26129" align="aligncenter"