Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

รวมพลคนปีขาล กราบพระธาตุช่อแฮ แล้วไปเที่ยวเมืองแพร่ม่วนใจ๋

การท่องเที่ยวสายมู เป็นกิจกรรมที่กำลังมาแรง เพราะนอกจากจะได้ออกเดินทางไปชมความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ แล้ว ยังถือเป็นโอกาสที่ดีในการเสริมพลังเติมกำลังใจ รับสิ่งดี ๆ อันเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต เรียกว่าไปเที่ยวทีก็เก็บพลังบวกกลับมาบ้านแบบจัดเต็ม

ตามความเชื่อของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ปี 2565 ซึ่งเป็นปีนักษัตรปีขาล หรือ ปีเสือ ดังนั้นผู้ที่เกิดปีขาล ไม่ว่าจะมาจากจังหวัดไหน จะมุ่งหน้าไปจังหวัดแพร่ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของ “วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง” วัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ อันเป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป  และเป็นพระธาตุประจำปีขาลหรือปีเสือ

ในปีนี้เมืองแพร่จึงมีความคึกคักเป็นพิเศษ นอกจากคนเกิดปีขาลแล้ว  คนเกิด “ปีชง” (ปีวอก ปีมะเส็ง ปีกุน) ก็เป็นกลุ่มที่นิยมเดินทางมากราบพระธาตุช่อแฮด้วยเช่นกัน

นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์  เป็นประธานปล่อยขบวนคาราวาน ณ สถานีบริการน้ำมัน พีที พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์   

ไม่นานมานี้ สมาคมภัตตาคารไทย จัดกิจกรรมคาราวานโครงการเที่ยวด้วยกัน “เที่ยวเมืองปากน้ำโพ แอ่วเมืองแป้ม่วนใจ๋ สุขใจ๋ได้บุญ” โดยได้รับการสนับสนุนจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานแพร่- อุตรดิตถ์ และ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารสถานีบริการ PT

คาราวานแอ่วเมืองแพร่ในครั้งนี้ นำทีมโดย นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย โดยมีทีมเจ้าบ้านเมืองแพร่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ได้แก่ นายอนันต์ สีแดง ผอ.ททท. สำนักงานแพร่- อุตรดิตถ์ นางธันกมน ทรชวพงศ์ ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร และ นางสุภารัตน์ การะเกตุ ประธานสตรี อ.เด่นชัย จ.แพร่

อนันต์ สีแดง ผอ.ททท. สำนักงานแพร่- อุตรดิตถ์

นายอนันต์ สีแดง ผอ.ททท. สำนักงานแพร่- อุตรดิตถ์ ในปี 2565 ททท. ได้นำแนวคิดจากพระธาตุประจำปีขาลมาเชิญชวนให้คนมาเที่ยวและทำบุญ โดยมีธีมของปีขาลหรือเสือ จัดเป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในปีนี้ โดยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคที่ผ่านมา  ได้จัดแคมเปญ “เสือนอนกิน” โดยร่วมกับสถานประกอบการท่องเที่ยว จำนวน 55 แห่ง ที่ผ่านมาตรฐาน SHA. และ SHA PLUS มอบคูปองส่วนลดมูลค่า 200 บาท/คน สำหรับผู้ที่เกิดในนักษัตร “ปีขาล” และ “ปีชง” (ปีวอก ปีมะเส็ง ปีกุน) ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักท่องเที่ยวที่มักจะเดินทางมาทำบุญ และเที่ยวชมความงดงามของเมืองแพร่ ซึ่งมีเสน่ห์ของวิถีวัฒนธรรมอันเรียบง่ายและเงียบสงบ เหมาะแก่การเดินทางมาพักผ่อนเติมพลังให้กับชีวิต

เส้นเส้นทาง “เที่ยวเมืองปากน้ำโพ แอ่วเมืองแป้ม่วนใจ๋ สุขใจ๋ได้บุญ” จัดขึ้นเป็นครั้งที่  1 ใช้เวลา 3 วัน 2 คืน แม้เป้าหมายหลักอยู่ที่การร่วมทำบุญที่วัดพระธาตุช่อแฮ แต่ก็มีกิจกรรมท่องเที่ยวในเมืองแพร่ ที่สามารถใช้เป็นเส้นทางตัวอย่างสำหรับใครที่อยากเดินทางขับรถไปเที่ยวแพร่ได้อย่างสบาย ๆ

1.ชมศิลปะล้านนา ณ วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี

วันแรก ขบวนคาราวานนัดพบกันที่นครสวรรค์ และออกสตาร์ทในช่วงบ่าย ขับกันแบบสบาย ๆ ไม่รีบร้อน เข้าสู่เขต อ.เด่นชัย จ.แพร่ ในช่วงเย็น ขณะที่พระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้า แวะที่ “วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี”  หรือ “วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม” เมื่อแรกมาถึงจะพบองค์พระนอนขนาดใหญ่ที่มีความงดงามมาก วัดแห่งนี้เป็นวัดสร้างใหม่ในปี พ.ศ.2520 ตั้งอยู่บนถนนสายแพร่-ลำปาง เป็นวัดที่รวบรวมศิลปกรรมล้านนาประยุกต์ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวชาดกพื้นบ้านและพุทธประวัติ ในบริเวณวัดมีเจดีย์ทรงล้านนากว่า 30 องค์  มีพิพิธภัณฑ์ไม้สักทรงล้านนาที่เก็บรวบรวมเรื่องราวของล้านนาและเมืองแพร่ จัดแสดงเครื่องใช้และอาวุธของนักรบโบราณ รวมทั้งภาพถ่ายของเจ้านายฝ่ายเหนือ รวมทั้งภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ

แม้จะเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ แต่ก็มีความงดงามตามศิลปะแบบล้านนาผสมผสาน โดยช่างฝีมือชั้นยอดที่เรียกว่า “สล่า” ของภาคเหนือมาร่วมกัน   โดยมีหลวงพ่อมนตรี บุญมี เป็นผู้ควบคุม ออกแบบ และลงมือก่อสร้างด้วยตัวเอง

2.ร้านชิลล์เมืองแพร่ The Pool Sky

The Pool Sky  เป็นร้านอาหารใน อ.เด่นชัย  ตัวร้านมีขนาดใหญ่ เป็นทั้งร้านอาหาร และคาเฟ่ บริการอาหาร เครื่องดื่ม และเบเกอรี่ มีมุมให้เลือกเยอะมาก มีความกว้างขวางโล่งโปร่งสบาย สระน้ำขนาดใหญ่ ช่วยเสริมบรรยากาศให้ชื่นใจ มองออกไปนอกตัวร้านก็เป็นท้องทุ่งนาอันเงียบสงบ

มื้อเย็นที่ The Pool Sky จัดมาเพื่อเติมพลังให้กับเหล่าคาราวานที่เดินทางกันมาค่อนวัน เริ่มต้นจาก “ขาหมูเยอรมัน” สูตรเด็ดของทางร้าน ตามด้วย “ต้มยำกุ้ง” รสชาติจัดจ้าน “ปลากะพงทอดน้ำปลา” ทอดมาได้กำลังดี รวม ๆ แล้ว เป็นร้านที่รสชาติใช้ได้ บรรยากาศสบาย ๆ โปร่ง ๆ เหมาะทั้งมากับคู่รัก เพื่อนฝูง  ครอบครัว หรือจัดเลี้ยงสังสรรค์เป็นหมู่คณะ

3.กราบพระธาตุช่อแฮ ร่วมบูรณะพระธาตุในรอบ 100 ปี

เช้าวันใหม่อันแสนสดชื่น เวลา 9.00 น. คณะพร้อมกันที่วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ซึ่งเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ เป็นเจดีย์ประดิษฐานกระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุ พระศอกซ้ายของพุทธเจ้า

นางธันกมน ทรชวพงศ์ ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร นำคณะเที่ยวชมเมืองแพร่ ด้วยความอบอุ่นใจ

วัดพระธาตุช่อแฮ ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ  องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ ศิลปะเชียงแสน แบบแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบหรือทองจังโก องค์พระธาตุสูง 33 เมตร เป็นพระธาตุประจำปีขาล (ปีเสือ) เชื่อกันว่า หากนำผ้าแพรสามสีไปถวายจะทำให้ชีวิตมีพลังคุ้มครองป้องกันศัตรูได้   ปัจจุบันอยู่ระหว่างการบูรณะ ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะได้ร่วมบุญกัน

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด คือ หลวงพ่อช่อแฮ เป็นพระประธานประดิษฐานในพระอุโบสถ ศิลปะล้านนา เชียงแสน สุโขทัย   พระเจ้าทันใจหรือหลวงพ่อทันใจ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิปูนปั้น ลงรักปิดทอง  พระพุทธโลกนารถบพิตร และวิหารศิลปะล้านนาประยุกต์เป็นพระพุทธรูปปางพระนาคปรก ประดิษฐานอยู่ในวิหารศิลปะลานนาประยุกต์ ภายในมีภาพจิตกรรมฝาผนังอย่างสวยงาม สร้างขึ้น ในปี 2534

พระโกศัยเจติยารักษ์

พระโกศัยเจติยารักษ์ รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เจริญพรว่า ปัจจุบันองค์พระธาตุช่อแฮซึ่งมีทองจังโก และทองคำเปลวแท้ที่หุ้มองค์พระธาตุได้แตกกะเทาะ บางจุดเกิดร่องรอยเป็นรูเสียหาย ทำให้น้ำฝนสาดซึมเข้าถึงเนื้อในองค์พระธาตุ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพระธาตุ 1,000 ปี  ทางวัดจึงได้บูรณะองค์พระธาตุใหม่ โดยได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากร ใช้งบประมาณ 36 ล้านบาท และวัดเป็นผู้หางบประมาณเอง โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการบูรณะ มีการรื้อทองจังโก และทองคำเปลวแท้ออก และจะต้องบูรณะหุ้มทองจังโก 900 ตารางเมตร ตารางเมตรละ 16,000 บาท และทองคำเปลวแท้ใหม่ การเพิ่มทองคำบนยอดฉัตรที่เรียกว่าปลีบัว ซึ่งมีแผ่นทองคำแท้แผ่นละ 500 บาทให้บูชา

นอกจากนี้ ยังมีดอกหมากเบ็ง แจกันรองรับดอกหมากเบ็งที่ต้องหุ้มทองคำ โดยมีเป้าหมายไว้ที่ 123 กิโลกรัม พร้อมหล่อพระสิงห์ 2 ช่อแฮ เนื้อเงิน 29 นิ้ว พระประจำปีเกิดปีขาล โดยใช้เงินแท้ประมาณ 300 กิโลกรัม

ทั้งนี้คาดว่าโครงการบูรณะองค์พระธาตุช่อแฮจะแล้วเสร็จในวันที่ 23 มิถุนายน 2565 และจะมีการสมโภชองค์พระธาตุช่อแฮพระอารามหลวง ครบ 16 ปี หลังเสร็จสิ้นการบูรณะองค์พระธาตุครั้งนี้ อีก 100 ปีถึงจะบูรณะใหม่อีกครั้ง จึงถือเป็นบุญยิ่งใหญ่ที่ทุกคนจะได้มาร่วมกันเป็นเจ้าภาพ

ผู้มีจิตอันเป็นกุศล สามารถร่วมเป็นเจ้าภาพได้ตามกำลังศรัทธา โดยโอนเงินเข้าบัญชี กสิกรไทย สาขาแพร่ เลขที่ 105-2-882555 ชื่อ กองทุนบูรณะพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ พร้อมส่งสลิปมาที่เฟซบุ๊ก เพจวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง หรือจะบริจาคทองคำแท่ง ทองคำรูปพรรณก็ได้

ไป “ลอง” ต้องลอง “ขนมจีนน้ำย้อย”

อิ่มบุญกันถ้วนหน้าแล้ว เดินทางต่อไป อ.ลอง จ.แพร่ ดินแดนที่ได้ลองไปแล้วจะหลงรัก เพราะมีศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ เส้นทางจากตัวเมืองแพร่ไปอำเภอลองจะผ่านถนนที่มีความคดเคี้ยวบนเนินเขาอันสวยงาม มุ่งหน้าไปที่ “ธงชัยน้ำย้อยแม่ลาน” หรือ “ขนมเส้นน้ำย้อยแม่ลาน” เห็นมีสองป้ายก็เดาว่าน่าจะมีอันไหนเป็นชื่อเก่า

เส้นทางจากเมืองแพร่ ไปเมืองลอง มีความสวยงามมาก

ใครที่มาเยือนเมืองแพร่ ย่อมมีโอกาสได้ลิ้มลองอาหารท้องถิ่นจังหวัดแพร่อย่าง “น้ำย้อย” หรือ “น้ำพริกน้ำย้อย” น้ำพริกที่มีส่วนผสมของพริก กระเทียม และหอมเจียว ที่นำมาทอด แล้วคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงรส ได้น้ำพริกแห้ง ๆ กรอบ ๆ กินกับขนมจีน ผักสด เคียงมากับน้ำเงี้ยว หรือน้ำใส ซึ่งรสชาติอ่อน ๆ ออกไปในแนวซุป พร้อมเมนูเสริมทัพอื่น ๆ อย่างส้มตำ ไก่ทอด กากหมู ฯลฯ

จากที่หาข้อมูลมาคำว่าน้ำย้อยมาจากกระบวนการทำขนมจีนเส้นสด ตอนที่บีบแป้งแล้วย้อยออกมาเป็นเส้น แต่คนแพร่เขากินขนมจีนกับน้ำพริกชนิดนี้ ก็เลยเรียกว่า “น้ำพริกน้ำย้อย”

ในตัวเมืองแพร่มีร้านขนมจีนน้ำย้อยอยู่หลายร้าน แต่ทีเด็ดจะอยู่ที่ อ.ลอง ซึ่งขนมจีนน้ำย้อยเป็นอาหารท้องถิ่นเมืองลอง ปัจจุบันทราบว่ามีขายกันมากกว่า 200 ร้านในเมืองลอง

ทางร้านมีน้ำพริกน้ำย้อยให้เลือก 2 ระดับ คือ ปกติ กับ เผ็ด ซึ่งระดับเผ็ด ถือว่าดุดันถูกใจผู้ที่กินรสจัดเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังทำสดใหม่ทุกวัน จึงหอมมากเป็นพิเศษ ใครที่ซื้อกลับบ้านก็สามารถเก็บไว้ได้อีกหลายวัน แต่ควรอยู่ในภาชนะที่ปิดสนิท เพื่อคงความหอมและกรอบ

วัดพระธาตุศรีดอนคำ ตำนานชาวแพร่แห่ระเบิด

วัดศรีดอนคำ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดห้วยอ้อ” อ.ลอง จ.แพร่ เป็นพระธาตุเก่าแก่ขนาดใหญ่ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1078 คราวพระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้ไปเมืองหริภุญชัย พระธาตุแห่งนี้ได้รับการบูรณะหลายครั้ง ปัจจุบันมีฐานเป็นปูน ส่วนบนประดับด้วยแผ่นโลหะสีทอง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวบรวมตำนานพระพุทธรูป และมีพระพุทธรูปศิลปะพม่า ที่ทำจากไม้เรียกว่า “พระเจ้าพร้าโต้” ตลอดจนคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งเก็บไว้ในหอไตรของวัด

อีกจุดที่น่าสนใจภายในวัดก็คือ ระฆังที่ทำจากลูกระเบิดอันเป็นทีมาของคำว่า “แพร่แห่ระเบิด” ในช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามเอเชียบูรพา หรือช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นมีระเบิดตกลงมาในหมู่บ้าน ด้วยความสามารถและภูมิปัญญาของชาวบ้านแถบนั้น ได้ควักดินปืนไประเบิดหาปลา จึงเหลือเพียงปลอกของระเบิดซึ่งเป็นเหล็กหนัก ชาวบ้าเกิดความเสียดายจึงได้ช่วยกันแบกขึ้นเกวียนไปถวายวัดเพื่อทำเป็นระฆัง ผู้คนที่ผ่านไปมาได้พบเห็นเข้า ต่างนำไปเล่าขานกันว่า  “แพร่แห่งระเบิด”

พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ ริเริ่มโดยนายโกมล พานิชพันธ์ นักสะสมผ้าโบราณชาวอำเภอลอง ซึ่งได้สะสมผ้าโบราณชนิดต่างๆของ “เมืองลอง” และผ้าโบราณของชุมชนใกล้เคียง จนกระทั่งร่วมมือกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแพร่ จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีพื้นบ้านสาขาสิ่งทอ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เมื่อปี พ.ศ.2535 จากนั้นจึงได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณให้บุคคลทั่วไปชมเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2535

ค้นหาตัวตนคนลอง ที่พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ

เมืองอำเภอลอง หรือเมืองลอง ตามตำนานคือเมืองโบราณกว่าพันปี มีคำขวัญว่า “พระธาตุล้ำค่า ส้มพุทรารสเลิศ แหล่งกำเนิดผ้าจก มรดกสวนหิน ถิ่นชาวเมืองลอง” เดิมเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1023 เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง ในปี 2475 ทางการจึงโอนเมืองลองมาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่

ดังนั้นเอกลักษณ์ของเมืองลอง จะมีความแตกต่างจากเมืองแพร่ หากกล่าวถึงสิ่งที่รู้จักกันดีของเมืองแพร่คือ “หม้อห้อม” ในเมืองลองก็มี “ผ้าจก” ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมของชาวบ้านที่ยังคงสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ใครอยากชมผ้าโบราณและเรื่องราวทางด้านวัฒนธรรมของเมืองก็ต้องแวะไปที่ พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ

พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ ริเริ่มโดย อ.โกมล พานิชพันธ์ นักสะสมผ้าโบราณชนิดต่าง ๆ ของเมืองลอง  และผ้าโบราณของชุมชนใกล้เคียง จนกระทั่งร่วมมือกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแพร่ จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีพื้นบ้านสาขาสิ่งทอ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เมื่อปี พ.ศ.2535 จากนั้นจึงได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณให้บุคคลทั่วไปชมเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2535

อ.โกมล พานิชพันธ์

ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงผ้าจกและเรื่องราวของคนเมืองลอง เริ่มตั้งแต่ ภาพถ่ายงานจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเป็นฝีมือของคุณพ่อของคุณโกมล แสดงถึงเรื่องราวของลวดลายผ้าโบราณที่อ้างอิงได้ว่าเมืองลองมีผ้าจกโบราณอันเป็นเอกลักษณ์มากว่า 200 ปี  ด้านในเป็นส่วนจัดแสดงผ้าโบราณ  จะได้พบกับลวดลายของผ้าซิ่นตีนจกเมืองลองที่มีจุดเด่นที่ไม่มีที่สิ้นสุด ตามจินตนาการของผู้ทอ พร้อมการจัดแสดงผ้าจกจากแหล่งต่าง ๆ ในเชิงเปรียบเทียบ เช่น ตีนจกแม่แจ่ม , ตีนจกไหล่หิน , ตีนจกนาน้อย ตีนจกหาดเสี้ยว , ตีนจกราชบุรี , ตีนจกลาวครั่ง เป็นต้น

รวมทั้งการแสดงผ้าโบราณ รวมทั้งการแสดงวิธีการเก็บผ้าโบราณ โดยอาศัยภูมิปัญญาของคนโบราณที่ทำให้ผ้าสามารถอยู่ได้นานกว่า 200 ปี  นอกจากนั้นยังมีผ้าโบราณที่เคยใช้ในงานสำคัญ เช่น ชุดไทยที่ใช้กับเวทีประกวดหรือภาพยนตร์ต่าง ๆ อาทิ  เครื่องแต่งกายของพระนางจิรประภามหาเทวี (ครองล้านนา) ในภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท  เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีร้านค้า จำหน่ายผ้าตีนจกลายโบราณ และลวดลายใหม่ พร้อมทั้งเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า และส่วนที่เป็นที่ชื่นชอบมาก ๆ ของผู้พบเห็น คือ ส่วนการจัดแสดงตุ๊กตา โดยเฉพาะตุ๊กตาบาร์บี้ ซึ่งทางคุณโกมล ได้ออกแบบเครื่องแต่งกายพื้นบ้านเมืองแพร่ให้กับตุ๊กตาเหล่านั้น โดยมีความพิเศษว่า แต่ละชุด ใช้เทคนิคการพิมพ์ลายผ้าที่ถอดแบบมาจากผ้าทอ ย่อาในสเกลที่ถูกต้อง หากนำมาขยาย 10 เท่าก็จะได้ผ้าซิ่น 1 ผืนจรง ๆ จึงมีความละเอียดสวยงามมาก

เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เข้าถึงได้ไม่ยาก นอกจากจะเข้าชมฟรี มีชากาแฟให้ดื่ม นโยบายของที่นี่ ยังเปิดให้เข้าชมกันอย่างสบาย ๆ ถ่ายรูปได้โดยไม่หวงห้าม

เรียนรู้หม้อห้อม บนถนนสายช้อปเมืองแพร่

วันที่ 3 ก่อนจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ แวะช้อปกันอีกที่กับของดีเมืองแพร่อย่างผ้าหม้อห้อม บ้านทุ่งโฮ้ง ซึ่งมีร้านรวงมากมายเรียงรายอยู่สองฝั่งถนน แต่มาแล้วแนะนำให้แวะไปที่ “ศูนย์เรียนรู้การย้อมผ้าหม้อห้อม ป้าเหงี่ยม” ซึ่งจะต้องเดินเข้าซอยเล็ก ๆ เข้าไป ที่นี่จะมีโรงผลิตหม้อห้อมครบวงจร เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ลงมือสร้างผลงานของตัวเองในราคาไม่แพง ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง อีกทั้งยังสินค้าจากผ้าหม้อห้อมและผ้ามัดย้อมให้อุดหนุนอีกด้วย

ป้าเหงี่ยมกำลังเขียนเทียนสร้างลวดลายให้ผ้า

แพร่ยังมีเสน่ห์อันน่าค้นหาอีกมากมาย ในที่เที่ยวแพร่ ซึ่งยังเต็มไปด้วยความงดงามทางวัฒนธรรม ชวนให้แวะชมกันอีกหลายแห่ง และไม่ว่าจะเป็นคนปีขาล หรือคนปีชง ก็สามารถกราบสักการะพระธาตุเพื่อความเป็นสิริมงคล แล้วชวนกันออกเดินทาง เที่ยว กิน ช้อป กันต่อ

เมืองแป้มีแต่ความม่วนใจ๋ มาแล้วสุขกาย สบายใจ รับพลังบวกกลับบ้านไปอย่างเต็มที่ อากาศดีวิถีความเป็นอยู่เรียบง่าย มาแล้วก็อยากกลับไปใหม่อีกหลาย ๆ ครั้ง

Post a comment

five × 5 =