Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

กระจกนางพันธุรัต Tag

คำว่า “ใจฟู” สะท้อนให้เห็นภาพความชื่นบานของหัวใจ เหมือนดอกไม้ที่ชูช่อรอรับสายฝนและแสงแดด อาการใจฟูเกิดขึ้นได้เมื่อพบเจอความรู้สึกดี ๆ เป็นพลังงานบางอย่างที่คอยกระตุ้นเรี่ยวแรงทางอารมณ์

อยากใจฟูให้ออกเดินทาง ไปค้นหาภาพความประทับใจในแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย ล่าสุดเราไปชะอำ ไปเติมความชุ่มฉ่ำให้หัวใจ เจอทะเลสดใส กับผู้คนที่เต็มไปด้วยความสุขในวันหยุดพักผ่อน จากนั้นก็เดินทางไปเที่ยวต่อในแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ รวมทั้งสถานที่ที่ยังไม่เคยไปมาก่อน (ทั้ง ๆ ที่อาจจะมีอยู่นานแล้ว)

[gallery columns="2" size="full" ids="33411,33410"] [caption id="attachment_33409" align="aligncenter" width="800"] นิติ วงษ์วิชาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเพชรบุรี[/caption]

วนอุทยานเขานางพันธุรัต มีเรื่องราวที่น่าสนใจหลากหลายแง่มุม  ทั้งในแง่ของวรรณคดีโบราณ ทั้งด้านธรณีวิทยา รวมทั้งประวัติศาสตร์อันเป็นที่มาของผืนป่าอันชุ่มเย็นในปัจจุบัน   [caption id="attachment_33350" align="aligncenter" width="800"] พัฒนพันธ์ เจือจันทร์ หัวหน้าโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพพื้นที่เขานางพันธุรัต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี[/caption] 1.ฟื้นผืนป่า ด้วยพระบารมี นับเป็นเรื่องราวที่สร้างความปลาบปลื้มให้ทุกคนเป็นอย่างมาก จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้เสด็จแปรพระราชฐานประทับที่วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี พ.ศ.2541 ในตอนนั้น ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้แม่ทัพภาคที่ 1 ฟื้นฟูบริเวณที่เกิดการถล่มของภูเขาแห่งนี้ และทำการอนุรักษ์พื้นที่ป่าให้เป็นมรดกของชาติ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงตำนานตามวรรณคดีไทย จากภูเขาหิน ที่ผ่านการใช้งานในอุตสาหกรรมจนทรุดโทรม มาสู่ผืนป่าที่ร่มเย็น ให้เราได้เข้ามาสัมผัสอย่างชื่นใจ และร่วมอนุรักษ์ไว้สืบไป 2.ตามรอยวรรณคดีโบราณ ตำนานนางพันธุรัต ชื่อของ “นางพันธุรัต”  เป็นที่คุ้นชินจากวรรณคดีเรื่อง “สังข์ทอง” เช่นเดียวกับชื่อของ “วนอุทยานเขานางพันธุรัต” ซึ่งมีที่มาจากวรรณคดีเรื่องนี้