Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meetYOU

โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) จัดงานสรุปผลความสำเร็จหลังดำเนินงานมาครบ 9 ปี เผยผลการดำเนินงานดีเกินคาด ทั้งด้านการสร้างคนมีใจ เครือข่าย และศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย หนุนแนวคิดในการนำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ 22 ลุ่มน้ำในประเทศ เกิดการรับรู้และกระแสความตื่นตัวที่ ส่งแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนเชิงนโยบาย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า “จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ที่ทรงแสดงความห่วงใยต่อปัญหาภัยแล้งและปัญหาอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2556 ด้วยความร่วมมือระหว่าง

กว่า 200 ปีที่ชาวบ้านมาบเหลาชะโอน จ.ระยอง มีวิถีชีวิตอยู่กับภูมิปัญญาการสานกระจูดหรือกก ซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นอยู่มากในละแวกใกล้เคียง จากการนำกระจูดมาสานเป็นเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กว่า 100 แบบ เพื่อตอบรับความต้องการทางตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้และความภาคภูมิใจให้กับชุมชน ขณะที่ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ยังเนรมิตรกระจูดให้ชาวบ้านได้ตัดมาสร้างสรรค์ผลงานแบบไม่มีหมด ในอดีตชาวบ้านจะนำกระจูดมาสานเป็นเครื่องใช้ภายในบ้าน  รวมทั้งสานเป็นเสื่อกระสอบสำหรับใส่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หรือเป็นภาชนะใส่เกลือ จนทำให้เป็นที่รู้จักกันมากในภาคตะวันออก กลายเป็นแหล่งรายได้ของคนในอำเภอแกลงมาจนถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาการสานกระจูดตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อทางรัฐบาลเข้ามาส่งเสริม จึงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร “กลุ่มจักสานกระจูดมาบเหลาชะโอน” ตั้งแต่ปี 2548 โดยมี “นางสุนทรี ยิ้มเยื้อน” เป็นผู้นำ ใครที่สนใจอยากช้อป อยากชม หรืออยากลองสานกระจูด ทางกลุ่มแม่บ้านพร้อมต้อนรับ ถือเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ครั้งนี้เราเข้ามาที่กลุ่มจักสานฯ ยังคงพบแม่บ้านที่เสร็จจากภารกิจอื่น ๆ มานั่งล้อมวงจักสานกระจูดเป็นรายได้เสริมและเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ ใครมาเพื่ออุดหนุนสินค้าก็จะได้รู้ได้เห็นที่มาของการจักสานกระจูด ขั้นตอนการจักสานกระจูด เริ่มหลังจากที่ชาวบ้านไปตัดกระจูดขนาดความยาวประมาณ 1-2 เมตรมาแล้ว ต้องนำมาคัดเส้น เลือกเส้นที่มีความสมบูรณ์ แล้วนำเส้นกระจูดมาคลุกกับดินนวลสีขาวที่ผสมน้ำ

 “กากัน มาลิค” นักแสดงดังผู้รับบท เจ้าชายสิทธัตถะ ในเรื่อง Sri Siddhartha Gautama เผยความเคลื่อนไหวล่าสุด เตรียมบินมาประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อเตรียมเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์   ศึกษาหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้อวัตรปฏิบัติของนักบวช และเรียนรู้วิถีสันติภายใน ณ วัดธาตุทอง พระอารามหลวง ที่ตนเคยปวารณาตนเป็นศิษย์วัดไว้ กากัน มาลิค เผยความรู้สึกในช่องทางส่วนตัวว่า “การเล่นบทบาทของ เจ้าชายสิทธัตถะ ในเรื่อง  Sri Siddhartha Gautama เปลี่ยนชีวิตและทัศนคติของเขาอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้เกิดโครงการดี ๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งเร็ว ๆ นี้จะมีอีกหลายโครงการและกิจกรรมสำหรับชาวพุทธในเมืองไทยและทั่วโลกกับชมรมไตรรัตนภูมิ โดยผมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ความสุขที่ได้รับจากการทำอะไรบางอย่าง “เพื่อเป็นการรับใช้เพื่อนมนุษย์" คือสิ่งที่กระตุ้นให้ผมใช้ชีวิตอย่างมีความหมายในทุกวันนี้” ก่อนหน้านี้ นักแสดงหนุ่ม ได้เดินทางมาเมืองไทย

ในยุคที่คาเฟ่เป็นที่ถูกใจสายโซเชียลที่นิยมปักหมุด แชะ แชร์ ในบรรยากาศเก๋ ๆ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า การทำธุรกิจร้านกาแฟไม่ได้เป็นเพียงแค่การสร้างฉากสวย ๆ ให้คนเข้ามาถ่ายรูป แน่นอนว่าองค์ประกอบของร้านเป็นจุดขายที่สามารถดึงลูกค้าให้เข้ามา  แต่ปัจจุบันท่ามกลางร้านกาแฟที่จำนวนมากพอ ๆ กับร้านสะดวกซื้อ โอกาสที่จะสร้างร้านที่ทุกคนมาแล้วก็อยากกลับมาใหม่จึงไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากแฟดีมีของกินอร่อยแล้ว ยังต้องมีอะไรอีกหรือไม่ มาแล้วได้พบอะไรใหม่ ๆ มาแล้วได้ไอเดียกลับไป  พื้นที่แห่งการสังสรรค์และสร้างสรรค์ทางความคิด เป็นอีกคำตอบที่น่าสนใจของร้านกาแฟในยุคนี้ Narisa Café & Creative Space  จึงไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ นอกจากการปลุกภาพแห่งความสุขให้ฟื้นคืนกลับมาอีกครั้งแล้ว ยังเต็มไปด้วยพลังและแรงบันดาลใจ [caption id="attachment_26383" align="aligncenter" width="800"] ดร.นริศ ชัยสูตร และ น้องฟ้า นริศา ชัยสูตร[/caption] บ้านแห่งประวัติศาสตร์และความทรงจำ ดร.นริศ ชัยสูตร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอธิบดีกรมธนารักษ์ เล่าว่า บ้านหลังนี้สร้างขึ้นจากการปรับปรุงบ้านเก่าของคุณพ่อคุณแม่

ถ้าเคยได้ยินว่า การทำอาหารต้องอาศัยความใส่ใจ หลายคนก็อาจจะเข้าใจ แต่จะลึกซึ้งมากแค่ไหนกัน จนวันนี้ได้คุยกับ ผู้สร้างแบรนด์ร้านอาหารริมน้ำที่ไม่ได้ขายแค่บรรยากาศสวย ๆ ถึงได้รู้ว่าการทำร้านอาหารดี ๆ  มันต้องมีความใส่ใจเกินคนปกติทั่วไป ฟังแล้ว

60 ปี ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านเรื่องราวที่เต็มไปด้วยบทเรียน นับตั้งแต่การประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2505  และได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ “พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่” เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 นับเป็นเวลา 17 ปี นี่คือสิ่งแรกที่สะท้อนจากโลโก้ “6017” ในโอกาสครบรอบ 60 ปีอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สื่อความหมายถึงสื่อความหมายถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติ มีกวางเป็นตัวแทนความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดงพญาเย็น และแสดงถึงการที่มนุษย์ ป่า และสัตว์ป่า ส่วนเสือในเลข 7 นั้น หมายถึง “เสือโคร่ง” นักล่าในลำดับขั้นสูงสุดของห่วงโซ่อาหารในผืนป่าแห่งนี้ [caption id="attachment_26177" align="aligncenter" width="600"] ออกแบบโดยนักออกแบบจิตอาสา โครงการอาสาสมัครรุ่นใหม่แห่งเขาใหญ่

หนังสือ  “ลีลาวดีตำนานไม้ดอกที่เคยถูกลืม” จัดพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2546 เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ปลุกกระแส “ลีลาวดี” ให้เป็นที่ฮือฮาขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านั้น “ลั่นทม” ซึ่งเป็นนามเดิมที่เคยเรียกขาน ต้องรับบทพันธุ์ไม้สุดช้ำที่ถูกหมางเมินมานานแสนนาน ในตอนนั้นการนำเสนอลีลาวดี กว่า 200 สายพันธุ์ ก็นับว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ เพราะหลายคนเมื่อเห็นดอกลีลาวดีที่ไหน ก็ตีไปว่าคล้าย ๆ กัน จะแตกต่างอยู่บ้างก็แค่สีสันเท่านั้น [caption id="attachment_26174" align="aligncenter" width="800"] ศิริพร จันทรสมบูรณ์ กับทุ่งลีลาวดีในช่วงที่ยังไม่ผลิดอกออกใบ แต่ก็สวยไปอีกแบบ[/caption] วันนี้เราได้ความรู้จากปากของผู้ที่จัดทำหนังสือเล่มนั้น ด้วยความหลงรักดอกลีลาวดีอย่างสุดหัวใจ เดินทางไปที่ไหนก็จะต้องคอยตั้งคำถามถึงความงามของลีลาวดีในแต่ละที่ จนวันนี้กว่า 300-400 สายพันธุ์ ได้รวมตัวกันอยู่ที่ “ลีลาวลัย รีสอร์ท” ที่พักอันเงียบสงบบนเขาใหญ่ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลีลาวดีระดับส่งออกไปทั่วโลก บริหารงานโดย “ศิริพร จันทรสมบูรณ์”

ธรรมชาติที่ไร้การปรุงแต่ง คือ เสน่ห์ที่แห่งชัยนาท ไม่ว่าจะเป็นทุ่งนา ฟ้ากว้าง ตลอดจนสายน้ำ อันเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ แถมยังมีเจ้าบ้านน่ารัก คอยต้อนรับเหมือนญาติมิตร ท่ามกลางดินแดนแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ชัยนาท หรือ ดินแดนแห่งชัยชนะแห่งนี้ จึงมีดีอย่างที่หลายคนไม่คาดคิดมาก่อน แต่การเที่ยวชัยนาทครั้งนี้  มีสีสันขึ้นอีกหน่อย เพราะกระแสของคนรักการออกกำลังกาย กำลังเป็นเทรนด์ของการท่องเที่ยว ไปไหนมาไหน หากได้ออกแรงแข้งขากันสักหน่อย ก็จะถือว่าเป็นผลพลอยได้ยกกำลังสอง ได้ฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจ แถมยังไม่เป็นภาระให้กับสิ่งแวดล้อม ดีต่อใจ ดีต่อโลกอย่างนี้ ถึงเวลาต้องออกไปเที่ยวกันสักที และชัยนาทก็พร้อมแล้ว สำหรับการต้อนรับสายปั่นทุกท่าน สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยนาท ร่วมกับ  หอการค้าจังหวัดชัยนาท สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท และธุรกิจภาคเอกชน จัดโครงการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว “เส้นทางปั่นสนุก Bike For Fun”  เชิญสายปั่น สายชิลล์ มาสัมผัสธรรมชาติ ประวัติศาสตร์

'ภาพที่ดีที่สุดคือภาพที่มองเห็นในความมืด พื้นที่ที่ดีที่สุดคือพื้นที่ที่ไม่รู้จุดหมาย' พกสองประโยคนี้แล้วเดินเข้าไปในโลกอันสว่างไสวในความมืดมิด กับ “XHIBITION IN THE DARK” โดย “ชูเกียรติ ลิขิตปัญญารัตน์” นิทรรศการเชิงทดลอง ที่สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้เข้าชมได้อย่างสนุกสนาน เกิดคำถามให้ฉุกคิด พบแรงบันดาลใจที่อาจจะซุกซ่อนไว้ในเบื้องลึกของแต่ละคน Xhibition in the dark เป็นนิทรรศการที่นำเสนอการทดลองของศิลปินมากกว่าการนำเสนอความเป็นงานศิลปะตามปกติธรรมดา โดยมีหลักการใหญ่ ๆ เกี่ยวกับการสำรวจความเป็นมนุษย์ ,เทคโนโลยี Big Data หรือระบบการประมวลผลแบบอัลกอริทึม (Algorithm) ที่ใช้ในเทคโนโลยีดิจิตอลในยุคปัจจุบัน, และแนวคิดเกี่ยวกับ Kinetic Space หรือพื้นที่แห่งการนำเสนอพลังงานการเคลื่อนที่ของวัตถุหรืออนุภาค, สิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้ ไม่ได้ถูกนำเสนอในพื้นที่แจ้งแสงสว่างไสวตามขนบการแสดงงานศิลปะตามปกติ หากแต่ถูกนำเสนอในพื้นที่มืดมัวสลัวแสง ดังความเชื่อของศิลปินที่ว่า  ภาพที่ดีที่สุดคือภาพที่มองเห็นในความมืด  และ พื้นที่ (Space) ที่ดีที่สุดคือพื้นที่ที่ไม่รู้จุดหมาย

เครือโรงแรมฟอร์จูนปรับทัพเดินหน้ารับการเปิดประเทศ เผยความเชื่อมั่นท่องเที่ยวไทยจะกลับมาสดใสอีกครั้ง “แกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ” เผยโฉมใหม่หลังรีโนเวทช่วงโควิด-19 ชูระบบฆ่าเชื้อไวรัสที่มีมาตรฐาน  เสริมความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว ติดตั้งเครื่องไบโอโซนโรงแรมในเครือครบทั้ง 13 แห่งในช่วงต้นปีหน้า ธุรกิจโรงแรมเป็นหนึ่งในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยสาเหตุหลักมาจากกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ตามปกติ สำหรับโรงแรมในเครือฟอร์จูน ซึ่งมีอยู่ 13 แห่งในประเทศไทย ในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา โรงแรมในเครือเปิดให้บริการตามปกติ ยกเว้น “แกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพ” ซึ่งปิดให้บริการไปช่วงหนึ่ง จึงใช้โอกาสนี้ในการปรับปรุงระบบ เช่น เปลี่ยนระบบท่อภายในอาคารที่ใช้มากว่า 30 ปี พร้อมติดตั้งระบบฆ่าเชื้อโรค  การออกแบบโฉมใหม่ของโรงแรม และการรีแบรนด์ “แกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพฯ ฟอร์จูน” เป็น “แกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ”

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตลาดระยะเวลาประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา ภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป เหลือเพียงสัดส่วนของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีข้อจำกัดในการท่องเที่ยวภายใต้มาตรการคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศ ที่พักและบริการต่าง ๆ หลายแห่ง จำต้องให้บริการแบบมีข้อจำกัด บ้างต้องเปิด ๆ ปิด ๆ และมีจำนวนไม่น้อยที่ต้องหยุดกิจการลงไปชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น พัทยาเคยเป็นเป้าหมายหลักของนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ แต่ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้กิจการส่วนใหญ่ต้องหยุดดำเนินการไป ส่วนที่ยังเปิดให้บริการได้ ต้องอาศัยการบริหารจัดการตามมาตรฐานอย่างมืออาชีพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวในยุค New Normal ที่มาตรฐานด้านความสะอาดและปลอดภัย เป็นอีกตัวแปรหลักในการตัดสินใจที่สำคัญ เรเนซองส์ พัทยา รีสอร์ท แอนด์ สปา (Renaissance Pattaya Resort & Spa) โรงแรมระดับ 5 ดาว 

ฝนที่ตกหนักในช่วงเดือนตุลาคม เกือบจะทำให้เราไม่ได้พบกับสัตว์โลกผู้น่ารักในดินแดนอันแสนอบอุ่นของพวกเขา เพราะที่นี่คือ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว” ซึ่งไม่การันตีว่า เราจะพบสัตว์ป่าบริเวณไหน เวลาใด เพราะพวกมันต่างใช้ชีวิตอันอิสระ ในอาณาจักรของตัวเอง ชัยภูมิเป็นจังหวัดที่หลายคนยังไม่เคยมาสัมผัส บ้างก็นึกภาพชัยภูมิว่าเป็นเมืองเล็ก ๆ ด้วยความเป็นเมืองรองที่ถูกขนาบด้วยเมืองใหญ่อย่างขอนแก่นและนครราชสีมา แต่ใครที่รู้จักชัยภูมิดีจะทราบว่า  นี่คืออีกหนึ่งในใจนักเดินทางที่ชื่นชอบป่าเขาลำเนาไพร ด้วยลักษณะทางกายภาพบนพื้นที่ราบสูง ที่มีป่าธรรมชาติถึง 60% จากพื้นที่ทั้งหมด มีสัตว์ป่าหายากอาศัยอยู่ ทั้งยังเป็นต้นสายของแม่น้ำชี ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย “ภูเขียว” จ.ชัยภูมิ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเพชรบูรณ์ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยสภาพป่าที่หลากหลาย โดยเฉพาะสภาพป่าดงดิบที่มีแมกไม้น้อยใหญ่ปกคลุมหนาแน่นเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีทุ่งหญ้ากระจายอยู่ในที่ราบสูง รวมทั้ง “ทุ่งกะมัง” แห่งนี้ ที่ผู้รักธรรมชาติสามารถเข้าไปชมชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ป่าภูเขียวเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ ช้าง กระทิง วัวแดง เลียงผา กวาง เก้ง เนื้อทราย เสือ หมาใน

“ต้มยำกุ้ง” เป็นอาหารไทยที่มีความครบเครื่องในหลายมิติ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในเมืองไทยต่างไม่พลาดที่จะลิ้มลองรสชาติของต้มยำกุ้ง จนกลายเป็นเมนูที่มีชื่อเสียงอยู่ในร้านอาหารไทยในหลาย ๆ ประเทศ อาหารไทย เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ และ “ต้มยำกุ้ง” ก็เป็นหนึ่งในอาหารไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ของประเทศไทย พร้อมด้วยอีกหลากหลาย อาทิ แกงเขียวหวาน แกงพุงปลา ส้มตำ ผัดไทย ข้าวยำ กระยาสารท น้ำพริก ฯลฯ คนวัยทำงาน หรือมีอายุ 30 ปีขึ้นไป ยังคงคุ้นเคยกับรายการอาหารเหล่านี้ แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ กลุ่มเด็ก หรือวัยรุ่น โดยเฉพาะคน Gen Z หรือ ผู้ที่เกิดระหว่างปี 2540-2555 ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ยังมีอาหารไทยอีกหลายรายการที่พวกเขาไม่รู้จัก และไม่เคยกินมาก่อน [caption

ใครที่มีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดที่มีมาตรการควบคุมสูงสุด โดยเฉพาะการเดินทางโดยเครื่องบิน จะพบว่าปัจจุบันยังพบขั้นตอนที่ซับซ้อน นอกจากมาตรการที่แตกต่างกันของแต่ละจังหวัดแล้ว แต่ละหน่วยงานยังมีภารกิจต่างกัน เอกสารสำคัญที่ใช้สำหรับการเดินทางยังคงแยกกันอยู่คนละที่ รวมทั้งบางจังหวัดมีแอปพลิเคชันแยกออกไปต่างหาก ภายใต้มาตรการที่เคร่งครัดในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 การเดินทางยังคงเป็นประเด็นที่อยู่ในการควบคุมอย่างเคร่งครัด สำหรับนักท่องเที่ยวไทยอาจจะต้องปรับตัวกับขั้นตอนที่ยุ่งยากขึ้น เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งต้องพบกับมาตรการควบคุมที่เคร่งครัดยิ่งกว่า โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox) เป็นโครงการนำร่องในการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาภูเก็ตแบบมีเงื่อนไข นอกจากเอกสารการรับรองการฉีดวัคซีนแล้ว ยังต้องใช้ผลการตรวจคัดกรองโควิด-19 แบบ RT-PCR เท่านั้น รวมทั้งต้องมีการทำประกันโรคโควิด-19  มีระบบติดตามตัวผ่านแอปพลิเคชันหมอชนะ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นภาระของนักท่องเที่ยว ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางเข้ามาในโครงการนี้ หลังจากการเปิดตัวโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox) หรือการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตแบบมีเงื่อนไข ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ทำให้ภาพรวมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตเริ่มมีการขยับตัว ข้อมูล ณ วันที่ 27 กันยายน 2564 ระบุว่า โครงการดังกล่าวสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 2,330

ชื่อของ “พอล วาน” (Paul Wan) อาจจะยังไม่คุ้นหูคนไทย แต่สำหรับตลาดทุน และตลาดสกุลเงินดิจิทัลของเอเชียและยุโรปแล้ว ถ้าบอกว่าเขา คือ ผู้ผลักดันความสำเร็จของเหรียญ Afin หลายๆ คนคงร้องว้าว พอล วาน เป็นนักวาณิชธนกิจและที่ปรึกษาทางการเงินชาวสิงคโปร์ ที่ประสบความสำเร็จในการนำบริษัทยักษ์ใหญ่จำนวนมากเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอีกหลายประเทศในยุโรป การควบรวมกิจการของบริษัทชั้นนำหลายแห่งในสิงคโปร์ จีน ไทย เวียดนาม อินเดีย ซาอุดิอาระเบียและยุโรป รวมทั้งเป็นผู้มีประสบการณ์มากมายด้านการตรวจสอบบัญชี โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของเครือข่ายผู้ตรวจสอบบัญชีระดับโลก Morison Group และเพิ่งก้าวขึ้นรับตำแหน่งประธานของ Morison Global เมื่อเดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา Morison Global เป็นองค์กรที่รวมเครือข่ายบริษัทชั้นนำทั่วโลกที่ให้บริการบัญชี ตรวจสอบบัญชี การจัดการเกี่ยวกับภาษี

นับเป็นภาระที่หนักอึ้ง ในการบริหารธุรกิจท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง  อีกทั้งความเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้น ยังตกอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกได้ว่า “กลับไปกลับมา” จนแทบจะตั้งรับกันไม่ทัน เพราะสถานการณ์ของโรคระบาดอย่าง “โควิด 19” เป็นเรื่องใหญ่ที่ใครๆ ก็ต้องยอมหลีกทางให้ ทำได้เพียงประคับประคอง และมองหาโอกาสที่พอมี แม้จะรู้ในใจดีว่า “ยากเย็น” เหลือเกิน ธุรกิจสุขภาพและความงาม ที่เคยรุ่งโรจน์เป็นดาวเด่น เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์โควิด 19  “สปา” หลายแห่งในประเทศไทย ทั้งรายเล็กรายใหญ่ จำต้องแพ้พ่ายให้กับศึกใหญ่ในครานี้ แต่ก็ยังมี “เซอร์ไวเวอร์” ที่ยังกัดฟันสู้ แม้สภาพจะไม่ต่างจากการ “ลอยคอ” อยู่ในมหาสมุทร “ปัจจุบันถือว่าลำบากมากในการประคับประคองธุรกิจ เราถือว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่รอดปลอดภัยมาจนถึงปัจจุบัน จะเห็นว่าในธุรกิจสปาด้วยกัน ล้มหายตายจากไปค่อนข้างเยอะมาก ส่วนใหญ่ก็พึ่งพานักท่องเที่ยวร้อยเปอร์เซ็นต์ และไม่มีสายป่านที่ยาวพอ ตลอด 15 เดือนนี้ ถือว่ายาวนานมาก เราเองก็หวุดหวิดมาก แต่ถามว่า ถ้าสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้อีกสักสองถึงสามเดือนก็ค่อนข้างลำบาก” ภาคิน

“แด่นักบินทุกท่านและผู้ชอบกีฬาเสี่ยงตาย ผมรู้ความลับอย่างหนึ่งในตัวคุณ ที่บางคนอาจจะไม่รู้ ระหว่างชีวิตกับความตายมันมี “อิสรภาพ” กั้นอยู่ตรงกลาง สิ่งนั้นและที่พวกคุณโหยหา” -Ray Gypsy- ก่อนหน้านี้ เราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับ “ร่มบิน”  หรือ Paramotor อากาศยานขนาดเล็กที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในเมืองไทย พอๆ กับไม่รู้เลยว่าโลกอีกด้านของเขื่อนป่าสัก มีนักผจญลมรวมตัวกันอยู่  แต่วันนั้นเรายืนอยู่ห่างจากจุดขึ้นบินมาก จึงไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปถามใคร ถึงที่มาที่ไปของนักบินเหล่านั้น กลับมากรุงเทพหลังจากเปิดรูปดูแล้วพบว่า มีภาพนักบินพารามอเตอร์อยู่เป็นจำนวนหนึ่ง  แค่ยืนแหงนฟ้าอยู่ในจุดเดียว ก็ส่องลวดลายลีลามาได้หลายท่วงท่า จึงทำการค้นหาว่า ทำไมถึงมีร่มบินมากมายอยู่ที่ท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพจ : ร่มบินเขื่อนป่าสัก คือ ที่แรกที่เราทำการค้นหา เพื่อต้องการจะรู้ว่ามีอะไรอยู่ที่นั่น และได้พบกับคำกล่าวของคุณ Ray Gypsy ที่โพสต์ไว้ อ่านแล้วรับรู้ได้ถึงเสน่ห์อันลึกลับบนฟ้ากว้าง เมื่อประตูบานหนึ่งถูกเปิดออก มันจะนำไปสู่ประตูบานต่อไปเสมอ โลกไร้สายพาเราไปพบกับข่าวอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับร่มบิน จนได้พบกับ Youtube  ของ Mr.Sakda

"เจ้าของ" มีส่วนอย่างมากในการถ่ายทอดตัวตนของร้านอาหารนั้นๆ ออกมา สไตล์ของร้านอาหารที่เราเห็น จึงสะท้อนมุมมองที่หลากหลาย ของผู้คนที่แตกต่าง อย่างร้านอาหารที่ Meetthinks มีโอกาสได้ไปเยือนไปในวันนี้ วันนี้เราแวะไปที่ร้านอาหารเล็กๆ ที่แอบเก็บความแซ่บเก๋เอาไว้ ชื่อว่า Diva Café & Bistro  มุมสบาย ที่เปิดให้ลูกค้าเข้ามานั่งผ่อนคลาย ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง แถมยังมีเมนูอร่อยให้ลิ้มลองกันอีกเพียบ เรียกว่า “แอบแซ่บ” อยู่อย่างเยอะ [caption id="attachment_23606" align="aligncenter" width="799"] ดวงตะวัน เตชวิวัฒน์วานิชย์[/caption] “เพราะทุกคนเปรียบเสมือนคนในครอบครัว ความตั้งใจในการรังสรรค์แต่ละเมนูของ Diva Café & Bistro จึงมุ่งเน้นวัตถุดิบคุณภาพ หลีกเลี่ยงการปรุงแต่ง เพื่อคงคุณค่าของสารอาหาร ดังนั้นเกือบทุกเมนู จึงไม่มีส่วนผสมของผงชูรส ยกเว้นเมนูประเภทยำ” คุณแจง-ดวงตะวัน เตชวิวัฒน์วานิชย์  เจ้าของร้าน