พอเอ่ยถึง “บ้านนอก“ หลายคนคงนึกไปถึง ถิ่นที่อยู่ห่างไกล ความเชย ล้าหลัง ไม่ทันสมัย และแน่นอนต้องอยู่ต่างจังหวัด เมื่อถึงช่วงเทศกาล หรือมีวันหยุดติดกันยาวนานหลายวัน กิจกรรมหนึ่งที่คนจาก “เมือง“ มักกระทำกัน คือ ไปต่างจังหวัด ไปไหน? ไปต่างจังหวัด
“คร่ำ” งานหัตถศิลป์ชั้นสูงที่หาชมได้ยาก และอาจจะอยู่ห่างไกลจากชีวิตประจำวันของคนทั้งไป จนทำให้หลายคน โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ ไม่รู้จักคร่ำ งาน “คร่ำ” เป็นการตกแต่งลวดลายบนพื้นโลหะประเภทเหล็กโดยใช้เครื่องมือสกัดให้เป็นลวดลายบนพื้นโลหะต่างชนิด เช่น เงิน ทอง นากลงไปแล้วขัด หรือที่ศัพท์ช่างเรียกว่า กวดผิวให้เรียบจะเกิดลวดลายจากสีของโลหะที่ต่างกัน ตามลวดลายที่สลักและฝังโลหะไว้ ลงบนผิวหน้าของเครื่องใช้ที่ทาด้วยเหล็ก หากใช้เส้นเงินฝังเรียก คร่ำเงิน หากใช้เส้นทองฝังเรียก คร่ำทอง หากใช้เส้นนากฝังเรียก คร่ำนาก โดยจะต้องทำให้ผิวเหล็กเกิดเป็นรอยที่ละเอียดด้วยการใช้เหล็กสกัดที่คมบางแต่แข็งแกร่งตีสับลายตัดกันไปมาบนผิวโลหะให้เกิดความขรุขระ จากนั้นจึงใช้เส้นทองหรือเส้นเงิน หรือเส้นนากตอกให้ติดเป็นลวดลายวิจิตรงดงามตามที่ต้องการ ประเภทเครื่องใช้ที่จะตกแต่งใช้วิธีคร่ำ ต้องเป็นของที่ทามาจากเหล็ก เช่น ตะบันหมาก กรรไกรหนีบหมาก หัวไม้เท้า กรรไกรตัดผม ไปจนถึงเครื่องราชูปโภค เครื่องเหล็กซึ่งนิยมตกแต่งลวดลายด้วย การคร่ำเงิน คร่ำทอง หรือคร่ำนาก มักเป็นเครื่องราชศัสตราวุธ เช่น พระแสงดาบ พระแสงหอก พระแสงง้าว
วันที่ลืมตาดูโลก ฉันอาจจะเป็นคนหนึ่งที่ได้นอนบนเสื่อกระจูด ป้าของฉันเรียกมันว่า “สาดจูด” ตามประสาคนใต้ที่ชอบรวบรัดตัดคำให้สั้นลง นั่นคงเป็นสิ่งแรกที่นึกถึงกระจูด แม้วันนี้เราเดินทางมาไกล และอาจจะห่างจากบ้านเกิด ห่างจากสาดจูด และห่างจากลุงป้าน้าอา แต่ความทรงจำยังไม่เคยเลือนหาย ภาพของกระจูดยังแจ่มชัด เช่นเดียวกับความผูกพันของคนในเครือญาติ เมื่อมีโอกาสตามติดชีวิตของกระจูดอีกครั้งจึงได้รู้ว่า กระจูดเองก็เดินทางไปไกลแล้วเช่นกัน กระจูดเป็นพืชตระกูลเดียวกับ “กก” จริงๆ แล้วเกิดขึ้นเป็นวัชพืชในที่น้ำขังตลอดเวลา ดังนั้นที่ที่กระจูดจะใช้ชีวิตอยู่ได้ก็ต้องเป็นแหล่งน้ำจืดที่ไม่เคยแห้งแล้ง รู้จักกันในนาม “ป่าพรุ” ซึ่งเป็นดินโคลนที่มีน้ำขังทั้งปี ดังนั้นใครที่สนใจปลูกกระจูดก็สามารถนำกระจูดไปปลูกไว้ในอ่างได้ กระจูดตามธรรมชาติของพื้นที่ในประเทศไทย มีอยู่ใน 5 จังหวัดทางภาคใต้เท่านั้น คือ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส แต่ละพื้นที่ก็มีการสานกระจูดมานาน มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์และรูปแบบของตัวเอง สำหรับกระจูดที่พัทลุง ซึ่งเราได้เดินทางไปเจอมาล่าสุด จากการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า มีเรื่องราวที่ยาวนานมา เพราะในอดีตนิยมสานเป็นเสื่อและกระสอบใส่ข้าวสารและน้ำตาลเพื่อเป็นบรรณาการมานาน ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาจนกลายเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน การเดินทางทำให้เราได้มาเจอกับ “วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี” (Varni)
โครงการ “Upcycling the Oceans, Thailand” รณรงค์การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด ตามแนวคิด “Circular Living..ไลฟ์สไตล์เปลี่ยนโลก” เดินหน้าสร้างมิติใหม่ในวงการอุตสาหกรรมไทย ด้วยการเปิดตัว “Thailand Collection” ในโครงการ “Upcycling the Oceans, Thailand” ต้นแบบการอัพไซเคิลจากขยะขวดพลาสติกของโครงการฯ เพื่อให้คนไทยได้มีส่วนร่วมในการใช้สินค้ารีไซเคิลคุณภาพดี ในราคาที่ซื้อหาได้ พร้อมวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู เดินหน้าสานพลังไทยนิยมยั่งยืน จัดโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี นำเสนอของดี วิถีเด่น ชูเส้นทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ใน 6 หมู่บ้าน พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนภายใต้การประกวด “นักเล่าเรื่อง” เสริมเสน่ห์ท่องเที่ยววิถีไทย สืบสานคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น หนุนฐานรากอันเข้มแข็ง สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน [caption id="attachment_17145" align="aligncenter" width="900"] สงวน มะเสน (ขวา)[/caption] นางสงวน มะเสนา พัฒนาการจังหวัดหนองบัวลำภู เปิดเผยว่า จังหวัดหนองบัวลำภู มีศักยภาพและความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ด้วยสภาพทางธรรมชาติที่มีความงดงาม เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ และวิถีชุมชนอันเป็นเอกลักษณ์ พร้อมด้วยภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่า สามารถพัฒนาและต่อยอดเพื่อขยายการรับรู้ไปในวงกว้าง เพื่อดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ อันจะนำไปสู่การสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน ส่งผลต่อการเติบโตในภาพรวมของเศรษฐกิจระดับประเทศ โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นอีกหนึ่งโครงการที่รัฐบาลมอบหมายให้ทุกจังหวัดดำเนินการขับเคลื่อนภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน โดยเป็นแนวคิดในการพัฒนา
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ภูมิปัญญา ความคิด หรือ ความงาม เรียกกันว่า “ศิลปะ” แต่ไม่ใช่ว่า อารมณ์ความนึกคิดทุกอย่างจะเป็นศิลปะ เพราะต้องสอดแทรกด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดยมีจุดประสงค์ที่แน่นอนแฝงอยู่ และที่สุดแล้ว ต้องถูกกลั่นกรองออกมาจากความตั้งใจ แต่อย่าไปสนใจหรือบีบบังคับด้วยการท่องจำเลยว่า ศิลปะจะหมายถึงอะไร เพราะหากหัวใจเปิดรับความงดงามของศิลปะได้ก็เพียงพอแล้ว รอยขูดเขียนบทผนัง หรือ กราฟฟิตี้ (Graffiti) อาจจะเคยอยู่ในโลกปิด และไม่อาจจะยอมรับได้มาก่อน เพราะหากจิตรกรมีหน้าที่ในการซื้อผืนผ้าใบของตัวเอง เหล่าศิลปินกราฟิตี้ ก็น่าจะต้องสร้างผนังของตัวเองมาเช่นกัน แต่ใช่ว่าผนังกำแพงจะสามารถขวางกั้นความงดงามได้ เพราะวันนี้มีพื้นที่อีกมากมาย พร้อมเป็นเฟรมขนาดใหญ่ให้ศิลปินผู้เต็มไปด้วยไอเดียและฝีมือเข้ามาบรรเลงกันให้หนำใจ และดูเหมือนว่าตอนนี้ เกือบทุกที่จะมี Street Art เท่าที่เดินทางไปในหลายจังหวัด ก็ได้เจอศิลปะแนวนี้อยู่แทบจะทุกแห่ง และมันไม่ใช่ศิลปะของคนเมืองอีกต่อไป เพราะแม้จะอยู่ในชนบทห่างไกลก็ยังเจอ วันนี้เราเดินทางมายังจังหวัดร้อยเอ็ด ที่นอกจากเกินร้อยแล้ว มักจะเป็นคำโดนต่อท้ายด้วย “เจ็ดย่านน้ำ” ทำให้เป็นจังหวัดที่ดูพลังล้นเหลือ แล้วก็ได้เห็นจริงๆ ก่อนหน้านี้ ราว
รู้สึกดีที่ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปถึงไหน แต่เราก็ยังมีสายตามองเห็นความงามได้เช่นเดิม สิ่งที่เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่อยากให้ลืม เกิดขึ้นหลายอย่างในปีนี้คือ “คนทำดีถือว่าเท่” และกลายเป็นแบบอย่างให้เราได้อุ่นใจอยู่เสมอ ท่ามกลางข่าวสารที่แสดงให้เห็นความน่ากลัวของคน มากขึ้นทุกวัน ที่พัทลุงเขาก็เท่ ไม่ได้เท่เพราะแคมเปญ “เที่ยวไทยเท่” อย่างเดียวหรอกนะ ได้กลับไปเยือนครั้งนี้ ได้เห็นมุมมองดีๆ จนอยากจะบอกต่อ เพราะสิ่งที่เขาทำ เกิดเป็นความดีที่เท่แท้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เราอาจจะเคยได้ยินเรื่องของการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เป็นจุดขายของแต่ละพื้นที่ สิ่งที่ทำได้ง่ายและทำได้เลยก็คือ การรวมตัวของคนในชุมชนเป็นตลาดนัดชุมชน ที่นำของดีของเด็ดของแต่ละคนมานำเสนอ เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสกันแบบที่เดียวครบ จบทุกของดีของอร่อย [caption id="attachment_17064" align="aligncenter" width="799"] เท่ตั้งแต่แรกเห็น[/caption] ที่พัทลุงเขามีตลาดใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายแห่ง ซึ่งไม่ได้มีแค่เอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่มีความเท่แท้อย่างที่เราบอกไป เริ่มต้นจาก “ตลาดป่าไผ่” ชื่อเต็มๆ ว่า “ตลาดป่าไผ่สร้างสุข” อ.ควนขนุน ห่างจากตัวเมืองพัทลุงแค่ 17 กิโลเมตร จะไม่สุขได้อย่างไร เพราะที่นี่เป็นตลาดแห่งความรักษ์ รักโลก รักสิ่งแวดล้อม ด้วยการร่วมมือร่วมใจของคนซื้อและคนขาย ตลาดป่าไผ่สร้างสุข
หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ร่วมกับ มูลนิธิบัวหลวง จัดโครงการประกวดศิลปิน “ดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑” ครั้งที่ ๑๑ ภายใต้หัวข้อ “ก้าวใหม่ : ศิลปะไทยวิวัฒน์ ” เพื่อเปิดเวทีสร้างสรรค์ให้ศิลปินรุ่นใหม่มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง [caption id="attachment_16985" align="aligncenter" width="800"] คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช[/caption] คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช กรรมการมูลนิธิบัวหลวง และประธานโครงการดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑ เปิดเผยว่า การจัดโครงการประกวดศิลปิน “ดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑” ครั้งที่ ๑๑ ภายใต้หัวข้อ “ก้าวใหม่ : ศิลปะไทยวิวัฒน์ ” เพื่อเปิดเวทีสร้างสรรค์ให้ศิลปินรุ่นใหม่ แสดงออกถึงความสามารถ จุดประกายความตื่นตัวการสร้างสรรค์งานศิลปะ ของศิลปินหนุ่มสาวรุ่นใหม่สู่สาธารณชน มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
ไม่อยากขึ้นต้นเลยว่า เป็นจังหวัดที่ใกล้แค่ขับรถเพียงชั่วโมงกว่าๆ ก็ไปถึง เพราะจริงๆ นักท่องเที่ยวไทย ก็ไม่ได้มีแค่คนที่ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ และอยากบอกว่า นี่คืออีกแหล่งท่องเที่ยวในเมืองไทย ที่ไม่ได้มีใครซุกซ่อนไว้ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก อ่างทองเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรม มีวัดที่มีเอกลักษณ์จากความเป็นที่สุด ถึง 3 แห่ง ทั้ง วัดม่วง ซึ่งประดิษฐาน “หลวงพ่อใหญ่” หรือ “พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในโลก “วัดขุนอินทประมูล” ที่นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามาสักการะบูชา “องค์พระพุทธไสยาสน์” ที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย รวมทั้ง “วัดจันทรังษี” โดยมีรูปหล่อของ "หลวงพ่อสด" ซึ่งเป็นหลวงพ่อสดองค์ใหญ่ที่สุดเช่นเดียวกัน วันนี้เราเดินทางมายังอ่างทอง เพื่อเปิดมุมมองใหม่ แต่จะว่าไปก็ไม่ได้ใหม่สดแบบเพิ่งเกิดขึ้น แต่อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เพราะที่นี่คือ “วัดบ้านพราน” วัดเก่าแก่ของจังหวัดอ่างทองที่มีอายุมากกว่า 900 ปี ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ชัยมงคล
Eathai(อีทไทย)ที่สุดแห่งอาณาจักรอาหารไทย
ความคิดไม่ได้อยู่กับที่ แต่ทุกที่มีความคิด และเมื่อเหล่านักคิดรุ่นคิดส์จากเมือง มุ่งสู่นา ใช้ชีวิตสัมผัสวิถีบ้าน ในบรรยากาศท้องถิ่น กรุ่นอวลด้วยธรรมชาติ เพื่อหาแรงบันดาลใจหลอมรวมความคิด เตรียมนำเสนอสิ่งที่คิดออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ไปสู่การต่อการยอดในอนาคต บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมเวิร์คช็อป "Honda Super Idea
เรื่องชุ่มเย็นใจของคนหัวใจศิลป์มาถึงแล้ว เพราะในช่วงที่ประเทศไทย กำลังอบอวนไปกลิ่นไอของสุนทรียะของศิลปกรรม จากศิลปิน และผู้สนใจงานด้านศิลปะจากทั่วโลก ในงานเทศกาลศิลปะ “Biennale” ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในแวดวงศิลปะระดับนานาชาติ ที่มาจัดงานในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในช่วงเดือนตุลาคม 2561 ถึง กุมภาพันธ์ 2562 โดยแบ่งเป็น 2 งาน คือ Thailand Biennale 2018 และ Bangkok Art Biennale มูลนิธิบัวหลวง จึงจัดงานนิทรรศการ “Beyond Artistic Boundary : ความงามข้ามขอบเขต” คู่ขนานไปพร้อมๆ กัน นิทรรศการ “Beyond Artistic Boundary : ความงามข้ามขอบเขต”
มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชม นิทรรศการศิลปะ Beauty and Ugliness : Aesthetic of Marsi ความงามและความน่าเกลียด : สุนทรียศิลป์ แห่งมารศี นิทรรศการใหญ่ครั้งแรก ในรอบ 5 ปี ที่จะนำผู้ชมร่วมค้นหาความหมายแห่งสุนทรียศาสตร์ จากผลงาน จิตรกรรมฝีพระหัตถ์อันทรงคุณค่ากว่า 40 ชิ้น ของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร จิตรกรหญิงชาวไทยผู้สร้าง สรรค์ ผลงานอันเปี่ยมล้นด้วยตัวตนและจิตวิญญาณ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า ตั้งแต่ 7 พฤศจิกายน ถึง 23
“ชาวบ้านไม่เคยรู้หรอกว่า ของบ้านๆ ที่ทำใช้กันอยู่เป็นประจำ จะไปไกลสู่สากลได้” รศ.วาสนา สายมา นักสร้างสรรค์จากโครงการ Innovative Craft Award ปี 2555 เจ้าของแบรนด์ Vassana กล่าวในช่วงหนึ่งของการเสวนา ในงานแสดงผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยในวัฒนธรรมร่วม (Cross Cultural Crafts 2018) ซึ่งเธอเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เดินทางไปแลกเปลี่ยนมุมมองการทำงานด้านการจักสานที่ไต้หวัน จนเกิดความประทับใจว่า เพียงการจักสานลายเดียว สามารถต่อยอดการใช้งานได้นับร้อย นับเป็นเส้นทางตัวอย่าง ที่เธอจะนำมาประยุกต์ใช้กับงานจักสานที่เธอได้ร่วมกับชาวบ้านต่อไป [caption id="attachment_16577" align="aligncenter" width="900"] ผลงาน "ระย้าประจำปี" ไม้แขวนจากการผสมผสานงานไทยและไต้หวัน โดย รศ.วาสนา สายมา[/caption] “สิ่งเหล่านี้คือการทำให้ชุมชนมีรายได้จริงๆ ชาวบ้านเขาคิดว่า จักสานคืองานบ้านๆ จะโกอินเตอร์ยังไง เมื่อมีโอกาสสร้างรายได้ ก็เริ่มเห็นภาพ อย่างที่สอนผู้สูงอายุในชุมชน
เพราะความสุขจากการเดินทางท่องเที่ยว ไม่ได้เกิดระหว่างการออกเดินทางเสมอไป คนที่เก็บกระเป๋ารอวันเดินทาง คนที่กำลังออกเดินทาง หรือ คนที่กำลังนั่งมองภาพหลังจากการเดินทาง ต่างก็มีความสุขได้ในมุมที่แตกต่างกัน และอีกมุมแห่งโลกจินตนาการ คือ สัมผัสของมุมมองท่องเที่ยวผ่านงานศิลปะภาพถ่าย ซึ่งวันนี้ มีไอเดียการนำเสนอรูปแบบของนิทรรศการสมัยใหม่ มาแนะนำให้ไปชมกัน อุทยานการเรียนรู้ TK park ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จัดนิทรรศการ France eMotion
ลิ้นกับฟันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะกระทบกัน นั่นคือเรื่องที่เราได้ยินกันมานาน สำหรับการครองชีวิตคู่ ซึ่งคนที่ไม่เคยก็คงไม่รู้ ส่วนคนที่อยู่ในจุดนั้น ต่างก็เจอปัญหาที่แตกต่างกัน แต่วันนี้ปัญหาของลิ้นกับฟัน ที่เคยพลาดเคยเผลอเรอ กระทบกระทั่งกันบ้าง กลับลุกลามไปใหญ่ กลายเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นเด็กและสตรี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าใจหายว่า ในบรรดาความรุนแรงในสังคมทั้งหมด ส่วนใหญ่มาจากครอบครัว ครอบครัว เป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุด แต่ก็มีความสำคัญมากที่สุด เพราะพลังที่ยิ่งใหญ่ย่อมหลอมรวมมาจากจุดเล็กๆ ครอบครัวของเรา บ้านแต่ละหลัง ก็หมายถึงพลังเล็กๆ ในสังคมที่รวมตัวกัน เมื่อวันที่ปัญหาในครอบครัว กลายเป็นสถิติที่พุ่งสูง จึงต้องได้รับการแก้ไขในหลายมิติ หนึ่งในนั้น คือการขจัดต้นทางแห่งปัญหาด้านเศรษฐกิจ วันนี้เรามีโอกาสได้เข้าร่วมงาน “มหกรรมตลาดนัด สร้างอาชีพให้มั่นคง สังคมไทยไร้ความรุนแรง” โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดขึ้นเพื่อแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมพื้นถิ่น ฝีมือกลุ่มสตรีและครอบครัวทั่วประเทศกว่า 200 ร้านค้า และเชิญภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง มาออกบูธและจัดแสดงนิทรรศการประเด็นความรุนแรง อีกจำนวน 45 บูธ นอกจากนี้ ยังมีเวทีเสวนาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในทุกรูปแบบ
นั่นสินะ มันก็ตอบยากอยู่เหมือนกัน ข้าวแกง ที่ง่ายและสะดวก มีให้เลือกหลากหลาย จะกินกี่อย่างก็ได้ ต้ม ผัด แกง ทอด ก็ว่ากันไป แล้วทำไม อาหารตามสั่งจึงยังเป็นมื้อยอดฮิตตั้งแต่เช้าสายบ่ายเย็น นั่นอาจเป็นเพราะอาหารตามสั่ง มีลักษณะพิเศษบางอย่าง ที่ไม่แมส แม้จะอยู่ทุกต้น ท้าย กลาง ซอย ตั้งแต่รถเข็น ไปจนถึงโรงแรมหรู ก็ตาม แต่คำว่า “ตามสั่ง” มันสร้างความแตกต่างให้กับเราได้ ไม่หวาน ไม่ชูรส ไม่ผัก ไม่หอม ผักชีเยอะๆ ไม่ซีอิ๊ว ใส่ถั่วอย่างเดียว ไม่เผ็ด พริกเยอะๆ ขอมะนาวเพิ่ม
เป็นมั้ยที่ทำงานอยู่ในออฟฟิศแล้วมันเบื่อๆ บรรยากาศมันไม่โดนใจ ไอเดียไม่แล่น วันนี้เรามีไอเดียง่ายๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนโฉมออฟฟิศเดิมของคุณให้น่าอยู่ที่จะทำให้ไอเดียพรั่งพรูของคุณได้บรรเจิดกัน เราลองไปดูกัน 1.ออฟฟิศเล็ก กระจกช่วยได้! เทคนิคสำคัญที่จะช่วยแก้ห้องเล็กให้ดูกว้าง ไอเดียแรกที่เราขอแนะนำ คือ การใช้กระจกมาช่วยหลอกตาให้ห้องดูกว้างขึ้น ซึ่งแนะนำว่าควรจะเป็นกระจกใสบานใหญ่ๆ ยิ่งเป็นแบบไม่มีรอยต่อยิ่งดี ซึ่งเทคนิคนี้ใช้ได้ทุกที่ ลองนึกถึงลิฟต์ที่มีการใช้กระจกเงาที่ช่วยให้ดูกว้างและไม่อึดอัด แต่สำหรับออฟฟิศแนะนำให้ใช้กระจกเงาใส เพราะถ้าใช้กระจกเงาอาจจะดูมึนงงมากกว่ารู้สึกกว้าง 2.ใช้ผนังให้เป็นประโยชน์ ผนังห้องต้องใช้ให้คุ้ม! และสำหรับออฟฟิศยุคใหม่การ Brainstorm หรือระดมความคิด ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญที่จะสร้างความมีส่วนร่วมของโปรเจกต์ต่างๆ ซึ่งทุกวันนี้เรียกว่าหมดยุคของกระดานไวท์บอร์ดที่ต้องลากไปมา หรือกระดาน flipboard กันแล้ว แต่นิยมติดกระดานไวท์บอร์ดหรือหลายออฟฟิศทำผนังด้านหนึ่งเป็นกระจกก็สามารถจะใช้ปากกาไวท์บอร์ดเขียนได้ แถมยังใหญ่ ลบง่ายและคงทนอีก เพราะช่วยให้มองเห็นได้ง่ายขึ้นมากกว่าโปร่งแสงนอกจากอเนกประสงค์แล้ว ยังดูทันสมัย และสร้างบรรยากาศในออฟฟิศให้ดูผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น 3. ใช้พื้นที่เก็บของให้คุ้ม สังเกตมั้ยว่า ยิ่งอยู่นานของยิ่งรก นั่นเป็นเพราะยิ่งนานวันเราจะยิ่งสะสมของมากขึ้น ดังนั้นถ้าหากเราอยากให้ ออฟฟิศดูดีก็ต้องจัดเก็บของให้เรียบร้อย ซึ่งนอกจากจะเรียบร้อย ตอบโจทย์การใช้งานแล้วต้องดูสวยงามด้วย
ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ร่วมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เผยแพร่งานจิตรกรรมไทย จัดงาน “ความหลากหลายทางจิตรกรรม ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ” ๔ – ๑๒ ส.ค. ๒๕๖๑ ณ ไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ ชั้น ๒ สยามพารากอน ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และศูนย์การค้าสยามพารากอน ร่วมกันจัดงานนิทรรศการ “ความหลากหลายทางจิตรกรรม ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ ๑๒ สิงหาคม