Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meetthinks

วัฒนธรรมการดื่มกาแฟของคนไทยได้ขยายตัวขึ้นจนกลายเป็น “ไลฟ์สไตล์” ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการชงดื่มที่บ้าน ที่ทำงาน นัดพบปะสังสรรค์ การออกเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันพบว่า คนไทยมองหาร้านกาแฟเช่นเดียวกับการมองหาที่พักและร้านอาหาร และกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อออกทริป แต่ด้วยโอกาสอันหอมกรุ่นของตลาดกาแฟในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดร้านกาแฟขึ้นเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าชุมชนไหนก็มีร้านกาแฟเปิดให้บริการ แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตลอดระยะสองปีที่ผ่านมา ตลาดร้านกาแฟก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับธุรกิจบริการอื่น ๆ ร้านขนาดเล็ก-กลาง มีการปิดตัวไปมาก สาเหตุหลักมาจากผลกระทบจากการท่องเที่ยว และวิถีการดื่มกาแฟของคนไทยยังไม่เปลี่ยนไปไหน นายมีชัย อมรพัฒนกุล นายกสมาคมบาริสต้าไทย เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19  การบริโภคกาแฟในส่วนของภาคการท่องเที่ยวและการเดินทางมีอัตราที่ลดลง แต่พฤติกรรมของคนยังคงเลือกซื้อกาแฟเพื่อดื่มที่บ้านแทนการออกไปดื่มที่ร้าน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตลาดร้านกาแฟ โดยประมาณการณ์ค่า หากบรรยากาศการท่องเที่ยวกลับคืนสู่ปกติ ตลาดร้านกาแฟยังสามารถขยายตัวได้ถึง 3 เท่า อีกทั้งยังมีกาแฟที่หลากหลายรูปแบบและระดับราคาเข้ามามากขึ้น อาทิ กาแฟแก้วละ 800 บาท "ในภาวะปกติธุรกิจกาแฟและร้านกาแฟเติบโตอยู่ที่ 3-5% มูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ

‘มิชลิน ไกด์’ และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมแถลงข่าวการขยายขอบเขตคัดสรรร้านอาหารเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือ “ภาคอีสาน” ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของไทยครอบคลุม 20 จังหวัด โดยคู่มือมิชลิน ไกด์ ประเทศไทย ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นฉบับที่ 6 ของไทยและมีกำหนดเผยแพร่ปลายปี 2565 นี้ ได้เลือก นครราชสีมา, อุบลราชธานี, อุดรธานี และ ขอนแก่น เป็น 4 เมืองตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะสะท้อนอัตลักษณ์อาหารอีสานที่โดดเด่นและมีรสชาติจัดจ้าน ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลาย อาหารอีสานมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรเขมรโบราณ รวมทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว เวียดนาม กัมพูชา และจีน  ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วยทุ่งหญ้าและผืนป่าบนที่ราบสูงและเทือกเขาซึ่งเหมาะกับการทำปศุสัตว์ นอกจากนี้ภาคอีสานยังเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง ทั้งข้าวหอมมะลิที่โด่งดังไปทั่วโลกและข้าวเหนียว  อาหารอีสานส่วนใหญ่จะไม่ใช้อาหารทะเลเป็นวัตถุดิบเนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ไม่ติดกับทะเลหรือมหาสมุทร

ราว 40 กิโลเมตรจากตัวเมืองแพร่ เส้นทางบนเนินเขาที่คดเคี้ยว มองเห็นทัศนียภาพอันสวยงาม ดินแดนแห่งนี้มีชื่อสั้น ๆ ว่า “ลอง” เดิมเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลำปาง หลังจากการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง ในปี 2475 ทางการจึงได้โอนเมืองลองมาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่ เอกลักษณ์ของเมืองลอง จึงมีความแตกต่างจากเมืองแพร่ แม้จะใช้ภาษาเดียวกัน แต่หากวิเคราะห์ถึงรายละเอียดที่ลึกลงไป คนเมืองลอง มีตัวตนที่แตกต่างจากคนแพร่ และนี่คือเรื่องราวของเมืองลอง ผ่านมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมเมืองลอง เจ้าของพิพิธภัณฑ์กมลผ้าโบราณ อาจารย์โกมล พานิชพันธ์ ที่ Meetthinks มีโอกาสได้ร่วมพูดคุยถึงความเป็นไปของเมืองลองในปัจจุบัน [caption id="attachment_27268" align="alignnone" width="799"] เส้นทางจากเมืองแพร่สู่เมืองลอง เต็มไปด้วยความสวยงาม[/caption] ท่องเที่ยวเมืองลองในทัศนะของคนเมืองลอง “อยากให้การท่องเที่ยวเมืองลองไปในแนวของเชิงวัฒนธรรม เพราะเราอาจจะไม่มีวิวที่สวยที่สุด แต่เรามีสิ่งหนึ่งคือ  ตัวตน ของตัวเอง ก็คือวัฒนธรรมความเป็นคนเมืองลอง ถามว่าคนเมืองลองกับแพร่เหมือนกันหรือเปล่า ภาษาเหมือนกัน

การท่องเที่ยวสายมู เป็นกิจกรรมที่กำลังมาแรง เพราะนอกจากจะได้ออกเดินทางไปชมความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ แล้ว ยังถือเป็นโอกาสที่ดีในการเสริมพลังเติมกำลังใจ รับสิ่งดี ๆ อันเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต เรียกว่าไปเที่ยวทีก็เก็บพลังบวกกลับมาบ้านแบบจัดเต็ม ตามความเชื่อของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ปี 2565 ซึ่งเป็นปีนักษัตรปีขาล หรือ ปีเสือ ดังนั้นผู้ที่เกิดปีขาล ไม่ว่าจะมาจากจังหวัดไหน จะมุ่งหน้าไปจังหวัดแพร่ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของ “วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง” วัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ อันเป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป  และเป็นพระธาตุประจำปีขาลหรือปีเสือ ในปีนี้เมืองแพร่จึงมีความคึกคักเป็นพิเศษ นอกจากคนเกิดปีขาลแล้ว  คนเกิด “ปีชง” (ปีวอก ปีมะเส็ง ปีกุน) ก็เป็นกลุ่มที่นิยมเดินทางมากราบพระธาตุช่อแฮด้วยเช่นกัน [caption id="attachment_27192" align="alignnone" width="800"] นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์  เป็นประธานปล่อยขบวนคาราวาน ณ สถานีบริการน้ำมัน

ททท.กระบี่ ผนึกอ่าวนาง ทราเวล แอนด์ ทัวร์ ,โรงแรมอ่าวนางปริ้นซ์วิลล์ รีสอร์ทแอนด์ สปา และสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย  เปิดตัว Krabi Wellness Sunset Cruise มิติใหม่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านเส้นทางล่องเรือสำราญ Aonang Princess 8 ชมกระบี่ ซันเซ็ทที่สวยงาม   นายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก กรรมการบริหาร บริษัท อ่าวนาง ทราเวล แอนด์ ทัวร์ และ โรงแรมอ่าวนางปริ้นซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ทแอนด์ สปา เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดตัวโครงการ Krabi Wellness Sunset Cruise มิติใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านเส้นทางล่องเรือหรูชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า ด้วยเรือ

ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราเดินทางมายังเกาะลันตา และดูเหมือนทุกครั้งที่เดินทางเข้ามา เราก็ได้พบกับเรื่องราวใหม่ ๆ อยู่เสมอ แม้ในจุดเดิม ๆ ก็ยังเพิ่มเติมด้วยมุมมองใหม่ เป็นความเคลื่อนไหวที่ไม่เคยซ้ำ เหมือนอะไรหลาย ๆ อย่างบนเกาะลันตา ที่สามารถสะท้อนความเป็นตัวตนได้อย่างชัดเจน สีสันแห่งยามเช้า ชมพระอาทิตย์ขึ้นปากอ่าว ทุ่งหยีเพ็ง เพราะธรรมชาติ คือ แหล่งพักพิงที่ช่วยผ่อนคลายกายใจได้เป็นอย่างดี ยามเช้าบนเกาะลันตาจึงมีกิจกรรมดื่มด่ำบรรยากาศยามเช้าท่ามกลางธรรมชาติอันแสนสงบ ได้เราได้พบกับการพักผ่อนที่แท้จริง ภายใต้บรรยากาศของเช้ามืดอันแสนสงบ เรือแจวลำน้อยค่อย ๆ เคลื่อนตัวออกจากลำคลอง มีแค่เสียงพายกระทบน้ำเบา ๆ กับสายลมที่เคล้าคลอ นกกาเริ่มออกเสียงอยู่ไกล ๆ เป็นความเคลื่อนไหวที่สงบนิ่ง จนกว่าแสงแห่งวันใหม่จะสาดส่อง “ทุ่งหยีเพ็ง” เป็นจุดท่องเที่ยวแห่งใหม่บนเกาะลันตาที่ยังไม่มีใครรู้จักมากนัก  เป็นชุมชนมุสลิมที่อาศัยอยู่บนเกาะลันตามากว่า 100 ปี โดยคำว่า “ทุ่งหยีเพ็ง” มาจากผืนป่าชายทะเลอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในอดีต “โต๊ะหยีเพ็ง”  หรือ

ความสวยงามของท้องทะเลอันดามัน เป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาจังหวัดกระบี่ ไม่ว่าจะลงไปเกาะหรือจะเข้าพักตามชายหาดต่าง ๆ ก็จะได้สัมผัสกับบรรยากาศของการพักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่กระบี่ก็มีดีกว่าทะเล ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติที่หลากหลาย จึงยังมีมุมใหม่ ๆ ที่ชวนให้ไปชม เยือนทะเลหมอกกระบี่ ที่ดินแดงดอย กระบี่มีจุดชมวิวมุมสูงบนเนินเขาหลายแห่ง แต่ละที่ก็มีระดับความแอดเวนเจอร์มากน้อยแตกต่างกันไป สำหรับทริปชมแสงยามเช้า เคล้าทะเลหมอกท่ามกลางขุนเขาที่จังหวัดกระบี่ แบบเบา ๆ ขอแนะนำที่ “ดินแดงดอย” ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง ดินแดงดอย เป็นเนินเขาเตี้ย ใช้เวลาเดินขึ้นไป 15-20 นาที ตามกำลังแข้งขาของแต่ละคน ใครที่ออกกำลังกายเป็นประจำก็จะรู้สึกสบาย ๆ ส่วนใครที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ก็จะเคลื่อนไหวกันช้าหน่อย แต่รับรองว่าไม่ต้องปีนป่ายให้ยากลำบากอะไรมากนัก เหนื่อยก็หยุดพักได้ แถมระยะทางเดินขึ้นก็ไม่ไกล กะประมาณที่ 300 เมตรแบบไต่เนินเขา แนะนำว่าควรมาถึงบริเวณทางขึ้นประมาณตีห้าครึ่ง เมื่อรวมเวลาเดินขึ้นเนินเขาแล้ว ก็จะทันพระอาทิตย์ขึ้นพอดี ด้านบนดินแดงดอยเป็นจุดชมวิวที่กว้างใหญ่ เกือบ 360 องศา สามารถมองเห็นภาพบรรยากาศทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

การได้ลัดเลาะเสาะหาของกินในย่านชุมชน เป็นหนึ่งในความสุขที่หลายคนแสวงหาเมื่อได้เดินทางไปยังต่างถิ่น ทั้งในและต่างประเทศ จนบางทีอาหารกลายเป็นตัวเป้าหมายหลักของการเดินทาง ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมบนโลกนี้ ทำให้มีเรื่องเล่า เรื่องราวของอาหารการกิน สะท้อนให้เห็นถึงอดีตอันเป็นที่มาของอาหารนั้น ๆ เหมือนเรื่อง ๆ หนึ่งที่คิดแล้วเห็นภาพ อย่างเมนู “ปูผัดพริกฮ่องกง” ของร้าน “อำแดงไต้ฝุ่น บายเดอะริเวอร์” ย่านพระราม 3 ซึ่งใช้ “ไต้ฝุ่นซอส” อันมีแนวคิดจากเหตุการณ์จริงที่เกิดสมัยที่เกิดพายุที่อ่าวอะเบอร์ดีน ฮ่องกง ซึ่งเล่ากันว่าในตอนนั้นชาวประมงต้องล่องเรือหลบพายุในอ่าวและใช้ชีวิตบนเรือร่วมกับครอบครัว เมื่อต้องทำอาหารเลี้ยงครอบครัว ก็หยิบจับวัตถุดิบง่าย ๆ อย่างกระเทียม พริกแห้ง เต้าซี่ ที่มีอยู่ในเรือ มาผัดกับปู ปลา หมึก กุ้ง อะไรก็ตามที่มีในตอนนั้น จากอุปสรรค ความยากลำบาก ผ่านการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด ทำให้เกิดเมนูที่ขึ้นชื่อในร้านอาหาร พาให้นึกไปถึงอีกหลายต่อหลายเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดขึ้นของอาหารในเมืองไทย รวมทั้งวิถีการกินที่ผสานชีวิตความเป็นอยู่

“วิถีศรัทธาอีสาน : มรดกวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน”นิทรรศการ ที่บอกเล่าเรื่องราวผ่าน พระไม้หรือพระพุทธรูปและฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)  ศิลปะนาอีฟ ของช่างแต้มอีสาน รศ.ดร. น้ำฝน ไล่สัตรูไกล ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการเล่าว่า แรงบันดาลใจในการจัดนิทรรศการในครั้งนี้เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปไม้ ในศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์  อันสามารถสร้างเป็นต้นแบบนิทรรศการงานศิลปะของท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่ศิลปะท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น อันเป็นพันธกิจสำคัญของโครงการ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ นิทรรศการเล่าผ่านพระไม้ และงานจิตรกรรมฮูปแต้ม ผสมผสานกับเทคนิด ดิจิลทัลแบบ immersive เพื่อสร้างความกลมกลืนระหว่างโลกความจริงและเทคโนโลยี “พระไม้” เป็นศาสนวัตถุที่ครั้งหนึ่งนิยมสร้างเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมอีสาน  และสะท้อนความเป็นมาของวิถีชีวิต ประเพณี ภูมิปัญญาตามคติความเชื่อในพุทธสาสนา แสดงถึงเอกลักษณ์ของคนอีสาน คติความเชื่อการสร้างพระพุทธรูปนั้นได้เผยแพร่ไปในดินแดนต่าง ๆ สังคมอีสานก็มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับดินแดนใกล้เคียง  และได้สร้างวัฒนธรรม ด้วยการผสมผสาน ความเชื่อทางศาสนากับ ความเป็นครูช่างทางหัตถศิลป์ชุมชนเข้าด้วยกัน และสร้างเป็นภูมิปัญญาขึ้นมาใหม่นั่น ก็คือพระพุทธรูปไม้ในรูปแบบอีสานพระไม้ในภาคอีสานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

อาหารเยอรมันเป็นอีกสไตล์ที่นักชิมชาวไทยชื่นชอบ เพราะมันอร่อยแบบเต็มปากเต็มคำ ลิ้มรสแล้วได้บรรยากาศแห่งความสุขสันต์หรรษา อีกทั้งเบียร์เยอรมัน ก็เป็นเบียร์ที่คนไทยและคอเบียร์ทั่วโลกชื่นชอบ หลังจากมาตรการผ่อนคลายให้ร้านอาหารเปิดให้บริการได้ตามปกติแล้ว หนึ่งในการพักผ่อนหย่อนใจที่ดี คือการได้พบเจอเพื่อนฝูง ได้ออกไปกินข้าวกับครอบครัว และอาหารเยอรมันสไตล์ “เบียร์การ์เด้น” ก็เป็นหนึ่งในลิสต์ที่ต้องไปสัมผัส และกล่าวถึงเบียร์การ์เด้นบรรยากาศดี ๆ ที่มีทั้งความร่มรื่นชื่นใจ มีอาหารอร่อยมากมาย พร้อมเครื่องดื่มที่หลายคนชอบใจ ก็ต้องที่ “พอลลาเนอร์ การ์เด้นท์” (Paulaner Garden) ร้านอาหารพอลลาเนอร์ การ์เด้นท์ สาขาศรีนครินทร์ เป็นร้านอาหารเยอรมันยอดนิยมที่นักชิมต่างรู้จักเป็นอย่างดีมากว่า 16 ปี ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจากความชื่นชอบในการเสาะหาอาหารอร่อยของเจ้าของร้านในฐานะนักชิม นำมาเป็นแรงบันดาลใจเพื่อส่งมอบความสุขจากอาหารดี ๆ ผสมผสานกับความชื่นชอบร้านอาหารที่มีความโปร่ง โล่ง นั่งสบาย เหมือนนั่งในสวนหน้าบ้าน ทำให้ผู้มาเยือนรู้สึกอบอุ่นและเป็นกันเอง เสมือนมาสังสรรค์ที่บ้านเพื่อนสไตล์เยอรมัน เดิมทีร้าน Paulaner Garden ตั้งอยู่ย่านแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่ย่านศรีนครินทร์

ในยุคที่มีกาแฟแก้วละหลายสิบจนไปถึงหลักร้อย อยากกินเบเกอรี่ดี ๆ สักชิ้นต้องจ่ายแพงเป็นร้อย “ความคุ้มค่า” จึงเป็นช่องว่างทางการตลาด ที่ก็ต้องอาศัยความ “จริงใจ” มากกว่าการแสวงหาเพียง “กำไร” จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ แห่งความสำเร็จของร้านขนมปัง “Daily Bread” ย่านปาตอง จ.ภูเก็ต ทำเลที่ใครหลายคนเคยคิดว่า อะไร ๆ ก็แพง แต่วันนี้คนภูเก็ต ทั้งชาวบ้าน คนทำงาน หรือ นักท่องเที่ยว สามารถเอื้อมถึงเบเกอรี่คุณภาพดีระดับโรงแรม ในราคาเริ่มต้น 10-45 บาทเท่านั้น ใครที่ไปเดินเล่นย่านป่าตอง บนถนนนาใน มีร้านขนมปังเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า “Daily Bread” (เดลี่ เบรด) เป็นแบรนด์ของคนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต เจ้าของเดียวกับ

คำว่า “สะดวก” กับ “สบาย” มักอยู่คู่กัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อมีความสะดวก ทุกคนจะต้องสบาย  บางคนเลือกใช้ชีวิตที่ไม่จำเป็นต้องสะดวกสบายมากนัก แต่พวกเขาก็รู้สึกพอใจที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ แถมยังไม่สร้างกระทบทางลบให้กับใครอีกด้วย เทรนด์ของที่พักรักษ์โลก ที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในแนวทางการบริหารจัดการที่ได้รับความสนใจจากธุรกิจโรงแรมหรือรีสอร์ตทั่วโลก หากย้อนไปก่อนหน้านี้ ที่พักแนว “โฮมสเตย์” ก็ถือว่าเข้าข่ายหลักการของที่พักรักษ์โลกอยู่พอสมควร ทั้งการให้แขกผู้เข้าพักได้ใช้ชีวิตแบบคนท้องถิ่น กินอยู่แบบเดียวกับเจ้าบ้าน ได้อุดหนุนผลผลิตหรือสินค้าจากชุมชน ลดการใช้ทรัพยากรที่มากเกินไปแบบที่โรงแรมทั่วไปให้บริการ ไม่นานมานี้เราได้เดินทางไปจังหวัดสระบุรี เพื่อติดตามการทำงานในโครงการพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน ปีที่ 9 ซึ่งได้เห็นเส้นทางของการก่อร่างโมเดลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทำได้จริง สอนกันได้ เรียนรู้กันได้ และใช้ชีวิตอยู่ได้จริง แบบที่มีกิน มีแบ่ง มีขาย พื้นที่ในจังหวัดสระบุรี เป็นพื้นที่แรกที่โครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้น ปีที่ 9 ของการสรุปความสำเร็จของโครงการจึงย้อนกลับมายังจุดเริ่มต้นตรงนี้ ซึ่งปัจจุบันมีเครือข่ายคนมีใจที่แข็งแกร่ง  และในครั้งนี้ เรามีโอกาสได้เข้าพักที่

โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) จัดงานสรุปผลความสำเร็จหลังดำเนินงานมาครบ 9 ปี เผยผลการดำเนินงานดีเกินคาด ทั้งด้านการสร้างคนมีใจ เครือข่าย และศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย หนุนแนวคิดในการนำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ 22 ลุ่มน้ำในประเทศ เกิดการรับรู้และกระแสความตื่นตัวที่ ส่งแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนเชิงนโยบาย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า “จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ที่ทรงแสดงความห่วงใยต่อปัญหาภัยแล้งและปัญหาอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2556 ด้วยความร่วมมือระหว่าง

ความเรียบง่าย แฝงไว้ด้วยความอบอุ่น จากสีสันที่สะท้อนความสัมพันธ์กับท้องทะเล เป็นเสน่ห์ของการออกแบบตกแต่งสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีอิทธิพลจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในแถบชายทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไม่ว่าจะเป็น สเปน กรีซ หรือ อิตาลี ความเรียบง่ายแต่ดูดี มีความโล่ง โปร่ง สบายตา เหมาะกับการนำมาเป็นแรงบันดาลใจ ในการสร้างช่วงเวลาแห่งความผ่อนคลาย และนี่คือภาพที่เราได้เห็นเมื่อมาเยือน "โอเอซิส เทอร์ควอยซ์ โคฟว สปา” จังหวัดภูเก็ต โอเอซิส เทอร์ควอยซ์ โคฟว สปา ตั้งอยู่ใกล้ชายหาดกมลา ไม่ไกลจากหาดป่าตอง มองจากด้านหน้าจะเห็นกำแพงสีสันสดใสดังทะเล โดดเด่นตั้งแต่แรกเห็น เมื่อเดินเข้าไปในโซนต้อนรับ ก็พบกับความโปร่งโล่งสบาย ดูเป็นกันเอง แต่ก็แอบเรียบหรูด้วยเฟอร์นิเจอร์แบบเมดิเตอร์เรเนียน มองเข้าไปด้านใน พบกับเอกลักษณ์ของโอเอซิสสปา นั่นคือสระว่ายน้ำกลางแจ้งสีเทอร์ควอยซ์ ที่ตั้งอยู่ส่วนกลาง ขนาบด้วยห้องสปาแบบวิลล่าที่มีกำแพงต้นไม้กั้นพื้นที่ส่วนตัวได้อย่างร่มรื่น เมื่อมาถึงพนักงานจะต้อนรับด้วยความสดชื่นของน้ำสมุนไพรหอมเย็นชื่นใจ พร้อมอธิบายรายละเอียดของแพ็กเกจสปาที่จองไว้ วันนี้ใช้บริการทรีตเม้นท์ที่เป็นเอกลักษณ์ “คิง

ความงดงามของคืนวันที่คั่นด้วยรอยต่อของแสงตะวัน เป็นภาพปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ภายใต้รูปแบบที่ไม่เคยซ้ำ ไม่ว่าอยู่จุดไหนของมุมโลก เมื่อแสงแห่งวันส่งสัญญานจากลา หากทำได้ คนเราก็จะหยุดพัก เพื่อจ้องมองความเคลื่อนไหว รอคอยการกลับมาของเช้าวันใหม่อย่างมีความหวัง ในเมืองไทยมีจุดชมพระอาทิตย์ตกสวย ๆ ทั่วประเทศ แต่หากใครได้มาเยือนจังหวัดกระบี่ แล้วมีโอกาสแวะมาที่อ่าวนางในตอนเย็น  บรรยากาศของความผ่อนคลาย ที่กระจายตัวอยู่ริมชายหาดอ่าวนาง เป็นอีกมุมพักสายตา ที่ไม่อยากให้พลาด เวิ้งชายหาดที่ทอดยาว รับกับแนวภูเขาสูง เป็นอีกมุมสวยที่อ่าวนาง ที่เราสามารถเข้ามาชื่นชมได้ตลอดทั้งวัน และจะมีสีสันมากขึ้นในยามเย็น ไม่ว่าจะเลือกนั่งชิลล์ตรงร้านอาหารริมชายหาด ที่อยู่ใกล้กับ เซ็นทารา อ่าวนางบีช รีสอร์ต หรือ จะเดินเล่นบนผืนทราย รอเวลาที่แสงแห่งวันเจิดจ้าก่อนจะโบกมือลาลับไป ให้ทุกสรรพสิ่งได้พัก เพื่อจะกลับมาพบกันใหม่ แต่วันนี้มีกิจกรรมชมพระอาทิตย์ตกอย่างมีลีลา ให้เราได้ออกแรงแข้งขาท้าทายแรงดึงดูดของโลกกันแบบเบา ๆ กับกิจกรรมแพดเดิ้ลบอร์ดยืนพาย (SUP : Stand up Paddle Board)

ภาษาของแต่ละถิ่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คำที่พื้น ๆ ก็อาจจะเป็นที่คุ้นเคย อย่าง แซ่บบ่  ลำก่อ  หรอยม่าย แต่ในภาษาถิ่นยังมีความแตกต่างของศัพท์เสียงของแต่ละพื้นที่ เป็นคำที่ลึกลงไป บางครั้งคนในพื้นถิ่นเดียวกัน หากไม่ได้ใช้คำนั้นไปนาน ๆ ก็อาจจะลืม เราเดินทางไปเที่ยวกระบี่ครั้งนี้ ได้เจอมุมมองใหม่ มุมมองที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ ที่มีทั้งแหล่งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม ซึ่งสะท้อนความอุดมสมบูรณ์จากความหลากหลายทางชีวภาพ หากใครรู้จักสระมรกต หรือ ท่าปอมคลองสองน้ำ จะพอนึกออกว่า นอกจากจะเลอันดามันแล้ว กระบี่ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกมาก ครั้งนี้เรามุ่งหน้าสู่ “คลองหรูด” หรือ “คลองน้ำใส” ต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่ เพื่อนร่วมทริปชาวกรุงงงมากกับการออกเสียง “หรูด” ในภาษาใต้ แถมไม่เข้าใจความหมายของมัน “หรูด” (การออกเสียงในภาษาใต้จะออกเสียงสูง ประมาณว่า รู้ด) ในภาษาถิ่นใต้

ถ้า “มาหยา” เป็นลูกสาว หัวกระไดบ้านเธอคงไม่เคยแห้ง และคงหักพังจนต้องซ่อมแซมไปแล้วไม่รู้กี่ครั้ง เพราะในบรรดาเกาะแก่งชายหาดในแถบกระบี่ เธอได้ชื่อว่า เป็นเจ้าหญิงที่แสนงดงาม คำว่า “มาหยา”  หมายถึง “เจ้าหญิงแห่งท้องทะเล” หรือ “เจ้าหญิงแห่งอันดามัน” ใครได้มาเยือนต้องหลงรัก และไม่อยากเดินออกจากไปง่าย ๆ แม้จะกลับไปแล้ว ก็ยังคิดถึงและอยากกลับไปหาอยู่เสมอ “มาหยา” เธอไม่ได้มีเวทย์มนต์มายาใด ๆ แต่ด้วยทะเลที่มีสีสันสดใส หาดทรายขาวเนียนดั่งแป้ง โอบล้อมด้วยพลังแห่งขุนเขา “อ่าวมาหยา” จึงเต็มไปด้วยเสน่ห์ที่ไม่เคยเสื่อมคลาย 3 ปีเศษที่กรมอุทยานฯ ประกาศปิดอ่าวมาหยา กับการกลับมาเปิดให้เที่ยวชมได้อีกครั้งเมื่อต้นปี 2565 นับเป็นการปรากฎโฉมครั้งใหม่ที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก การฟื้นตัวของทรัพยากรธรรมชาติส่งผลให้ปัจจุบันบริเวณอ่าวมาหยา มีฝูงฉลามครีบดำว่ายวนไปมา จึงถือเป็นการกลับมาที่คุ้มค่าจริง ๆ  Amazing ยิ่งกว่าเดิม การกลับมาครั้งใหม่ต้องไฉไลกว่าเดิม เพราะเรียนรู้แล้วว่า ทรัพยากรทางทะเลเต็มไปด้วยคุณค่า หากถูกกระทบกระเทือนมากเกินไป ต้องใช้เวลาอันยาวนานในการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง

กว่า 200 ปีที่ชาวบ้านมาบเหลาชะโอน จ.ระยอง มีวิถีชีวิตอยู่กับภูมิปัญญาการสานกระจูดหรือกก ซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นอยู่มากในละแวกใกล้เคียง จากการนำกระจูดมาสานเป็นเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กว่า 100 แบบ เพื่อตอบรับความต้องการทางตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้และความภาคภูมิใจให้กับชุมชน ขณะที่ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ยังเนรมิตรกระจูดให้ชาวบ้านได้ตัดมาสร้างสรรค์ผลงานแบบไม่มีหมด ในอดีตชาวบ้านจะนำกระจูดมาสานเป็นเครื่องใช้ภายในบ้าน  รวมทั้งสานเป็นเสื่อกระสอบสำหรับใส่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หรือเป็นภาชนะใส่เกลือ จนทำให้เป็นที่รู้จักกันมากในภาคตะวันออก กลายเป็นแหล่งรายได้ของคนในอำเภอแกลงมาจนถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาการสานกระจูดตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อทางรัฐบาลเข้ามาส่งเสริม จึงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร “กลุ่มจักสานกระจูดมาบเหลาชะโอน” ตั้งแต่ปี 2548 โดยมี “นางสุนทรี ยิ้มเยื้อน” เป็นผู้นำ ใครที่สนใจอยากช้อป อยากชม หรืออยากลองสานกระจูด ทางกลุ่มแม่บ้านพร้อมต้อนรับ ถือเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ครั้งนี้เราเข้ามาที่กลุ่มจักสานฯ ยังคงพบแม่บ้านที่เสร็จจากภารกิจอื่น ๆ มานั่งล้อมวงจักสานกระจูดเป็นรายได้เสริมและเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ ใครมาเพื่ออุดหนุนสินค้าก็จะได้รู้ได้เห็นที่มาของการจักสานกระจูด ขั้นตอนการจักสานกระจูด เริ่มหลังจากที่ชาวบ้านไปตัดกระจูดขนาดความยาวประมาณ 1-2 เมตรมาแล้ว ต้องนำมาคัดเส้น เลือกเส้นที่มีความสมบูรณ์ แล้วนำเส้นกระจูดมาคลุกกับดินนวลสีขาวที่ผสมน้ำ

ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ชุ่มน้ำ แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ทางธรรมชาติในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยคำว่า “พื้นที่ชุ่มน้ำ” (Wetland) หมายถึงพื้นที่ที่มีน้ำเป็นปัจจัยหลักในการควบคุมสภาพแวดล้อม หรือการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปแล้ว พื้นที่ชุ่มน้ำจะเกิดจากระดับน้ำใต้ดินที่อยู่ใกล้ผืนดินมาก ๆ ลักษณะจึงเป็นที่ราบลุ่ม ที่มีพื้นที่แฉะคล้ายน้ำท่วมขัง มีการไหลเวียนของน้ำตามฤดูกาล   โลกของเรามีพื้นที่ชุ่มน้ำรวมกันราว 10 ล้านตารางกิโลเมตร หรือราวร้อยละ 6 ของพื้นที่ผิวโลกทั้งหมด พื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งอาจเป็นเพียงพื้นที่ส่วนน้อยของโลก แต่ถือเป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่มีสภาพแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก (ที่มา : https://ngthai.com/science/30325/wetland/) ด้วยลักษณะพิเศษที่มีความผสมผสานระหว่างผืนดินและน้ำ รวมทั้งลักษณะของน้ำที่มีได้ทั้ง น้ำจืด น้ำเค็ม หรือ น้ำกร่อย ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นบ้านที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย ด้วยความแปลกตาทางธรรมชาติทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำส่วนใหญ่ มีเสน่ห์และเอกลักษณ์เฉพาะตัว เหมาะแก่การเข้าชมเพื่อศึกษาธรรมชาติ และกลายเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจกันมาก เราเดินทางมาที่ “สวนพฤกษศาสตร์ระยอง” อีกครั้งที่ความอลังการซ่อนเร้นอยู่ในผืนน้ำและผืนป่าขนาดใหญ่  รวมพื้นที่กว่า 3,000 ไร่

ด้วยประโยชน์ของไม้กฤษณา ที่มีสรรพคุณในการบำรุงสุขภาพ รวมทั้งเป็นไม้เนื้อหอมที่นิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมัน สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบทางยา ใช้เป็นน้ำหอมสำหรับประพรมร่างกาย นำมาผสมเป็นเครื่องดื่มก็ได้ เป็นไม้ที่ได้รับความนิยมปลูกเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ จึงเป็นไม้ที่มีราคาแพงอันดับต้น ๆ ของโลก ในประเทศไทยมีแหล่งปลูกไม้กฤษณาอยู่หลายแห่ง แต่ใครที่อยากสัมผัสคุณค่าของไม้กฤษณาแบบครบวงจร ต้องไปที่สวนหอมมีสุข หรือ  “มีสุขฟาร์ม” (Mesook Farm) จ.ระยอง ดินแดนที่ร่มรื่นใต้ผืนป่ากฤษณา และสวนผสม กว่า 200 ไร่ พร้อมด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ท่ามกลางธรรมชาติ แถมยังมีที่พักและร้านอาหารให้บริการอีกด้วย สวนหอมมีสุข ตั้งอยู่ที่บ้านไร่จันดี ต.กะเฉด ซึ่งตามประวัติประเทศไทยมีการค้าขายแก่นไม้กฤษณามานานแล้ว แต่ที่ได้เริ่มทำธุรกิจตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งตามตำราไทยระบุว่า กฤษณามีรสขมหอม สุขุม คุมธาตุ บำรุงโลหิตในหัวใจ บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ปอด แก้ไข้ อาเจียน ปวดตามข้อ