Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

Posts by Lanlom

ทุกตารางเมตรของ ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก จะกลายเป็นสีชมพู เมื่อ The Art Auction Center (TAAC) บริษัทประมูลศิลปะชั้นนำของไทยจัดงานประมูลศิลปะครั้งยิ่งใหญ่ในฤดูกาลแห่งความรักของปี 2566 ภายใต้ชื่อ “Follow Your heART” รวบรวมผลงานศิลปะแห่งความรักโดยศิลปินระดับแนวหน้าจำนวนเกือบ 200 ชิ้นมาออกประมูล พร้อมจัดแสดงให้ได้ชมอย่างใกล้ชิด “Follow Your heART” งานประมูลที่เปรียบเป็นการเฉลิมฉลองให้กับความรักและงานศิลปะสำหรับอาร์ตเลิฟเวอร์ทุกคน ผลงานที่นำเข้าร่วมประมูลทั้งหมดเป็นศิลปะที่แสดงออกถึง “ความรัก” ของในแง่มุมต่าง ๆ ที่น่าประทับใจของศิลปินหลากรุ่น เจ้าของผลงานหลากรูปแบบ ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับประเทศและนานาชาติ โดยแบ่งผลงานศิลปะออกเป็น 8 กลุ่มความรักตามความเชื่อกรีกโบราณ คือ Eros (รักเร่าร้อน) Philia (มิตรภาพอันลึกซึ้ง) Ludus

[caption id="attachment_30351" align="aligncenter" width="450"] บทวิเคราะห์โดย Joey Khong นักวิเคราะห์เทรนด์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Mintel[/caption] ในเดือนตุลาคม 2564 Facebook ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Meta และประกาศว่าบริษัทจะมุ่งพัฒนาเมตาเวิร์ส หากเรามองย้อนกลับไปในช่วงเวลานับตั้งแต่การประกาศของ Meta เราจะเจอคำถามบางอย่างที่น่าสนใจ เกิดอะไรขึ้นกับเมตาเวิร์สในช่วง 12 เดือน ที่ผ่านมา และเมตาเวิร์สเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคและแบรนด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไร หลายคนอาจสังเกตได้ว่าการพูดคุยเกี่ยวกับเมตาเวิร์สนั้นเริ่มเงียบหายไปอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่ช่วงที่เมตาเวิร์สมีความนิยมสูงสุดในเดือนตุลาคม 2564 ข้อมูลจาก Google Trends ช่วยยืนยันถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ นอกจากการตลาดเชิงรุก และพาดหัวข่าวที่รายงานเกี่ยวกับเงินจำนวนมหาศาลที่ได้จากการซื้อขายศิลปะดิจิทัลที่ไม่มีใครเข้าใจ สิ่งที่ทำให้เมตาเวิร์สสามารถดึงดูดความสนใจได้จากผู้คนมากมายในช่วงแรก คือการที่เราคิดว่าเทคโนโลยีได้พัฒนามาจนถึงจุดที่การใช้ชีวิตในโลกเสมือนจริงนั้นเป็นไปได้ โควิด-19 ยังช่วยเร่งให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ โดยมีตัวบ่งชี้เช่นความนิยมและการพัฒนาของวงการเกม และการที่ดิจิทัลเริ่มมีความสำคัญในการทำงาน การเรียน การออกเดต และการช้อปปิ้ง และความก้าวหน้าของเหรียญดิจิทัล

กว่า 10 ปีจากการสร้างสรรค์ในเส้นทาง “สามพรานโมเดล” แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า โลกเราดีขึ้นได้ด้วยสังคมสุขใจ พลังเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ที่ดีต่อเรา ดีต่อโลก สร้างความเข้มแข็งทั้งกายใจให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งขยายภาพ “เศรษฐกิจสีเขียว” ให้ชัดเจน ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังเป็นความหวังของโลกในวันนี้และในอนาคต หากเดินทางไปเที่ยวหรือผ่านไปสวนสามพราน ในทุกวันเสาร์-อาทิตย์ อาจจะเคยแวะชม ชิม ช้อป กันที่ “ตลาดสุขใจ” ตลาดน่ารัก ๆ รวมของกินของใช้จากเกษตรอินทรีย์ที่ดีต่อใจ โดยแต่ละปีก็จะมีการจัดงานใหญ่ เพื่อแสดงพลังเครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์จากทั่วประเทศ จึงเป็นงานที่หลายคนเฝ้ารอ เพราะจะมีของดีที่มั่นใจได้มาให้เราได้เลือกสรร ถือเป็นอีกงานที่คนรักสุขภาพ รักธรรมชาติ รักสังคม รักสิ่งแวดล้อม ได้มาพบเจอกัน หลังจากโควิด 19 ผ่านไป ความสุขที่หลายคนรอคอยก็กลับมาอีกครั้ง กับ “งานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 8”  ซึ่งเป็นการรวมพลังของ มูลนิธิสังคมสุขใจ

คอลัมน์ เซาะร่องเสียง โดย นกป่า อุษาคเณย์ ตอนที่ตั้งวง Pussy Riot เมื่อปี ค.ศ.2011 สมาชิกในวงมีทั้งสิ้น 11 คน ทั้งหมดเป็นผู้หญิง สวมโม่งหลากสี เล่นดนตรี Punk Rock กีตาร์ ไมโครโฟน เบส และตู้แอมป์ เครื่องดนตรีน้อยชิ้น ท่วงทำนองที่เรียบง่าย ทว่าเร่าร้อน กระแทกอารมณ์ตามสไตล์ Punk บทเพลงเนื้อหาต่อต้านรัฐบาล โดยเฉพาะ Vladimir Putin ประธานาธิบดีรัสเซีย แต่หลังจากที่ Maria Vladimirovna Alyokhina (MASHA) และ Nadezhda Andreyevna Tolokonnikova (NADIA) รวมถึง Yekaterina

ต้นไม้ใหญ่อันแสนโดดเดี่ยว บนเกาะขนาดเล็กกลางทะเลตราด เรียกกันว่า “เกาะขายหัวเราะ” ที่อ้างอิงจากมุกตลกจากภาพเกาะร้างในหนังสือขายหัวเราะในอดีต ซึ่งมีลักษณะเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่มีเพียงมะพร้าว 1 ต้น มีพื้นที่พอให้นั่งได้เพียง 1-2 คนเท่านั้น มุกตลกในบรรยากาศต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปตามจินตนาการของผู้เขียน แต่ตัวเกาะก็ยังคงเอกลักษณ์ของต้นมะพร้าว 1 ต้นอยู่บนเกาะนั้นเสมอ [caption id="attachment_30266" align="aligncenter" width="799"] คนน่ารักระดับมิสแกรนด์ตราดมาเที่ยวเกาะขายหัวเราะ[/caption] 1-2 ปีมานี้ ชื่อ “เกาะขายหัวเราะ” ถูกปลุกขึ้นมาจนได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลายอีกครั้ง เกาะขายหัวเราะ จ.ตราด อยู่ใกล้กับเกาะนกในและเกาะนกนอก  ซึ่งเป็นเกาะขนาดเล็กที่สามารถเดินเชื่อมต่อไปยังเกาะขายหัวเราะได้ในยามน้ำลง สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเกาะหมากสามารถนั่งเรือจากแหลมสนไปยังเกาะขายหัวเราะภายในเวลา 30-40 นาทีโดยประมาณ [caption id="attachment_30258" align="aligncenter" width="799"] แหลมสน[/caption] ที่เกาะขายหัวเราะ แห่งนี้จะมีลักษณะพิเศษตามเวลาและฤดูกาล หากน้ำลงในปริมาณที่พอเหมาะก็จะมองเห็นเกาะขนาดเล็กที่มีโขดหินรายล้อม หากน้ำขึ้นมากก็จะปรากฏเพียงรากไม้

เพราะทุกสถานที่มีที่มา เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จึงเป็นสิ่งน่าค้นหา ชวนย้อนกาลเวลาไปกับแหล่งเที่ยวชมที่น่าสนใจในจังหวัดตราด ดินแดนแห่งท้องทะเล ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์แห่งวันวาน และแน่นอนว่า “สายมู” ต้องไม่พลาด สายมูหรือผู้ชื่นชอบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ขอแนะนำอีกสถานที่แห่งความงดงามและทรงคุณค่าในตัวเมืองตราด มาร่วมกันค้นพบเสน่ห์ที่ห้ามพลาดไปร่วมกัน เสริมพลังป้องภัยพาล ที่ศาลหลักเมืองตราด  “ศาลหลักเมืองตราด” เอกลักษณ์ที่แตกต่างจากศาลหลักเมืองอื่น ๆ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามความเชื่อแบบจีน  เพื่อคุ้มครองเมืองตราดให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุข มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเก๋งจีน ศาลหลักเมืองเป็นดั่งศูนย์กลางเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปีจะมีการจัดงาน "วันงานพลีเมือง" ที่ชาวจีนเรียกกันว่า "วันเซี่ยกงแซยิด" ซึ่งหมายถึงวันเกิดของเจ้าพ่อหลักเมืองนั้นเอง ในอดีตเคยมีเรื่องน่ามหัศจรรย์ของหลักเมืองตราด ในสมัยที่ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศสสังเกตเห็นชาวเมืองตราดพากันเดินทางมากราบไหว้หลักเมืองอยู่เป็นประจำ จึงคิดให้คนไปถอนเสาหลักเมืองทิ้ง แต่ถอนเท่าไหร่ก็ถอนไม่ขึ้น ขุดเท่าไหร่ก็ขุดไม่ได้ แม้จะดึงเสาหลักเมืองด้วยแรงช้างสาร ก็ไม่สามารถดึงขึ้นมาได้ต่อมาในภายหลังชาวเมืองตราดจึงได้ทำการบูรณะหลักเมืองนี้ให้คงสภาพดี และเป็นที่สักการบูชาของชาวเมืองเสมอมา หากเดินทางมาจังหวัดตราด ขอชวนเข้ามากราบศาลหลักเมืองเพื่อเป็นสิริมงคล เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ช่วยเสริมพลังในการปกป้องภัยอันตราย

ความเข้มแข็งของชุมชน คือปัจจัยสำคัญของการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน ไม่ว่านโยบายภาครัฐหรือหน่วยงานใด ๆ จะประกาศออกมาเสียงดังแค่ไหน แต่หาก “คน” ซึ่งเป็นฟันเฟืองหลักไม่เห็นความสำคัญ มันก็เปล่าประโยชน์ โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) เป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางธรรมชาติของโลก และการเรียกหาความเป็นธรรมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากผู้ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ จนกลายเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย [gallery columns="2" size="full" ids="30152,30141"] จากการเดินทางที่ผ่านมาทำให้พบว่า ปัจจุบันมีกลุ่มหรือชุมชนเข้มแข็งร่วมผลักดันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือชุมชนน่ารัก ๆ อย่าง “วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง” โดยมีศูนย์กลางการเรียนรู้อยู่ที่ “สุวรรณลักษณ์ รีสอร์ท” ที่พักกึ่งโฮมสเตย์ริมทะเลที่มีเอกลักษณ์จาก “หาดทรายแดง” มีวิวเกาะช้างอยู่เบื้องหน้า ด้านหลังมีเนินเขาเล็ก ๆ รายล้อมด้วยต้นไม้นานาพรรณ ปัจจุบัน “สมอร์ฮิลล์”

อย่างแรกเลย หลังจากรู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน เรามักจะถามกันว่า แล้วจะไปกินอะไร และนี่คือพลังของ Gastronomy Tourism เพราะการได้ลิ้มชิมรสเมนูเด็ดของเจ้าถิ่น คือความฟินระดับที่มิชลินไม่ต้องไกด์ เรื่องของอาหารเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เสมือนครัวของแต่ละบ้านย่อมมีจานอร่อยของตัวเอง จังหวัดตราด สุดเขตแดนตะวันออกของไทย เป็นอีกดินแดนแห่งความฝัน สวรรค์ของนักชิม จากวัตถุดิบและภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นอีกเสน่ห์ที่ชวนให้สัมผัส จนไม่อยากให้พลาด ปลาย่ำสวาท เมนูสุดต๊าซแห่งท้องทะเลตราด เพราะฟังแค่ชื่อก็น่าสนใจแล้ว สำหรับ “ปลาย่ำสวาท” จึงขอเลือกมาเป็นเบอร์ 1 ในดวงใจสำหรับการนำเสนอในครั้งนี้ ชื่อจริงของมันคือ “ปลากะรังจุดฟ้า” ดูแล้วงามตาน่าชม แต่พอได้ลิ้มลองก็ขอเปลี่ยนเป็น “น่ากิน” ด้วยแล้วกัน นี่คือปลาประจำถิ่นตราด ที่หารับประทานได้ยากในแหล่งอื่น เป็นปลาไทยเนื้อดี ทำเมนูไหนก็อร่อย โดยเฉพาะ  “ซาชิมิ” หรือ “ปลาดิบ” มีทั้งปลาธรรมชาติและแบบเลี้ยง ราคากิโลละเป็นพัน ที่มาของชื่อ “ปลาย่ำสวาท” มาจากลักษณะวงจรชีวิตของปลาชนิดนี้ ตัวแม่จะวางไข่ในทะเล

เกาะหมากเป็นสถานที่แรกของประเทศไทย ที่ได้รับการจัดอันดับจาก www.greenfestinations.org ให้เป็น Top 100 green destination ประจำปี 2565 ด้วยความร่วมแรงร่วมใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน นักท่องเที่ยว และเจ้าบ้าน ทำให้เกาะหมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ แหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ที่คุ้นหูกันว่า “เกาะหมากโลว์คาร์บอน” และนี่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่กิจกรรม “เปิดฤดูกาลท่องเที่ยวหมู่เกาะและทะเลภาคตะวันออก” โดย ททท. ร่วมกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้มารวมตัวกันที่นี่ เพราะจะเป็นสัญญานที่บอกว่า จากนี้ไปการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวของทางภาคตะวันออก จะมีเกาะหมากเป็นโมเดลเพื่อความยั่งยืนเพื่อการขยายผลต่อไป [gallery columns="2" size="full" ids="30083,30084"] [caption id="attachment_30086" align="aligncenter" width="800"] มิสแกรนด์ตราด2023เข้าร่วมกิจกรรมตลอด 2 วันบนเกาะหมาก[/caption] โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายชำนาญวิทย์

สำหรับบางคน แค่ได้ขับรถออกไป ก็รู้สึกปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย หากเป็นเส้นทางสวย ๆ ในวันถนนโล่ง ๆ ด้วยละก็ อาจจะทำให้จุดหมายกลายเป็นเรื่องรอง ๆ ไปเลย เพราะเส้นทางที่ผ่านและพบเจอก็สำคัญเสมอในชีวิต กว่าจะไปถึงจุดที่วางไว้ เราต่างได้สัมผัสกับประสบการณ์หลากหลายรูปแบบ การขับรถเที่ยวจึงมีดีมากกว่าคำว่าอิสระในการแวะพักได้ตามใจ แต่เป็นการเก็บเกี่ยวสิ่งแปลกใหม่ หรืออาจจะแอบออกนอกเส้นทางบ้างจะเป็นไร ความสุขจากการเดินทางเกิดขึ้นกับเราอีกครั้ง กับคาราวาน C2 Connect Plus เปิดประสบการณ์อีกรูปแบบหนึ่งของการเดินทางท่องเที่ยว ด้วยการขับรถท่องเที่ยวในเส้นทางสวย ๆ จากภาคกลางสู่ภาคเหนือของประเทศไทย รีวิวนี้จะไม่เน้นเล่าเรื่องมากมาย อยากให้ภาพบรรยายตัวเองให้ได้มากที่สุด กราบพระพรหมเทวาลัย เสริมพลังใจก่อนเดินทาง คาราวาน C2 Connect Plus ออกเดินทางจากสำนักงาน ททท. ถ.เพชรบุรี  ตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า ราวเก้าโมงก็ไปรวมตัวกันอีกครั้งที่ “พระพรหมเทวาลัย” จ.สิงห์บุรี  มีพื้นที่เป็นลานกว้างขวางอยู่ริมถนนสายเอเชียขาขึ้น สถานที่แห่งนี้มีพระพรหมองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยประดิษฐานอยู่

เด็ก ๆ ที่ปางปูเลาะยังเขินกล้องอยู่เลย นี่คือสิ่งที่เราอาจจะไม่เห็นได้ง่ายนักในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ที่มักจะคุ้นเคยกับแขกผู้มาเยือน และการเรียนรู้ที่จะผูกมิตรกับคนแปลกหน้าที่ผ่านไปผ่านมาอยู่เสมอ แต่เด็ก ๆ ที่บ้านปางปูเลาะไม่ได้เป็นเช่นนั้น แค่ถือกล้องเดินเข้าไปใกล้ ๆ พวกเขาก็เบือนหน้าหนี บ้างก็ซุกตัวโผเข้าหาแม่ [caption id="attachment_29962" align="aligncenter" width="798"] ถนนสวย ๆ ที่รถขับเข้าไปได้อย่างสะดวกสบาย แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวัง[/caption] แม้ว่าบ้านปางปูเลาะ จะอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองพะเยามากนัก แต่ด้วยระยะทางคดเคี้ยวไปตามถนนสายเล็ก ๆ ไต่ขึ้นดอยสูงราว 16 กิโลเมตร ก็นับเป็นสถานที่อันซ่อนเร้นอยู่พอสมควร สองข้างทางผ่านสวนลิ้นจี่ขนาดใหญ่ เริ่มขึ้นดอยก็เห็นไร่กาแฟ สองสิ่งนี้คือผลผลิตทางการเกษตรหลัก ๆ ของชาวบ้านปางปูเลาะ ได้ยินว่าช่วงเมษายน-พฤษภาคม จะมองเห็นทุ่งลิ้นจี่สีแดงเป็นวงกว้าง ฟังแล้วได้แต่นึกภาพตาม ชาวบ้านที่นี่คือชาวเมี่ยนหรือชาวเย้าจากจีนได้อพยพมาอยู่ในเมืองไทยกว่า 100 ปีมาแล้ว ดั้งเดิมหมู่บ้านแห่งนี้มีชื่อว่า “บ้านปู่ล่อ” ตามชื่อพ่อค้าชาวจีน ก่อนที่จะมาอาศัยในบ้านปางปูเลาะ ชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยนกลุ่มนี้

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สร้างความสุขและความหวังสู่หัวใจคนไทยรับศักราชใหม่ ด้วยกิจกรรม “Amazing Thailand Countdown 2023” ชูคอนเซปต์ “รุ่งอรุณแห่งศรัทธา ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2566" ณ ท่าวัดโพธิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร  ประกาศความงดงามผ่านแลนด์มาร์กสำคัญ “พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร”   นายยุทธศักดิ์  สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2566 ททท. ได้กำหนดจัดงาน Amazing Thailand Countdown 2023 ณ ท่าวัดโพธิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ภายใต้แนวคิด “รุ่งอรุณแห่งศรัทธา

ททท.ภูมิภาคภาคกลาง จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถยนต์ Road Trip รูปแบบประหยัดพลังงาน "คาราวาน C2 Connect Plus" ระหว่างวันที่ 23-26 ธันวาคม 65 เส้นทางกรุงเทพฯ-สิงห์บุรี-กำแพงเพชร-เชียงใหม่-เชียงราย-พะเยา สร้างสีสันรับปีใหม่ ส่งต่อความสุขใจให้กับชุมชนสิ่งแวดล้อม กิจกรรมโครงการ Road Trip C2 Connect  เริ่มต้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 07.30 น. ที่บริเวณหน้าอาคารสำนักงานใหญ่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กรุงเทพฯ โดยมีนายกิตติพงษ์ ประพัฒน์ทอง ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคกลาง ททท. ประธานเปิดกิจกรรม ปล่อยขบวนคาราวานรถยนต์ท่องเที่ยว ร่วมกับนางสาวสุรีพร พงษ์พานิช ผู้อำนวยการกองตลาดภาคกลาง ททท. นายไมเคิล

กาญจนบุรีได้ชื่อว่า “แดนสวรรค์ตะวันตก” จากความพรั่งพร้อมทางธรรมชาติ มีป่าเขาลำเนาไพรอันอุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองแห่งสายน้ำสะท้อนความผูกพันกับวิถีชีวิตของผู้คน ทั้งยังเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หากได้มาสัมผัสแล้วจะไม่แปลกใจเลยว่า จะมาเยือนเมืองกาญจน์กี่ครั้งก็ยังตกหลุมรักกาญจน์อยู่เสมอ ทริปนี้เป็นการสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคกลาง ระหว่างวันที่ 16-20 พฤศจิกายน 2565 ออกไปตามล่าความสุขในดินแดนสวรรค์ “กาญจน์” ได้เลย รักกาญจน์วิวใหม่ สกายวอล์กกาญจนบุรี ใครที่กลัวความสูงเหมาะมากสำหรับการมาเยือนสกายวอล์กเมืองกาญ เพราะเป็นสะพานลอยฟ้าที่ไม่สูงมากนัก ตั้งอยู่ในทำเลเลียบแม่น้ำ  ตัวโครงสร้างและทางเดินกระจกนิรภัยรู้สึกได้ถึงความแข็งแกร่ง ไม่ได้โล่งโปร่งแบบมองลงไปแล้วใจหาย แต่ถ้ายังกลัวก็แนะนำง่าย ๆ ว่าอย่ามองลงไปด้านล่าง มีมือคนข้าง ๆ ก็ให้จับไว้ เดินคนเดียวก็เกาะราวสะพานไป  ทอดสายตาอันยาวไกล  จะเห็นวิวสวย ๆ โปร่งโล่งสบาย [gallery columns="2" size="full" ids="29759,29760"] “สกายวอล์กกาญจนบุรี” เปิดตัวเมื่อเดือนกันยายน 2565  ริมท่าน้ำในตัวเมืองกาญ เป็นสะพานสูง

สะพานไม้ที่ทอดเป็นทางยาวข้ามแม่น้ำซองกาเลีย เชื่อมโยงวิถีของคนทั้งสองฝั่งเข้าไว้ด้วยกัน เป็นวิถีไทยมอญที่กลมกลืนเป็นเอกลักษณ์ และจะคึกคักขึ้นในช่วงวันหยุด  เหล่าผู้มาเยือนต่างมุ่งหน้าเพื่อมาสัมผัสบรรยากาศแห่งศรัทธาที่สะท้อนออกมาจากสะพานแห่งนี้ สะพานมอญ หรือ สะพานอุตตมานุสรณ์ เป็นสะพานแห่งน้ำใจจากความร่วมมือของชาวบ้านและหน่วยงานต่าง ๆ  ย้อนไปเมื่อปี 2529 สะพานมอญถูกสร้างขึ้นจากดำริของ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ใช้เวลาก่อสร้างถึง 2 ปี โดยอาศัยแรงงานชาวมอญในท้องถิ่น [caption id="attachment_29716" align="aligncenter" width="799"] ความคึกคักบนสะพานมอญในช่วงวันหยุดยาว[/caption] จนเมื่อปี 2556 ข่าวของสะพานมอญที่ขาดเป็นสองท่อนเนื่องจากเหตุน้ำป่าไหลหลาก  ทหารช่างจากกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) ค่ายสุรสีห์ ร่วมกับชาวบ้านอำเภอสังขละบุรีได้ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันซ่อมแซม จนสะพานแห่งนี้สามารถเปิดใช้ได้ในวันที่ 18 ตุลาคม 2557 นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้ [caption id="attachment_29717" align="aligncenter" width="800"] ท่าเรือจอดรับนักท่องเที่ยว[/caption] ปัจจุบันสะพานมอญเป็นจุดท่องเที่ยวที่คึกคักตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงเย็น เพราะเป็นจุดชมวิวที่ทุกคนไม่อยากพลาด

399 โค้งไต่ระดับเลียบภูผา เป็นเส้นทางที่ต้องอาศัยความชำนาญในการขับรถอยู่พอสมควร ชาวบ้านบอกในช่วงกลางคืน จะไม่มีการสัญจรไปมา ด้วยสภาพถนนเลียบแนวเขาสูงที่มีโค้งสลับซับซ้อนจนอาจจะเสี่ยงอันตราย และอาจจะพบกับกับเหล่าช้างป่าขาใหญ่ที่จะออกมาหาอาหาร  เมื่อมาถึงบ้านอีต่อง มองเห็นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในหุบเขา มองไปทางไหนก็มีแต่ผืนป่า แทบไม่น่าเชื่อว่าสมัยก่อน ตอนเหมืองแร่มีคนงานอาศัยอยู่มาก ที่นี่เคยมีโรงหนังถึงสองแห่ง หมู่บ้านอีต่อง ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี อีกแหล่งเหมืองแร่ที่เคยรุ่งเรืองในอดีต ปัจจุบันยังคงหลงเหลือหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นอุโมงค์เหมืองแร่ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม ด้วยความสูงเหนือระดับน้ำทะเลราว 1,000 เมตร ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีอากาศเย็นสบาย โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงค่ำ สายอีโคชอบมาก เพราะเป็นหมู่บ้านในหุบเขา อยู่กลางป่ากลางดง มีเส้นทางเดินขึ้นเขาชมธรรมชาติท้าท้ายแข้งขา ที่ถูกใจถูกจริตผู้พิชิตมาก ๆ ก็เห็นจะเป็นเขาช้างเผือก ซึ่งต้องมาเริ่มต้นกันที่หมู่บ้านแห่งนี้ [caption id="attachment_29690" align="aligncenter" width="800"] ห้องพักแบบโฮมสเตย์เรียบง่าย ที่ "กลิ่นไอหมอก"[/caption] [gallery columns="2" size="full"

ความสวยงามอลังการของอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ หรือเดิมเรียกว่าเขื่อนเขาแหลม ภาพของแผ่นน้ำและผืนฟ้าที่โอบเรือลำน้อยที่ค่อย ๆ ล่องออกไป ทิวเขาที่เรียงรายเป็นฉากหลังสวยงาม หลายคนรู้จักที่เนื่องจากมีที่พักและร้านอาหารให้บริการท่ามกลางบรรยากาศสุดชิล แต่ยังมีอีกมุมอันงดงาม จะว่าลับก็คงไม่ใช่ แต่เพราะหลายคนอาจจะยังไม่เคยไปหรือไม่เคยรู้จัก ต้องอาศัยการเหมาเรือเข้าไปอีกไกล ทำให้บ้านโบอ่อง อาจจะยังอยู่นอกเหนือเส้นทางท่องเที่ยว ทั้งที่อาจจะผ่านไปทองผาภูมิมาแล้วไม่รู้กี่ครั้ง [caption id="attachment_29683" align="aligncenter" width="799"] บ้านท่าแพ จุดลงเรือไปบ้านโบอ่อง[/caption] บ้านโบอ่อง  ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี อยู่บนเกาะเล็ก ๆ ภายในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนวชิราลงกรณ มีพื้นที่ราว 5,000 ไร่ จากบ้านท่าแพริมอ่างเก็บน้ำ เรือหางยาวจะใช้เวลาราว 45 นาที   [caption id="attachment_29666" align="aligncenter" width="800"] ท่าขึ้นเทียบเรือที่บ้านโบอ่อง[/caption] สภาพภายในหมู่บ้านมีความเงียบสงบ มีชาวบ้านประมาณ 1,200 คนอาศัยอยู่ที่นี่

กาญจนบุรีในอดีตเคยเป็นแหล่งแร่นานาชนิด ภาพของเหมืองแร่ในวันวานยังสะท้อนผ่านเรื่องราวที่เล่าสู่กันฟังอย่างไม่จบสิ้น มีหลักฐานสำคัญที่ซ่อนความเร้นลับซับซ้อนเอาไว้ เป็นอุโมงค์ที่เจาะลึกเข้าไปใต้ภูเขา เส้นทางสั้นยาวหลายช่วงรวมแล้วมากกว่า 10 ถ้ำ แม้วันนี้ภายในจะเหลือเพียงความว่างเปล่า แต่กลับสะกดทุกความรู้สึกเมื่อได้มาเห็นกับตา เมื่อเข้าจากทางปากถ้ำ ผ่านความมืดเข้าไป แสงสว่างที่ปลายทางอาจพาเราไปยังทางออกที่แตกต่างกัน และอาจจะย้อนภาพคืนและวันที่เหมืองแห่งนี้เคยคึกคักไปด้วยผู้คน เป็นมิติที่สัมผัสได้ด้วยความรู้สึก "อุโมงค์สามมิติ"  หรือ หรือ “อุโมงค์ ดร.ผล กลีบบัว” ผู้ที่เคยสัมปทานเหมืองแร่แห่งนี้ อุโมงค์เหมืองแร่ เป็นส่วนหนึ่งของเหมืองสองท่อ ใน อ.ทองผาภูมิ แหล่งผลิตแร่ตะกั่วใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย เส้นทางในอุโมงค์มีหลายช่วง เชื่อมต่อถึงกันอยู่ภายใต้ภูเขาหินปูน [caption id="attachment_29625" align="aligncenter" width="800"] เดินทางออกจากจุดชมวิวเนินสวรรค์[/caption] [caption id="attachment_29626" align="aligncenter" width="799"] จุดแรกเป็นอุโมงค์ระยะสั้น เดินทะลุได้[/caption] [caption id="attachment_29627" align="aligncenter" width="800"] สภาพในอุโมงค์แรกที่แวะชม ยังพอมีแสงสว่าง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) ร่วมกับ สถานทูตออสเตรียประจำประเทศไทยเปิดนิทรรศการ “Walls, Interrupted กำแพง ถูกขัดจังหวะ” ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านศิลปินชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียง เบียร์กิต กราชอปฟ์  (Birgit Graschopf) โดยผลงานนิทรรศการชุดนี้มีเนื้อหาที่เล่าถึงการทำงานของสถานที่แต่ละแห่งที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สำคัญทำให้หยุดชะงักไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ซึ่งศิลปินได้ใช้เวลาลงพื้นที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับคนและชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและกาญจนบุรี โดยได้ศึกษาสภาพของสถานที่ทั้งในด้านของโครงสร้าง บรรยากาศ ความว่างเปล่า ของสถานที่ พื้นที่สาธารณะที่ถูกทิ้งร้างและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภายในประเทศ ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ 2540 บวกกับการหยุดนิ่งของโลกจากเหตุการณ์ภายนอกประเทศช่วงระหว่างที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบทั่วโลกในช่วงระหว่างเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โดยนำเสนอผ่านภาพถ่ายที่สวยงามด้วยเทคนิคแบบอะนาล็อคแฮนด์เมดและอิมัลชันกราฟฟิค บนกระดาษธรรมดา กระดาษทราย และ กระดาษแข็ง รวมถึง มีการตัดเป็นแถบและประกอบเข้าไปใหม่ เพื่อการนำเสนอนิทรรศการชุดนี้ ออกมาให้เข้าใจและชัดเจนขึ้น นางสาวสุขุมาล ผดุงศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กล่าวถึง ความร่วมมือในครั้งนี้ว่า

กระต่ายสาวสุดเซ็กซี่กับลีลาบนซับบอร์ดอันโฉบเฉี่ยว เป็นภาพสะดุดตาเรียกความสนใจให้กับผู้ที่พบเห็น นอกจากคอสเพลย์สุดเก๋แล้ว กระต่ายนักพายคนนี้ยังทำเวลาได้ดีเป็นลำดับต้น ๆ อีกด้วย จากจุดปล่อยตัวที่ “มาแคนน์รีสอร์ท” บริเวณริมแม่น้ำแควใหญ่ ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแควในตัวเมืองกาญจนบุรี มาจนถึงบริเวณลานกิจกรรม “River Kwai SUP Fun Fest 2022” ไม่มีใครละสายตาจากเธอไปได้ และอาจจะเป็นนักพายที่รับรางวัล “ขวัญใจช่างภาพ” ไปโดยปริยาย “แจ็คกี้” เจ้าของร้านแต่งหน้า-ทำผม Jack Factory ในเมืองกาญจนบุรี เธออาจจะใหม่สำหรับวงการ SUP เพราะลองเล่นมาแล้วสามสี่ครั้ง แต่ก็เคยลงแข่งขัน SUP 100 (การแข่งขันระยะทาง 100 กิโลเมตร) มาแล้ว เธอจึงยืนยันได้ว่า กีฬากระดานยืนพาย หรือ SUP เป็นเรื่องที่ทุกคน ทุกเพศ