Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meetthinks

สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ภูมิปัญญา ความคิด หรือ ความงาม เรียกกันว่า “ศิลปะ” แต่ไม่ใช่ว่า อารมณ์ความนึกคิดทุกอย่างจะเป็นศิลปะ เพราะต้องสอดแทรกด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดยมีจุดประสงค์ที่แน่นอนแฝงอยู่ และที่สุดแล้ว  ต้องถูกกลั่นกรองออกมาจากความตั้งใจ แต่อย่าไปสนใจหรือบีบบังคับด้วยการท่องจำเลยว่า ศิลปะจะหมายถึงอะไร เพราะหากหัวใจเปิดรับความงดงามของศิลปะได้ก็เพียงพอแล้ว รอยขูดเขียนบทผนัง หรือ กราฟฟิตี้ (Graffiti) อาจจะเคยอยู่ในโลกปิด และไม่อาจจะยอมรับได้มาก่อน เพราะหากจิตรกรมีหน้าที่ในการซื้อผืนผ้าใบของตัวเอง เหล่าศิลปินกราฟิตี้ ก็น่าจะต้องสร้างผนังของตัวเองมาเช่นกัน แต่ใช่ว่าผนังกำแพงจะสามารถขวางกั้นความงดงามได้ เพราะวันนี้มีพื้นที่อีกมากมาย พร้อมเป็นเฟรมขนาดใหญ่ให้ศิลปินผู้เต็มไปด้วยไอเดียและฝีมือเข้ามาบรรเลงกันให้หนำใจ และดูเหมือนว่าตอนนี้ เกือบทุกที่จะมี Street Art เท่าที่เดินทางไปในหลายจังหวัด ก็ได้เจอศิลปะแนวนี้อยู่แทบจะทุกแห่ง และมันไม่ใช่ศิลปะของคนเมืองอีกต่อไป เพราะแม้จะอยู่ในชนบทห่างไกลก็ยังเจอ วันนี้เราเดินทางมายังจังหวัดร้อยเอ็ด ที่นอกจากเกินร้อยแล้ว มักจะเป็นคำโดนต่อท้ายด้วย “เจ็ดย่านน้ำ” ทำให้เป็นจังหวัดที่ดูพลังล้นเหลือ แล้วก็ได้เห็นจริงๆ ก่อนหน้านี้ ราว

รู้สึกดีที่ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปถึงไหน แต่เราก็ยังมีสายตามองเห็นความงามได้เช่นเดิม สิ่งที่เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่อยากให้ลืม เกิดขึ้นหลายอย่างในปีนี้คือ “คนทำดีถือว่าเท่” และกลายเป็นแบบอย่างให้เราได้อุ่นใจอยู่เสมอ ท่ามกลางข่าวสารที่แสดงให้เห็นความน่ากลัวของคน มากขึ้นทุกวัน ที่พัทลุงเขาก็เท่ ไม่ได้เท่เพราะแคมเปญ “เที่ยวไทยเท่” อย่างเดียวหรอกนะ ได้กลับไปเยือนครั้งนี้ ได้เห็นมุมมองดีๆ จนอยากจะบอกต่อ เพราะสิ่งที่เขาทำ เกิดเป็นความดีที่เท่แท้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เราอาจจะเคยได้ยินเรื่องของการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เป็นจุดขายของแต่ละพื้นที่ สิ่งที่ทำได้ง่ายและทำได้เลยก็คือ การรวมตัวของคนในชุมชนเป็นตลาดนัดชุมชน ที่นำของดีของเด็ดของแต่ละคนมานำเสนอ เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสกันแบบที่เดียวครบ จบทุกของดีของอร่อย [caption id="attachment_17064" align="aligncenter" width="799"] เท่ตั้งแต่แรกเห็น[/caption] ที่พัทลุงเขามีตลาดใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายแห่ง ซึ่งไม่ได้มีแค่เอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่มีความเท่แท้อย่างที่เราบอกไป เริ่มต้นจาก “ตลาดป่าไผ่” ชื่อเต็มๆ ว่า “ตลาดป่าไผ่สร้างสุข” อ.ควนขนุน ห่างจากตัวเมืองพัทลุงแค่ 17 กิโลเมตร จะไม่สุขได้อย่างไร เพราะที่นี่เป็นตลาดแห่งความรักษ์ รักโลก รักสิ่งแวดล้อม ด้วยการร่วมมือร่วมใจของคนซื้อและคนขาย ตลาดป่าไผ่สร้างสุข

ถ้าชีวิตของคุณคือบริษัทหนึ่งที่จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์และเป้าหมาย เคยหรือไม่ ที่จะตั้งคำถามว่า อีก 10-20 ปีข้างหน้า “ฉันจะเป็นอย่างไร” แล้วกลยุทธ์ที่จะทำให้เดินไปถึงเป้าหมายนั้นเป็นแบบไหน “เคชม” หรือ คุณดุษศิดา ภาคาเดช คณะกรรมการผู้จัดการ ลาชูเล่ กรุ๊ป ผู้ก่อตั้งเพจ เคชม Beautypreneur เคล็ดลับธุรกิจพันล้าน บทบาทของนักธุรกิจที่ผันตัวมาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในนาม “ครูเคชม” วันนี้เธอจะมาแบ่งปันประสบการณ์ในเส้นทางธุรกิจ 20 ปีที่ผ่านมา  รวมทั้งเส้นทางสู่เป้าหมายครั้งใหม่ในระดับหมื่นล้าน จากแนวคิดที่อาจจะทำให้หลายคนได้แรงบันดาลใจและกลับมาสนุกกับการตั้งเป้าหมายให้กับชีวิตอีกครั้ง เคชม เล่าย้อนไปถึงสมัยเริ่มต้นทำธุรกิจว่า สมัยเรียนจบเคยอยากเป็นแอร์โฮสเตส เพราะอยากเดินทางท่องเที่ยว แต่เมื่อลองย้อนมองตัวเองแล้วพบว่า  ไม่ได้ชื่นชอบงานบริการสักเท่าไหร่  จนตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ชีวิตในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเป็นอย่างไร” จนได้รู้จักกับพันธมิตรทางธุรกิจชาวฝรั่งเศส ซึ่งแนะนำผลิตภัณฑ์ความงามที่มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ปัญหาของคนไทยได้ จึงตัดสินใจเริ่มทำธุรกิจ ด้วยเล็งเห็นว่า

หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ร่วมกับ มูลนิธิบัวหลวง จัดโครงการประกวดศิลปิน “ดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑” ครั้งที่ ๑๑ ภายใต้หัวข้อ “ก้าวใหม่  :  ศิลปะไทยวิวัฒน์ ” เพื่อเปิดเวทีสร้างสรรค์ให้ศิลปินรุ่นใหม่มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง  [caption id="attachment_16985" align="aligncenter" width="800"] คุณหญิงชดช้อย  โสภณพนิช[/caption] คุณหญิงชดช้อย  โสภณพนิช  กรรมการมูลนิธิบัวหลวง และประธานโครงการดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑  เปิดเผยว่า  การจัดโครงการประกวดศิลปิน “ดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑” ครั้งที่ ๑๑ ภายใต้หัวข้อ “ก้าวใหม่  :  ศิลปะไทยวิวัฒน์ ” เพื่อเปิดเวทีสร้างสรรค์ให้ศิลปินรุ่นใหม่ แสดงออกถึงความสามารถ  จุดประกายความตื่นตัวการสร้างสรรค์งานศิลปะ ของศิลปินหนุ่มสาวรุ่นใหม่สู่สาธารณชน  มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง 

ไม่อยากขึ้นต้นเลยว่า เป็นจังหวัดที่ใกล้แค่ขับรถเพียงชั่วโมงกว่าๆ ก็ไปถึง เพราะจริงๆ นักท่องเที่ยวไทย ก็ไม่ได้มีแค่คนที่ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ และอยากบอกว่า นี่คืออีกแหล่งท่องเที่ยวในเมืองไทย ที่ไม่ได้มีใครซุกซ่อนไว้ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก อ่างทองเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรม มีวัดที่มีเอกลักษณ์จากความเป็นที่สุด ถึง 3 แห่ง ทั้ง วัดม่วง ซึ่งประดิษฐาน “หลวงพ่อใหญ่” หรือ “พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในโลก  “วัดขุนอินทประมูล” ที่นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามาสักการะบูชา “องค์พระพุทธไสยาสน์” ที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย รวมทั้ง “วัดจันทรังษี” โดยมีรูปหล่อของ "หลวงพ่อสด"  ซึ่งเป็นหลวงพ่อสดองค์ใหญ่ที่สุดเช่นเดียวกัน วันนี้เราเดินทางมายังอ่างทอง เพื่อเปิดมุมมองใหม่ แต่จะว่าไปก็ไม่ได้ใหม่สดแบบเพิ่งเกิดขึ้น แต่อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เพราะที่นี่คือ “วัดบ้านพราน” วัดเก่าแก่ของจังหวัดอ่างทองที่มีอายุมากกว่า 900 ปี ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ชัยมงคล

ความคิดไม่ได้อยู่กับที่ แต่ทุกที่มีความคิด และเมื่อเหล่านักคิดรุ่นคิดส์จากเมือง มุ่งสู่นา ใช้ชีวิตสัมผัสวิถีบ้าน ในบรรยากาศท้องถิ่น กรุ่นอวลด้วยธรรมชาติ เพื่อหาแรงบันดาลใจหลอมรวมความคิด เตรียมนำเสนอสิ่งที่คิดออกมาอย่างเป็นรูปธรรม  ไปสู่การต่อการยอดในอนาคต บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมเวิร์คช็อป "Honda Super Idea

ปลายฝน ก่อนเข้าสู่ฤดูหนาวที่บ้านเรา ปลายฤดูใบไม้ร่วง ก่อนใบไม้จะเปลี่ยนสีที่ญี่ปุ่น ห้องอาหารยามาซาโตะ (Yamazato) โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ (The Okura Prestige Bangkok) ห้องอาหารญี่ปุ่นรสชาติต้นตำรับ ที่ได้รับ “มิชลิน เพลท” (Michelin Plates) จาก ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับกรุงเทพฯ 2018 แนะนำอาหารชุดพิเศษสำหรับฤดูกาลนี้ ให้บริการทั้งมื้อกลางวันและมื้อค่ำ ตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 25 พฤศจิกายน 2561 เดือนพฤศจิกายน เป็นเดือนส่งท้ายฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูใบไม้เปลี่ยนสีก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวในประเทศญี่ปุ่น เชฟชิเงรุ ฮางิวาระ (Shigeru Hagiwara)  หัวหน้าพ่อครัว

ปลายฝนต้นหนาว หลายคนเริ่มวางแผนเดินทาง ท่องเที่ยว สู่เมืองเหนือ เพื่อสัมผัสลมหนาวและสเน่ห์ล้านนา สถานที่พักหลายแห่งปรับปรุงเตรียมตัวต้อนรับนักท่องเที่ยวมาเยือน โรงแรม ยู เชียงใหม่  (U Chiang Mai) โรงแรมที่เต็มไปด้วยมนต์สเน่ห์แห่งล้านนาและการบริการอันแสนอบอุ่นในแบบ U เปิดตัวโฉมใหม่ หลังได้รับการตกแต่งให้ทันสมัยและงดงามมากขึ้น พร้อมอวดโฉมเสร็จสมบูรณ์และต้อนรับนักท่องเที่ยวให้ได้มาสัมผัส ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2561 นี้เป็นต้นไป ยู เชียงใหม่ ได้ทำการปรับปรุงใหม่ทั้งในส่วนของห้องพัก ห้องอาหาร บาร์ สระว่ายน้ำ และบริเวณโดยรอบของโรงแรมในโทนสีสว่างและสีม่วง โก้หรู มีสไตล์ แต่อบอุ่นเมื่อเข้าพัก พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่และตรงความต้องการของนักเดินทางมากขึ้น แต่ยังคงสเน่ห์และคุณค่าแห่งวัฒนธรรมล้านนาไว้อย่างครบถ้วน ยู เชียงใหม่ โรงแรมหรูสไตล์บูติกที่มีความน่าสนใจและเอกลักษณ์ด้วยการออกแบบที่นำเอามรดกทางวัฒนธรรมมาผสมผสานกับสิ่งอำนวยความสะดวกของยุคปัจจุบัน โดยมีจุดเด่นด้านงานสถาปัตกรรมคือ การคงโครงสร้าง อาคารจวนผู้ว่าการเชียงใหม่หลังเก่าไว้ภายในโรงแรม และทำการปรับปรุงเป็น

ได้ยินเรื่องราวน่ารักจากการสนทนาของเด็กน้อยกับคุณน้า เด็กน้อย : ประเทศอะไรมีนาอยู่ตรงกลาง น้า : ปานามา เด็กน้อย : ผิด! แคนาดา ต่างหาก น้า : อ้าว แล้วปานามาไม่ถูกหรือ เด็กน้อย : มีที่ไหน ประเทศปานามา

เรื่องชุ่มเย็นใจของคนหัวใจศิลป์มาถึงแล้ว เพราะในช่วงที่ประเทศไทย กำลังอบอวนไปกลิ่นไอของสุนทรียะของศิลปกรรม จากศิลปิน และผู้สนใจงานด้านศิลปะจากทั่วโลก ในงานเทศกาลศิลปะ “Biennale” ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในแวดวงศิลปะระดับนานาชาติ ที่มาจัดงานในประเทศไทยเป็นครั้งแรก   ในช่วงเดือนตุลาคม 2561 ถึง กุมภาพันธ์ 2562  โดยแบ่งเป็น 2 งาน  คือ Thailand Biennale 2018 และ Bangkok Art Biennale  มูลนิธิบัวหลวง จึงจัดงานนิทรรศการ “Beyond Artistic Boundary : ความงามข้ามขอบเขต” คู่ขนานไปพร้อมๆ กัน   นิทรรศการ “Beyond Artistic Boundary : ความงามข้ามขอบเขต”

มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชม นิทรรศการศิลปะ Beauty and Ugliness : Aesthetic of Marsi ความงามและความน่าเกลียด : สุนทรียศิลป์ แห่งมารศี นิทรรศการใหญ่ครั้งแรก ในรอบ 5 ปี ที่จะนำผู้ชมร่วมค้นหาความหมายแห่งสุนทรียศาสตร์ จากผลงาน  จิตรกรรมฝีพระหัตถ์อันทรงคุณค่ากว่า 40 ชิ้น ของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร จิตรกรหญิงชาวไทยผู้สร้าง สรรค์ ผลงานอันเปี่ยมล้นด้วยตัวตนและจิตวิญญาณ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า ตั้งแต่ 7 พฤศจิกายน ถึง 23

คนเราไม่ชอบความเปลี่ยนแปลงสักเท่าไหร่ แม้ส่วนใหญ่ชอบออกมาตะโกนว่า อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง เพราะแม้แค่การปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างในชีวิตประจำวัน เราก็รู้สึกขัดหูขัดตาเสียกระบวนท่าการใช้ชีวิตไปเสียแล้ว “แปรงสีฟันฉันอยู่ไหน” รับรองว่าคุณจะเป็นอีกคนที่มึนงงหน้ากระจก หากวันใดวันหนึ่ง อุปกรณ์ยามเช้าของคุณได้ย้ายที่อยู่ออกไปตั้งรกรากใหม่ แม้จะเป็นเพียงฝั่งซ้ายไปฝั่งขวา ก็เขม่นลูกกะตาแล้วว่า ฝีมือใคร! ความรู้สึกพอๆ กับแม่มาเยี่ยมที่หอพัก พอกลับไปแล้ว อะไรที่เคยอยู่ (ไม่เป็นที่) ก็กลายเป็นหายไปตามระเบียบ (เรียบร้อย) คนอยากผอม จึงอยากได้ความเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่ไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง ก็ยังอยากฟินกินสุโก้ยโซ้ยแหลกอยู่นี่นา จะย้ายร่างออกไปตุเลงเต๊งชึ่งในฟิตเนสก็แหม ไม่มีมีเวลามากหรอกนะ คนทำงานมาเหนื่อยๆ มันต้องพักบ้างรู้รึเปล่า

คำว่า “ทั้งปี” มักจะอยู่ในรูปประโยคที่ไม่ค่อยดี เช่น เป็นอย่างนี้ทั้งปี! ที่แสดงถึงการบ่นถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  แต่มองอีกด้าน คำว่า “เป็นอย่างนี้ทั้งปี” มันก็เสมอต้นเสมอปลายดีนะ พอบอกว่า “ทั้งปี” จะหมายถึงอะไรได้บ้าง สภาพอากาศ ฝนตกทั้งปี ออกดอกทั้งปี ออกผลทั้งปี มาถึงคราวนี้ เราจะได้เข้าใจความหมายของคำว่า “ทั้งปี” กันมากขึ้น “ทั้งปี” ไม่ได้หมายถึง “ทุกวัน” เหมือนดอกไม้ที่ออกดอกทั้งปี ก็ไม่ได้ออกดอกทุกวัน จบคาบภาษาไทยแล้ว ออกไปเที่ยวกันได้ เพราะเวลาบอกว่าที่เบตง มีหมอกให้ชมทั้งปี คนก็หมายความว่า มันต้องมีให้เห็นทุกวันสินะ แต่บางครั้ง วันฝนตก อากาศไม่เป็นใจ มวลมหาหมอกก็ไม่มารวมตัวกันให้เราชม เหมือนบรรดาพลังแสงยามเช้าหรือยามเย็น ที่ต้องเฝ้ารอคอยชมความงามกันในแต่ละที่ เจอกับอิทธิฤทธิ์ของเมฆฝนเข้าไป ก็ทำให้บังแสงที่ควรจะส่องให้ชมได้ ที่ “เบตง” ได้ชื่อว่า “เมืองในหมอก” ที่ซึ่งจะชมความงามของหมอกรอบตัวได้ทั้งปี

การได้คุยกับใครสักคน เป็นความสุขหนึ่งที่สร้างความโล่งโปร่งสบายใจ แต่การได้นั่งฟังใครสักคนหนึ่ง ก็ชื่นใจไม่แพ้กัน แถมยังเปิดจินตนาการจากเรื่องเล่าได้ไม่รู้เบื่อ เพราะนี่คือ “เรื่องเล่าแห่งชาวไทลื้อ” จากแม่แสงดา สาวชาวไทลื้อ ผู้มีเรื่องราวมากมาย เป็นนิทานที่ไม่มีวันจบสิ้น กล่อมให้เราตกอยู่ในห้วงแห่งการท่องเที่ยวอย่างมีความสุข   อ.เชียงคำ จ.พะเยา คือ ประสบการณ์แห่งความสุขจากเรื่องเล่าของชาวไทลื้อที่เราได้มาสัมผัสในวันนี้ พร้อมกับความแปลกใหม่กับการสวมชุดไทลื้อออกไปท่องโลกไทลื้อในชุมชนแห่งนี้ [caption id="attachment_16634" align="aligncenter" width="900"] เช่าชุดไทลื้อมาสวมใส่ สร้างประสบการณ์ใหม่ เที่ยวชุมชนไทลื้อ[/caption] ไทลื้อ หรือ ไตลื้อ เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่างๆ ดังที่เราได้ลองแปลงร่างเป็นชาวไทลื้อวันนี้ พบว่า ชุดไทลื้อมีความเรียบง่าย แต่ก็งดงาม [caption id="attachment_16649" align="aligncenter" width="900"]

“ชาวบ้านไม่เคยรู้หรอกว่า ของบ้านๆ ที่ทำใช้กันอยู่เป็นประจำ จะไปไกลสู่สากลได้” รศ.วาสนา สายมา นักสร้างสรรค์จากโครงการ Innovative Craft Award ปี 2555 เจ้าของแบรนด์ Vassana กล่าวในช่วงหนึ่งของการเสวนา ในงานแสดงผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยในวัฒนธรรมร่วม (Cross Cultural Crafts 2018) ซึ่งเธอเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เดินทางไปแลกเปลี่ยนมุมมองการทำงานด้านการจักสานที่ไต้หวัน จนเกิดความประทับใจว่า เพียงการจักสานลายเดียว สามารถต่อยอดการใช้งานได้นับร้อย นับเป็นเส้นทางตัวอย่าง ที่เธอจะนำมาประยุกต์ใช้กับงานจักสานที่เธอได้ร่วมกับชาวบ้านต่อไป [caption id="attachment_16577" align="aligncenter" width="900"] ผลงาน "ระย้าประจำปี" ไม้แขวนจากการผสมผสานงานไทยและไต้หวัน โดย รศ.วาสนา สายมา[/caption] “สิ่งเหล่านี้คือการทำให้ชุมชนมีรายได้จริงๆ ชาวบ้านเขาคิดว่า จักสานคืองานบ้านๆ จะโกอินเตอร์ยังไง เมื่อมีโอกาสสร้างรายได้ ก็เริ่มเห็นภาพ อย่างที่สอนผู้สูงอายุในชุมชน

เพราะความสุขจากการเดินทางท่องเที่ยว ไม่ได้เกิดระหว่างการออกเดินทางเสมอไป คนที่เก็บกระเป๋ารอวันเดินทาง คนที่กำลังออกเดินทาง หรือ คนที่กำลังนั่งมองภาพหลังจากการเดินทาง ต่างก็มีความสุขได้ในมุมที่แตกต่างกัน และอีกมุมแห่งโลกจินตนาการ คือ สัมผัสของมุมมองท่องเที่ยวผ่านงานศิลปะภาพถ่าย ซึ่งวันนี้ มีไอเดียการนำเสนอรูปแบบของนิทรรศการสมัยใหม่ มาแนะนำให้ไปชมกัน อุทยานการเรียนรู้ TK park ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จัดนิทรรศการ France eMotion

เวลาเจอใครแล้วได้รับคำทักทายว่า “ไม่เปลี่ยนไปเลยนะ” ก็แอบยิ้มในใจ เหมือนการได้รับคำถามในครั้งนี้ ก็อยากบอกเหมือนกันว่า แม้จะไม่เหมือนเดิมทั้งหมด แต่ภาพรวมๆ ก็ยังไม่เปลี่ยน นานมาแล้วที่เราเดินทางไปเกาะหมาก และอีกหลายครั้งที่มีโอกาสได้เดินไปทางไปเยือน พร้อมข่าวคราวที่น่ายินดีของเกาะแห่งนี้ ที่ทำให้วันนี้ เกาะหมาก เป็นเกาะหนึ่งในประเทศไทย ที่มีการเจริญเติบโตทางด้านการท่องเที่ยว แต่สภาพแวดล้อมของเกาะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปไหนมาก และวันนี้ก็เป็นโอกาสที่ดีอีกครั้ง เมื่อเกาะหมากได้รับการจัดการที่เข้มแข็งขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตที่อาจจะควบคุมไม่ได้ในอนาคต เพราะปัจจุบัน แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ยังบริหารด้วยคนเกาะหมาก แต่ก็มีบางส่วนถูกขายให้คนต่างพื้นที่แล้ว ดังนั้น นอกเหนือจากการควบคุมทางด้านการก่อสร้างที่ไม่ให้สูงเกินตามกำหนดแล้ว ยังต้องล้อมรั้วเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม จากคนทุกภาคส่วน ไม่นานมานี้ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และประชาชนบนเกาะหมาก จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “เกาะหมากสดใส ร่วมใจลดคาร์บอน Kohmak

ลิ้นกับฟันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะกระทบกัน นั่นคือเรื่องที่เราได้ยินกันมานาน สำหรับการครองชีวิตคู่ ซึ่งคนที่ไม่เคยก็คงไม่รู้ ส่วนคนที่อยู่ในจุดนั้น ต่างก็เจอปัญหาที่แตกต่างกัน แต่วันนี้ปัญหาของลิ้นกับฟัน ที่เคยพลาดเคยเผลอเรอ กระทบกระทั่งกันบ้าง กลับลุกลามไปใหญ่ กลายเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นเด็กและสตรี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าใจหายว่า ในบรรดาความรุนแรงในสังคมทั้งหมด ส่วนใหญ่มาจากครอบครัว ครอบครัว เป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุด แต่ก็มีความสำคัญมากที่สุด เพราะพลังที่ยิ่งใหญ่ย่อมหลอมรวมมาจากจุดเล็กๆ ครอบครัวของเรา บ้านแต่ละหลัง ก็หมายถึงพลังเล็กๆ ในสังคมที่รวมตัวกัน เมื่อวันที่ปัญหาในครอบครัว กลายเป็นสถิติที่พุ่งสูง จึงต้องได้รับการแก้ไขในหลายมิติ หนึ่งในนั้น คือการขจัดต้นทางแห่งปัญหาด้านเศรษฐกิจ วันนี้เรามีโอกาสได้เข้าร่วมงาน “มหกรรมตลาดนัด สร้างอาชีพให้มั่นคง สังคมไทยไร้ความรุนแรง” โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดขึ้นเพื่อแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมพื้นถิ่น ฝีมือกลุ่มสตรีและครอบครัวทั่วประเทศกว่า 200 ร้านค้า และเชิญภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง มาออกบูธและจัดแสดงนิทรรศการประเด็นความรุนแรง อีกจำนวน 45 บูธ นอกจากนี้ ยังมีเวทีเสวนาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงในทุกรูปแบบ

ภาพที่ชินตาหากว่าเราเดินทางไปยังชุมชนห่างไกลในต่างจังหวัด คือบ้านเรือนที่เรียงรายอยู่อย่างเงียบเชียบ มีเพียงคนเฒ่าคนแก่ที่นั่งชะเง้อชะแง้อยู่หน้าบ้าน เพราะลูกหลานต้องไปทำงานหรือไปเรียนกันในเมืองใหญ่ ชีวิตที่แปรเปลี่ยนไป ยามที่เข้าสู่วัยชรา นอกจากกำลังวังชาที่ลดหาย สายตาที่พร่าเลือนแล้ว ความทรงจำดีๆ ก็พาลจะจางตามลงไปด้วย จากที่เคยอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตากัน กลับเหลือเพียงความเดียวดาย บางบ้านเหลือกันเพียงสองตายาย แย่หน่อยก็ตอนที่คนใดคนหนึ่งต้องจากไปก่อน "เพราะไม่อยากคุณพ่ออันเป็นที่รักต้องประสบกับภาวะนี้ จึงเป็นที่มาของการสร้างชีวิตให้มีชีวิตชีวา พร้อมส่งต่อความเป็นชีวิตให้กับอีกหลายครัวเรือน" พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต ตำบลหนองพันทา อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ  รวบรวมวิถีชีวิตของคนบึงกาฬในอดีตมาไว้บนเรือนไม้หลังเก่าอันเป็นบ้านแห่งความรักความห่วงใย  จากฟู้ดสไตลิสต์ชื่อดัง “คุณขาบ สุทธิพงษ์ สุริยะ” ที่ดัดแปลงบ้านที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เด็กๆ มาเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้วิถีชุมชน โดยผสานความเป็นศิลปะกับธรรมชาติแห่งวิถีชีวิตได้อย่างลงตัว พี่หวัง หรือ สจ.สมหวัง  สาวเก่งสาวแกร่งแห่งโซ่พิสัย หนึ่งในครอบครัวสุริยะ เล่าให้ฟังคร่าวๆ ว่า นี่คือบ้านหลังเดิมที่อาศัยอยู่มาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ คุณขาบและพี่น้องอยู่บ้านหลังนี้มาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อพวกเขาเติบโต ก็ออกไปมีครอบครัวและทำงานในต่างพื้นที่ เหลือแค่เพียงพ่อและแม่ ในครอบครัวก็คิดกันว่า ทำอย่างไรให้มีใครสักคนเข้ามาอยู่เป็นเพื่อนพ่อกับแม่ น้องสาวคนเล็กจึงเสียสละ