อัตลักษณ์ถิ่นไทยในเครื่องประดับ
อย่างที่ทราบกันดีว่า อัญมณีและเครื่องประดับเป็นสมบัติล้ำค่าที่มีประวัติศาสตร์คู่กับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน ดังนั้น จึงสิ่งที่เรียกว่า "สมบัติอันล้ำค่า" นอกเหนือจากมูลค่าแล้ว ยังหมายถึงรากเหง้าของมนุษย์ในแต่ละพื้นถิ่น ที่ได้ถ่ายทอดศิลปะ ความเชื่อ และวัฒนธรรม ส่งผ่านเครื่องประดับแต่ละชิ้น เป็น "สมบัติระดับระดับชาติ" จากภูมิปัญญาของช่างฝีมือไทย ไม่เพียงแต่การเป็นฐานการผลิตที่มีช่างฝีมือระดับมือทองอยู่มาก แต่ยังลงลึกไปถึงรากเหง้าที่แตกต่างกัน อันเป็นเสน่ห์อันลึกซึ้งของเมืองไทย [caption id="attachment_18292" align="aligncenter" width="900"] ladycrystal : พังงา[/caption] ล่าสุด meetThinks ได้เข้าชมผลงานเครื่องประดับจากการออกแบบของแต่ละท้องถิ่นในเมืองไทย ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับส่วนภูมิภาค โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ภายใต้ระยะเวลาดำเนินงานราว 2 ปี รวม 15 จังหวัด และได้นำผลงานเหล่านี้ มาจัดแสดงโชว์ในงาน Bangkok Gems