“ข้าวแช่” ศิลปะอาหาร ฤดูกาลแห่งความตั้งใจ
“ข้าวแช่” อาจจะไม่ใช่อาหารไทยมาตั้งแต่กำเนิด แต่ก็เป็นเมนูอันบรรเจิดของคนไทยมาตั้งแต่โบราณ เป็นอาหารประจำฤดูกาลที่สร้างสีสันและความชื่นใจให้กับผู้ที่ได้สัมผัส ทั้งการมองเห็นด้วยสายตา สูดกลิ่นหอมชื่นใจ รสชาติยังไม่เหมือนอาหารชนิดไหน กินแล้วพาให้กาย-ใจเย็นขึ้น “ข้าวแช่” เป็นตำรับอาหารพื้นบ้านชาวมอญ เมนูประจำหน้าร้อน ที่เรียกตามภาษามอญว่า "เปิงด๊าดจ์" ซึ่ง "เปิง" แปลว่า "ข้าว" และ "ด๊าดจ์" แปลว่า "น้ำ" ดังนั้น "เปิงด๊าดจ์" จึงมีความหมายว่า "ข้าวน้ำ" นิยมทำขึ้นเพื่อถวายทวยเทพในเทศกาลตรุษสงกรานต์ โดยทำถวายแด่พระสงฆ์ และนำไปให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ในสมัยก่อนคนไทยและคนมอญมีการเชื่อมสัมพันธ์กัน จนเมื่อครั้งที่สตรีชาวมอญได้เข้ารับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน จึงได้ปรุงข้าวแช่เพื่อถวาย ต่อมา ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ ผู้ที่เคยทำงานห้องเครื่องต้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้นำข้าวแช่ออกมาแนะนำจนเป็นที่แพร่หลาย และมีสูตรการทำที่แตกต่างกันไปตามแบบฉบับของแต่ละคนแต่ก็ยังเค้าโครงของข้าวแช่แบบดั้งเดิมเอาไว้ วิธีการทำข้าวแช่ เต็มไปด้วยความพิถีพิถัน ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ จากการพูดคุยกับ