Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meetYOU

เดิมทีเรามักจะมองว่า การตั้งชื่อแบรนด์สักแบรนด์ มันต้องมีความแปลกใหม่ เรียกความสนใจ ทำให้ติดหูได้ง่าย ชื่อของสถานที่ซึ่งเคยเป็นชื่อที่ได้รับความนิยม จึงอาจจะดูเชยไปในบางมุม เช่น เพชรบุรีน้ำตาลสด ไตปลาแห้งภูเก็ต ร้านข้าวแกงปากน้ำโพธิ์ อะไรทำนองนั้น แต่เชื่อไหมว่า ความเป็นดั้งเดิมของชื่อแนวๆ นี้ ก็ทำให้การค้นหาเพื่อพบเจอได้ง่าย และกลายเป็นว่า ได้ภาพตัวแทนของพื้นที่หรือแหล่งที่มาของสินค้านั้นๆ โดยที่ไม่ต้องวุ่นวายฉายโฆษณาวนซ้ำให้เป็นที่รู้จัก เหมือนร้านอาหารเช้าในตัวเมืองใดก็ตาม หากได้ใช้ชื่อของพื้นที่นั้นๆ ก่อน ย่อมได้เปรียบ อีกทั้งยังให้ความรู้สึกถึงรากฐานอันแข็งแรง แต่เรื่องนี้อาจจะต้องตัดสินใจกันที่ปลายทางว่า แบรนด์หรือร้านนั้น สามารถใช้ความดั้งเดิมของชื่อ ที่มาของชื่อ ให้คงความขลังและเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่ [caption id="attachment_17590" align="aligncenter" width="800"] หนิง พรเพ็ญ เวทย์วัฒนะ[/caption] “หนิง พรเพ็ญ เวทย์วัฒนะ” สาวใต้ตาคมคารมชัด บอกว่า ตอนสร้างร้านติ่มซำที่กระบี่เมื่อปี 2548 เพราะอยากทำธุรกิจในกระบี่

  ย้อนกลับไป 8 มกราคม 2561  ก่อน meetthinks.com จะเริ่มต้นชีวิตของความคิดในโลกออนไลน์ 1 วัน เรามีนัดกับ “ชาติ ภิรมย์กุล” ผู้ชายใจนิ่ง แม้ขณะกำลังต่อสู้กับโรคร้าย วันนี้ ชาติ ภิรมย์กุล จากไป แต่ความคิดของเขายังคงอยู่ meetthinks ขอย้อนคืนเวลา เพื่อกลับไปหาวงสนทนาในวันนั้น เช้ามืดเสาร์นั้น วงสนทนาขนาดเล็กกับชาติ ภิรมย์กุลที่ร้านกาแฟหอมหมื่นลี้ สถานีรถไฟฟ้าไทรม้า นนทบุรี เริ่มด้วยการถามไถ่ถึงบทแรกของโรคร้าย แต่เดี๋ยวก่อน “ชาติ ภิรมย์กุล” คือใคร? บางคนอาจจะมีคำถามอยู่ในใจ ต่อคำถามถึงนิยามความเป็นตัวตนของ ชาติ ภิรมย์กุล

“ซั่วแท้” ในภาษาอีสานแปลว่า “โง่มาก” ผู้ชายคนหนึ่งได้ยินคำนี้จากปากของคุณพ่อของเขา  ในวันที่เขาอยากพลิกชีวิตการทำงานในเมือง ไปเป็นชาวสวน แต่วันนี้เขาก็นำเรื่องนี้มาเล่าให้ทุกคนได้ฟังด้วยอารมณ์ขัน หากคนเราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และสามารถหล่อเลี้ยงอยู่กับมันไปทั้งชีวิตได้สบายๆ เป็นแต่ก่อนก็คงไม่มีใครกล้าทิ้งทุกอย่างไปง่ายๆ โดยเฉพาะการพลิกจากเมืองสู่ป่า จากตึกสู่เรือกสวนไร่นา ที่ไม่เคยคุ้นมาก่อน “บอย-วิวิช พวงสวัสดิ์”  เกิดในครอบครัวข้าราชการ เคยเป็นทั้งอาจารย์  ผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงาน  ผู้จัดการในบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ เขาตัดสินใจกลับมาทำสวน ซึ่งในตอนนั้น แทบไม่มีความรู้อะไรเลย จวบจนวันนี้ 6 ปีแล้ว ที่ไร่สุขสวัสดิ์เดินทางมาถึงจุดที่ตอกย้ำแนวคิดที่ว่า ความสุข ไม่ได้เกิดเพราะเรา รวยหรือจน แต่เกิดจาก “พอใจ” หรือ “ไม่พอใจ” ต่างหาก หากย้อนไปตั้งแต่ปี 2542 ไร่สุขสวัสดิ์ เริ่มต้นจากชายผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล “สะท้าน ไชยวงษ์” พ่อตาของคุณบอย อย่าว่าแต่วิชาการด้านการเกษตรเลย คุณพ่อสะท้าน แกอ่านไม่ออก

วันที่ลืมตาดูโลก ฉันอาจจะเป็นคนหนึ่งที่ได้นอนบนเสื่อกระจูด  ป้าของฉันเรียกมันว่า “สาดจูด” ตามประสาคนใต้ที่ชอบรวบรัดตัดคำให้สั้นลง นั่นคงเป็นสิ่งแรกที่นึกถึงกระจูด แม้วันนี้เราเดินทางมาไกล และอาจจะห่างจากบ้านเกิด ห่างจากสาดจูด และห่างจากลุงป้าน้าอา แต่ความทรงจำยังไม่เคยเลือนหาย ภาพของกระจูดยังแจ่มชัด เช่นเดียวกับความผูกพันของคนในเครือญาติ เมื่อมีโอกาสตามติดชีวิตของกระจูดอีกครั้งจึงได้รู้ว่า กระจูดเองก็เดินทางไปไกลแล้วเช่นกัน กระจูดเป็นพืชตระกูลเดียวกับ “กก” จริงๆ แล้วเกิดขึ้นเป็นวัชพืชในที่น้ำขังตลอดเวลา ดังนั้นที่ที่กระจูดจะใช้ชีวิตอยู่ได้ก็ต้องเป็นแหล่งน้ำจืดที่ไม่เคยแห้งแล้ง รู้จักกันในนาม “ป่าพรุ” ซึ่งเป็นดินโคลนที่มีน้ำขังทั้งปี ดังนั้นใครที่สนใจปลูกกระจูดก็สามารถนำกระจูดไปปลูกไว้ในอ่างได้ กระจูดตามธรรมชาติของพื้นที่ในประเทศไทย มีอยู่ใน 5 จังหวัดทางภาคใต้เท่านั้น คือ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส แต่ละพื้นที่ก็มีการสานกระจูดมานาน มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์และรูปแบบของตัวเอง สำหรับกระจูดที่พัทลุง ซึ่งเราได้เดินทางไปเจอมาล่าสุด จากการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า มีเรื่องราวที่ยาวนานมา เพราะในอดีตนิยมสานเป็นเสื่อและกระสอบใส่ข้าวสารและน้ำตาลเพื่อเป็นบรรณาการมานาน ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาจนกลายเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน การเดินทางทำให้เราได้มาเจอกับ “วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี” (Varni)

ไม่ใช่เพียงแค่หน้าที่ที่ทำให้คนเรายังมีที่ยืน ที่อยู่ ที่อาศัย แต่วันนี้โลกรู้แล้วว่า ดิน คือ ที่พึ่งของคนทั้งโลก เพราะแม้แต่กองทัพยังต้องเดินด้วยท้อง ดังนั้นความมั่นคงของประเทศ ที่หลายคนมองว่าเป็นแค่เรื่องของการทหาร ก็ยังต้องพึ่งพาอาหาร ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศมีความมั่นคงสูง ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร แต่ในขณะเดียวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการเรื่องของดิน น้ำ ป่า เพราะหากใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง  อาจจะกลายเป็นการทำลายสิ่งที่มีค่าไปอย่างน่าเสียดาย หลายคนคงได้ทราบแล้วว่า ในวันดินโลก พ.ศ.2561 ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสหประชาชาติ (UN) มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันดินโลก เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชา และน้อมสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาดิน  รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดินเพื่อความมั่นคงทางอาหารโลกอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด ‘Be the solution to soil pollution’ เน้นเรื่องมลพิษทางดินซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร [caption

รู้สึกดีที่ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปถึงไหน แต่เราก็ยังมีสายตามองเห็นความงามได้เช่นเดิม สิ่งที่เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่อยากให้ลืม เกิดขึ้นหลายอย่างในปีนี้คือ “คนทำดีถือว่าเท่” และกลายเป็นแบบอย่างให้เราได้อุ่นใจอยู่เสมอ ท่ามกลางข่าวสารที่แสดงให้เห็นความน่ากลัวของคน มากขึ้นทุกวัน ที่พัทลุงเขาก็เท่ ไม่ได้เท่เพราะแคมเปญ “เที่ยวไทยเท่” อย่างเดียวหรอกนะ ได้กลับไปเยือนครั้งนี้ ได้เห็นมุมมองดีๆ จนอยากจะบอกต่อ เพราะสิ่งที่เขาทำ เกิดเป็นความดีที่เท่แท้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เราอาจจะเคยได้ยินเรื่องของการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เป็นจุดขายของแต่ละพื้นที่ สิ่งที่ทำได้ง่ายและทำได้เลยก็คือ การรวมตัวของคนในชุมชนเป็นตลาดนัดชุมชน ที่นำของดีของเด็ดของแต่ละคนมานำเสนอ เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสกันแบบที่เดียวครบ จบทุกของดีของอร่อย [caption id="attachment_17064" align="aligncenter" width="799"] เท่ตั้งแต่แรกเห็น[/caption] ที่พัทลุงเขามีตลาดใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายแห่ง ซึ่งไม่ได้มีแค่เอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่มีความเท่แท้อย่างที่เราบอกไป เริ่มต้นจาก “ตลาดป่าไผ่” ชื่อเต็มๆ ว่า “ตลาดป่าไผ่สร้างสุข” อ.ควนขนุน ห่างจากตัวเมืองพัทลุงแค่ 17 กิโลเมตร จะไม่สุขได้อย่างไร เพราะที่นี่เป็นตลาดแห่งความรักษ์ รักโลก รักสิ่งแวดล้อม ด้วยการร่วมมือร่วมใจของคนซื้อและคนขาย ตลาดป่าไผ่สร้างสุข

ถ้าชีวิตของคุณคือบริษัทหนึ่งที่จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์และเป้าหมาย เคยหรือไม่ ที่จะตั้งคำถามว่า อีก 10-20 ปีข้างหน้า “ฉันจะเป็นอย่างไร” แล้วกลยุทธ์ที่จะทำให้เดินไปถึงเป้าหมายนั้นเป็นแบบไหน “เคชม” หรือ คุณดุษศิดา ภาคาเดช คณะกรรมการผู้จัดการ ลาชูเล่ กรุ๊ป ผู้ก่อตั้งเพจ เคชม Beautypreneur เคล็ดลับธุรกิจพันล้าน บทบาทของนักธุรกิจที่ผันตัวมาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในนาม “ครูเคชม” วันนี้เธอจะมาแบ่งปันประสบการณ์ในเส้นทางธุรกิจ 20 ปีที่ผ่านมา  รวมทั้งเส้นทางสู่เป้าหมายครั้งใหม่ในระดับหมื่นล้าน จากแนวคิดที่อาจจะทำให้หลายคนได้แรงบันดาลใจและกลับมาสนุกกับการตั้งเป้าหมายให้กับชีวิตอีกครั้ง เคชม เล่าย้อนไปถึงสมัยเริ่มต้นทำธุรกิจว่า สมัยเรียนจบเคยอยากเป็นแอร์โฮสเตส เพราะอยากเดินทางท่องเที่ยว แต่เมื่อลองย้อนมองตัวเองแล้วพบว่า  ไม่ได้ชื่นชอบงานบริการสักเท่าไหร่  จนตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ชีวิตในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเป็นอย่างไร” จนได้รู้จักกับพันธมิตรทางธุรกิจชาวฝรั่งเศส ซึ่งแนะนำผลิตภัณฑ์ความงามที่มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ปัญหาของคนไทยได้ จึงตัดสินใจเริ่มทำธุรกิจ ด้วยเล็งเห็นว่า

ได้ยินเรื่องราวน่ารักจากการสนทนาของเด็กน้อยกับคุณน้า เด็กน้อย : ประเทศอะไรมีนาอยู่ตรงกลาง น้า : ปานามา เด็กน้อย : ผิด! แคนาดา ต่างหาก น้า : อ้าว แล้วปานามาไม่ถูกหรือ เด็กน้อย : มีที่ไหน ประเทศปานามา

การได้คุยกับใครสักคน เป็นความสุขหนึ่งที่สร้างความโล่งโปร่งสบายใจ แต่การได้นั่งฟังใครสักคนหนึ่ง ก็ชื่นใจไม่แพ้กัน แถมยังเปิดจินตนาการจากเรื่องเล่าได้ไม่รู้เบื่อ เพราะนี่คือ “เรื่องเล่าแห่งชาวไทลื้อ” จากแม่แสงดา สาวชาวไทลื้อ ผู้มีเรื่องราวมากมาย เป็นนิทานที่ไม่มีวันจบสิ้น กล่อมให้เราตกอยู่ในห้วงแห่งการท่องเที่ยวอย่างมีความสุข   อ.เชียงคำ จ.พะเยา คือ ประสบการณ์แห่งความสุขจากเรื่องเล่าของชาวไทลื้อที่เราได้มาสัมผัสในวันนี้ พร้อมกับความแปลกใหม่กับการสวมชุดไทลื้อออกไปท่องโลกไทลื้อในชุมชนแห่งนี้ [caption id="attachment_16634" align="aligncenter" width="900"] เช่าชุดไทลื้อมาสวมใส่ สร้างประสบการณ์ใหม่ เที่ยวชุมชนไทลื้อ[/caption] ไทลื้อ หรือ ไตลื้อ เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่างๆ ดังที่เราได้ลองแปลงร่างเป็นชาวไทลื้อวันนี้ พบว่า ชุดไทลื้อมีความเรียบง่าย แต่ก็งดงาม [caption id="attachment_16649" align="aligncenter" width="900"]

“ชาวบ้านไม่เคยรู้หรอกว่า ของบ้านๆ ที่ทำใช้กันอยู่เป็นประจำ จะไปไกลสู่สากลได้” รศ.วาสนา สายมา นักสร้างสรรค์จากโครงการ Innovative Craft Award ปี 2555 เจ้าของแบรนด์ Vassana กล่าวในช่วงหนึ่งของการเสวนา ในงานแสดงผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยในวัฒนธรรมร่วม (Cross Cultural Crafts 2018) ซึ่งเธอเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เดินทางไปแลกเปลี่ยนมุมมองการทำงานด้านการจักสานที่ไต้หวัน จนเกิดความประทับใจว่า เพียงการจักสานลายเดียว สามารถต่อยอดการใช้งานได้นับร้อย นับเป็นเส้นทางตัวอย่าง ที่เธอจะนำมาประยุกต์ใช้กับงานจักสานที่เธอได้ร่วมกับชาวบ้านต่อไป [caption id="attachment_16577" align="aligncenter" width="900"] ผลงาน "ระย้าประจำปี" ไม้แขวนจากการผสมผสานงานไทยและไต้หวัน โดย รศ.วาสนา สายมา[/caption] “สิ่งเหล่านี้คือการทำให้ชุมชนมีรายได้จริงๆ ชาวบ้านเขาคิดว่า จักสานคืองานบ้านๆ จะโกอินเตอร์ยังไง เมื่อมีโอกาสสร้างรายได้ ก็เริ่มเห็นภาพ อย่างที่สอนผู้สูงอายุในชุมชน

เป็นเรื่องจริงที่ว่า คนในระดับผู้บริหารจะไปไหนมาไหนก็ต้องสะดวกสบายสมฐานะ แต่ใช่ว่าเรื่องของการท่องเที่ยวจะจำกัดเฉพาะสถานที่หรูหรา กินหรูอยู่แพงเสมอไป เพราะยังมีอีกหลายแง่มุมให้ท่านไปสัมผัส เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และได้ประสบการณ์ใหม่ๆ พร้อมทั้งไอเดียในการพากันไปท่องเที่ยวกันแบบหมู่คณะ หรือการท่องเที่ยวกลุ่มองค์กร ซึ่งเป็นอีกเป้าหมายของการกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยให้ไปถึงชุมชน ไม่นานมานี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  ร่วมกับ พันธมิตรภาครัฐและเอกชน จัดงานเปิดตัว WE LOVE LOCAL (วี เลิฟ โลคอล) แคมเปญส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชนสำหรับกลุ่มตลาดองค์กร นำเสนอ 10 คอลเลคชั่น ชุมชนท่องเที่ยวเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มองค์กร (Corporate) ทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก 10 ซีอีโอจากองค์กรต่างๆ ร่วมเป็นพรีเซนเตอร์ CEO LOVE LOCAL (ซีอีโอ เลิฟ โลคอล) โปรโมทชุมชนทั้ง 10

ใครเคยไปญี่ปุ่น หรือเคยได้รับของฝากจากญี่ปุ่น คงทราบดีถึงความพิถีพิถันของงานบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเรียกได้ว่า แทบทุกอย่างล้วนเป็นของขวัญชิ้นพิเศษ ขนมชิ้นเล็กๆ เพียงไม่กี่ชิ้น วางเรียงในกล่องสีขาว บ้างก็มีกระดาษรองอีกชั้น ห่อหุ้มด้วยกระดาษสีสวยที่ปิดกล่องจนสนิท  หุ้มด้วยกระดาษชิ้นเล็กอีกรอบเพื่อเพิ่มความเรียบหรู  แสดงออกถึงความตั้งใจจริง เพราะชาวญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมอันละเอียดอ่อนภายใต้ความพิถีพิถันในการดำเนินชีวิต เขามองของทุกชิ้นคือความใส่ใจ เป็นเรื่องปกติที่ทำกันมาโดยไม่ได้รู้สึกว่ายากลำบากอะไร โดยมีเป้าหมายให้ผู้รับรู้สึกดี ประทับใจ และนั่นก็อาจจะทำให้แบรนด์สินค้าหรือร้านค้านั้นๆ ตราตรึงอยู่ในใจผู้บริโภค นั่นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบแพ็กเกจจิ้งในญี่ปุ่น  หลังจากที่ MeetThinks ได้พูดคุยกับ คุณฟุมิ ซาซาดะ ประธานและประธานกรรมการบริหาร บริษัท บราวิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (Bravis International) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Branding Consultant และ Branding Design เรายังได้รับทราบเรื่องราวของการออกแบบ Packaging อีกหลากหลายแง่มุม “ฟุมิ”

ไม่ว่าคุณจะมีลูกหรือไม่ จะมีหลานหรือเปล่า แต่เชื่อแน่ว่า ทุกคนคงรู้และเห็นมาบ้างไม่มากก็น้อยว่า พ่อแม่ผู้ปกครองในปัจจุบัน ตกอยู่ในภาวะจำยอม หรือ ยอมโดยดี ที่จะให้ลูกๆ อยู่กับมือถือ หากไปถามหัวใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่จริงๆ คงได้คำตอบในทำนองเดียวกันว่า ไม่อยากให้ลูกเล่นมากเกินไปหรอกนะ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ วันนี้เราได้เจอคุณแม่คนเก่ง อย่างคุณหนิง-ศรัยฉัตร กุญชร ณ อยุธยา จีระแพทย์ ในงานอีเว้นท์ด้านการท่องเที่ยว สิ่งที่สะดุดใจขณะที่คุณหนิงป้อนคำถามไปยังผู้ร่วมงานบนเวทีก็คือ การท่องเที่ยวกับลูกๆ ได้ประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งมีคำตอบที่ทำให้ต้องคิดตาม เพราะการท่องเที่ยว เป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง ที่ทำให้ครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน ให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมด้วยการลงมือทำ ไม่ใช่การรับชมผ่านมือถือ พูดง่ายๆ คือ “ได้ห่างๆ ออกจากจอบ้าง”   แล้วเราก็ได้พบกับน้องเบลล่า กุญช์จารี จีระแพทย์ ลูกสาวคนเก่งของคุณแม่หนิง และได้รู้ว่า เธอมีหนังสือคู่ใจอยู่ข้างกายอยู่เสมอ เป็นภาพที่เราไม่ค่อยได้เห็น

หากเอ่ยถึงกรุงเทพ ฯ เมืองหลวงของไทยนั้นถือเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวในความสวยงามของสถาปัตยกรรม และวิถีชุมชน จากกระแสความนิยมนี้ทำให้ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯเพื่อเที่ยวชมวัดวาอาราม และบ้านเรือนสองฝากฟั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นจำนวนมากจนทำให้กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองน่าเที่ยวของโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากโอกาสทางการตลาดนี้เองทำให้ครอบครัวคุนผลินสร้างตลาดเรือสำราญขึ้นเพื่อท่องเที่ยวชมสองฝากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพฯ โดยมี คุณเอ๋ -ภูวดี คุนผลิน  รับหน้าที่ดูแลกิจการของครอบครัวในตำแหน่ง  กรรมการผู้จัดการ เรือเจ้าพระยาครุยส์ (Chaophraya Cruise)  ในวันนี้ทีมงานมีโอกาสล่องเรือชมทิวทัศน์อันสวยงาม 2 ฝากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อนำชมธุรกิจของครอบครัวคุนผลิน     คุณภูวดี  คุนผลิน  กล่าวต้อนรับทักทายด้วยรอยยิ้มอย่างเป็นกันเอง  หลังจากเดินนำหน้าขบวนรำกองยาวที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวขึ้นสู่เรือลำสวย ณ ท่าเรือ ห้างสรรพสินค้าริเวอร์ซิตี้  เธอกล่าวถึงธุรกิจว่า การทำการตลาดธุรกิจเรือสำราญนั้นไม่ง่ายเลย ในระยะแรกต้องเริ่มจากศูนย์  โจทย์ที่เธอได้รับ คือ ต้องหาความแตกต่างของเรือเจ้าพระยาครุยส์กับเรือลำอื่นๆ  ที่วิ่งให้บริการอยู่ในขณะนั้น   เธอและคุณแม่ ดร. มาลีรัตน์ จึงต้องหาลูกค้าเอง โดยได้เดินทางไปโรดโชว์ต่างประเทศ และทำการตลาดใหม่ทั้งหมด ด้วยการประสานงานเอเยนซี่ทัวร์ต่างๆ

ความสุขของการเดินทาง เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเดินทาง ระหว่างเดินทาง ไปจนถึงการเดินทางสิ้นสุดลง และยังคงอานุภาพอีกยาวนานภายใต้สิ่งที่เรียกว่าความทรงจำ แล้วอะไรบ้าง ที่จะอยู่ในความทรงจำจากการเดินทางของคนเรา อาหาร สถานที่ ความเป็นมิตรของเจ้าบ้าน หรือ คนข้างๆ   จะมีสักครั้งไหม ที่เราจะจดจำใครอีกคนหนึ่ง เพราะการเดินทางท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ ล้วนมีองค์ประกอบต่างๆ นานา ความสะดวกสบายในการเดินทาง อาหารอร่อย ที่พักสะอาดปลอดภัย สถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม สภาพอากาศที่เอื้ออำนวย แต่ผู้ที่จะทำให้เรื่องราวเหล่านั้นกลมกล่อม ไม่ว่าสถานการณ์จะบวกลบ ก็ตลบจนเข้าที่  เขาคือ “มัคคุเทศก์” หรือ “ไกด์” ผู้ที่น้อยครั้ง จะได้รับการบันทึกไว้ในความทรงจำ และอาจจะถูกมองเมินตั้งแต่พบหน้า แต่ไม่ใช่สำหรับชายคนนี้ ไกด์ผู้ซึ่งอยู่ในความทรงจำของนักท่องเที่ยว และเป็นไกด์ที่ถูกเรียกร้องให้กลับมานำทริปในโอกาสต่อไปอยู่เสมอ [caption id="attachment_12883" align="aligncenter" width="800"] วัดเขากง นราธิวาส[/caption] ใช่แล้ว “ชายระวีร์” เขาคือไกด์ที่ลูกค้าเลือก ไม่ใช่ไกด์ที่บริษัททัวร์เลือก… “สวัสดีครับ ผมเชื่อว่าทุกท่านคงเคยเดินทางมามาก

ช่วงเวลา 25 ปีของการทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กับภารกิจสุดหิน ที่เรียกได้ว่า เป็นโจทย์ที่ยากกว่าใคร เพราะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานส่งเสริมด้านการตลาด ที่จะต้องทำให้คนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรู้กันดีว่ามีภาพลักษณ์ที่น่ากังวลเช่นไร เราเจอ คุณป้อม-มัณฑนา ภูธรารักษ์ ผอ. ททท. สำนักงานนราธิวาส ในทริป โครงการ “เก๋ายกก๊วน ชวนกันเที่ยวใต้ ประจำปี 2561”  จัดขึ้นจากความร่วมมือของ ททท. สนง.นราธิวาส  ร่วมกับ ไปไหนดี ทราเวล มูลนิธิเทพปูชนียสถาน และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนราธิวาส ได้พบเจอและพูดคุยกับผู้หญิงตัวเล็กๆ ซึ่งยินดีที่จะทำงานในพื้นที่นี้โดยไม่มีความคิดจะย้ายไปไหน มาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร “ไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ แต่ทำงานที่ ททท. สำนักงานนราธิวาส ซึ่งดูแล 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ปี

สภาศิลปินส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย มอบประกาศเกียรติคุณให้ เณอปรางค์ อารีย์กุล ศิลปินวง BNK48 ในโอกาสที่ได้รับเลือกให้เป็น “ทูตพระพุทธศาสนาวันมาฆบูชา 2561” คณะกรรมการสภาศิลปินฯ ส่วนงานบริหาร สำนักงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ คณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 และกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าได้พิจารณาว่า น.ส.เฌอปรางอารีย์กุล เป็นศิลปินเยาวชนคนรุ่นใหม่ พุทธศาสนิกชนที่มีความประพฤติดีงามไม่เสียหายด้านกฎหมายและศีลธรรม ยาเสพติด เคยเป็นเยาวชนดีเด่น สมควรประกาศเกียรติคุณอย่างเป็นทางการ เณอปรางค์ จะเข้ารับรางวัลดังกล่าวพร้อมกับศิลปินดารา อาทิ นายวงศกร ปรมัตถากร หรือ นิว, นายปฐมพงศ์ เรือนใจดี หรือ ทอย, นายณัฐกิตติ์ นันทพานิช หรือ กิต, น.ส.เกวลิน ศรีวรรณา หรือ ยีนส์, น.ส.พรชดา

End Cradit ของหนังแต่ละเรื่อง บอกเล่าถึงส่วนประกอบที่สร้างสรรค์ผลงานชิ้นหนึ่งขึ้นมา ซึ่งทุกวันนี้การทำ End Cradit ก็มีการนำเสนอที่น่าสนใจ เพื่อให้คนเบื้องหลังได้ปรากฏแก่สายตาของผู้ชมได้มากที่สุด จนกลายเป็นเสน่ห์ของหนังที่ทำให้เรายังคงนั่งชมแม้ว่าเรื่องราวจะจบไปแล้ว แล้วงานศิลปะภาพเหมือนสักชิ้นล่ะ End Cradit จะหมายถึงสิ่งใด แล้วจะแสดงอยู่ส่วนไหน เพราะสุดท้าย มีเพียงชื่อของศิลปินที่กำกับอยู่บนผลงาน เพราะคลุกคลีกับงานเบื้องหลังมานาน จึงเข้าใจถึงคุณค่าของคนเบื้องหลัง  “จื้อ-พรชัย สินนท์ภัทร” ศิลปินนักวาดภาพชั้นนำของบ้านเรา จึงตั้งใจสร้างผลงานที่แสดงถึงคุณค่าของคนเบื้องหลัง ผ่านผลงานชุด The Jigsaw of Beauty เราเจอพี่จื้อ ในงานนิทรรศการ “ลูกไม้ใต้ต้น” ที่กลุ่มศิษย์เก่าคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อเชิดชู อ.ลาวัณย์ อุปอินทร์ ศิลปินแห่งชาติผู้เป็นครูมาตลอดชีวิต โดยงานนี้ได้รวมผลงานนับ 200 ชิ้น จากศิลปินรับเชิญและคณะลูกศิษย์ จัดขึ้น ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

ปลีกเวลาคิวแน่นเอี๊ยดจาก ศิริราช และบำราศนราดูร มาตอบคำถามเรื่องรักในวาระว่าด้วยเทศกาลวาเลนไทน์ เป็นคำตอบสั้นบ้าง ยาวบ้าง แต่เหมารวมในความหมายไปจนกระทั่งแทบไม่ต้องแสดงคำถาม เป็นคำตอบแบบชาติ ภิรมย์กุล ที่มองโลกในแง่ดี มีข้อคิดแฝงอยู่เสมอ ว่าด้วยความรัก เรื่อง “ความรัก” ขอพูดเรื่องนี้ก่อนเลย บางคนหรือหลายคน ชอบพูดว่า “ความรักไม่มีในโลก” คนที่พูดแบบนี้ ฟันธงเลยนะ เขาไม่รู้จักความรักและไม่เคยรักใครจริงจัง ที่ผ่านมา รักแต่ตัวเอง ความรักเป็นสิ่งสวยงามที่ทำให้โลกนี้ น่าอยู่มากขึ้น ใครที่ขาดความรักมักจะแสดงออกในทางรุนแรง หรือในเชิงเรียกร้องความสนใจมากไป เคยอกหักมั๊ย 80 % ของผู้ชาย ย่อมต้องเคยอกหักมาก่อน อกหักเพราะไปคิดว่า ผู้หญิง ที่คบและคุยด้วย เขาชอบเรา ในอดีต ก็เคยอกหักเพราะคิดไปเองว่า เขาชอบเรา สุดท้ายก็ไม่ใช่ ความผิดหวังเรื่องความรัก เป็นเรื่องที่ดี ดีคือ ทำให้เราได้พบ เจอ คนที่ใช่และชอบ ตัวจริง จริงๆ แล้วในแง่ศาสนาพุทธ เรื่องเนื้อคู่เป็นเรื่องของชะตาชีวิตและบุญวาสนา ที่เราต้องได้มาเจอกัน ไม่มีอะไรเป็นเรื่องบังเอิญ 80 % ของผู้ชาย ย่อมต้องเคยอกหักมาก่อน หลังจากที่อกหักในตอนนั้น ทำให้ได้พบกับแฟน (แม่ของลูกในปัจจุบัน) เรา พบ เจอกันที่ต่างจังหวัด (ขอนแก่น) ตอนนั้น เราเปิดร้านขายเสื้อผ้า แฟนเราบรรจุข้าราชการที่สาสุขจังหวัด และได้เจอกันที่ขอนแก่น รู้จักกันเพราะเรียนเพาะช่างเหมือนกัน ทำความรู้จักกันแค่ 3

love Gallery ทีนี่มีรัก มิใช่เพียงแค่รักระหว่างสองเรา แต่เป็นรักไม่จำกัดขอบเขต ไร้ซึ่งข้อแม้ใดๆ บางภาพเลอะเลือน กลับแจ่มชัดในความทรงจำ บางภาพใหม่เสมอ แม้จะผุกร่อนด้วยกาลเวลา