Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

Posts by Lanlom

“คร่ำ” งานหัตถศิลป์ชั้นสูงที่หาชมได้ยาก และอาจจะอยู่ห่างไกลจากชีวิตประจำวันของคนทั้งไป จนทำให้หลายคน โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ ไม่รู้จักคร่ำ งาน “คร่ำ” เป็นการตกแต่งลวดลายบนพื้นโลหะประเภทเหล็กโดยใช้เครื่องมือสกัดให้เป็นลวดลายบนพื้นโลหะต่างชนิด เช่น เงิน ทอง นากลงไปแล้วขัด หรือที่ศัพท์ช่างเรียกว่า กวดผิวให้เรียบจะเกิดลวดลายจากสีของโลหะที่ต่างกัน ตามลวดลายที่สลักและฝังโลหะไว้ ลงบนผิวหน้าของเครื่องใช้ที่ทาด้วยเหล็ก หากใช้เส้นเงินฝังเรียก คร่ำเงิน หากใช้เส้นทองฝังเรียก คร่ำทอง หากใช้เส้นนากฝังเรียก คร่ำนาก โดยจะต้องทำให้ผิวเหล็กเกิดเป็นรอยที่ละเอียดด้วยการใช้เหล็กสกัดที่คมบางแต่แข็งแกร่งตีสับลายตัดกันไปมาบนผิวโลหะให้เกิดความขรุขระ จากนั้นจึงใช้เส้นทองหรือเส้นเงิน หรือเส้นนากตอกให้ติดเป็นลวดลายวิจิตรงดงามตามที่ต้องการ ประเภทเครื่องใช้ที่จะตกแต่งใช้วิธีคร่ำ ต้องเป็นของที่ทามาจากเหล็ก เช่น ตะบันหมาก กรรไกรหนีบหมาก หัวไม้เท้า กรรไกรตัดผม ไปจนถึงเครื่องราชูปโภค เครื่องเหล็กซึ่งนิยมตกแต่งลวดลายด้วย การคร่ำเงิน คร่ำทอง หรือคร่ำนาก มักเป็นเครื่องราชศัสตราวุธ เช่น พระแสงดาบ พระแสงหอก พระแสงง้าว

“ซั่วแท้” ในภาษาอีสานแปลว่า “โง่มาก” ผู้ชายคนหนึ่งได้ยินคำนี้จากปากของคุณพ่อของเขา  ในวันที่เขาอยากพลิกชีวิตการทำงานในเมือง ไปเป็นชาวสวน แต่วันนี้เขาก็นำเรื่องนี้มาเล่าให้ทุกคนได้ฟังด้วยอารมณ์ขัน หากคนเราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และสามารถหล่อเลี้ยงอยู่กับมันไปทั้งชีวิตได้สบายๆ เป็นแต่ก่อนก็คงไม่มีใครกล้าทิ้งทุกอย่างไปง่ายๆ โดยเฉพาะการพลิกจากเมืองสู่ป่า จากตึกสู่เรือกสวนไร่นา ที่ไม่เคยคุ้นมาก่อน “บอย-วิวิช พวงสวัสดิ์”  เกิดในครอบครัวข้าราชการ เคยเป็นทั้งอาจารย์  ผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงาน  ผู้จัดการในบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ เขาตัดสินใจกลับมาทำสวน ซึ่งในตอนนั้น แทบไม่มีความรู้อะไรเลย จวบจนวันนี้ 6 ปีแล้ว ที่ไร่สุขสวัสดิ์เดินทางมาถึงจุดที่ตอกย้ำแนวคิดที่ว่า ความสุข ไม่ได้เกิดเพราะเรา รวยหรือจน แต่เกิดจาก “พอใจ” หรือ “ไม่พอใจ” ต่างหาก หากย้อนไปตั้งแต่ปี 2542 ไร่สุขสวัสดิ์ เริ่มต้นจากชายผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล “สะท้าน ไชยวงษ์” พ่อตาของคุณบอย อย่าว่าแต่วิชาการด้านการเกษตรเลย คุณพ่อสะท้าน แกอ่านไม่ออก

วันที่ลืมตาดูโลก ฉันอาจจะเป็นคนหนึ่งที่ได้นอนบนเสื่อกระจูด  ป้าของฉันเรียกมันว่า “สาดจูด” ตามประสาคนใต้ที่ชอบรวบรัดตัดคำให้สั้นลง นั่นคงเป็นสิ่งแรกที่นึกถึงกระจูด แม้วันนี้เราเดินทางมาไกล และอาจจะห่างจากบ้านเกิด ห่างจากสาดจูด และห่างจากลุงป้าน้าอา แต่ความทรงจำยังไม่เคยเลือนหาย ภาพของกระจูดยังแจ่มชัด เช่นเดียวกับความผูกพันของคนในเครือญาติ เมื่อมีโอกาสตามติดชีวิตของกระจูดอีกครั้งจึงได้รู้ว่า กระจูดเองก็เดินทางไปไกลแล้วเช่นกัน กระจูดเป็นพืชตระกูลเดียวกับ “กก” จริงๆ แล้วเกิดขึ้นเป็นวัชพืชในที่น้ำขังตลอดเวลา ดังนั้นที่ที่กระจูดจะใช้ชีวิตอยู่ได้ก็ต้องเป็นแหล่งน้ำจืดที่ไม่เคยแห้งแล้ง รู้จักกันในนาม “ป่าพรุ” ซึ่งเป็นดินโคลนที่มีน้ำขังทั้งปี ดังนั้นใครที่สนใจปลูกกระจูดก็สามารถนำกระจูดไปปลูกไว้ในอ่างได้ กระจูดตามธรรมชาติของพื้นที่ในประเทศไทย มีอยู่ใน 5 จังหวัดทางภาคใต้เท่านั้น คือ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส แต่ละพื้นที่ก็มีการสานกระจูดมานาน มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์และรูปแบบของตัวเอง สำหรับกระจูดที่พัทลุง ซึ่งเราได้เดินทางไปเจอมาล่าสุด จากการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า มีเรื่องราวที่ยาวนานมา เพราะในอดีตนิยมสานเป็นเสื่อและกระสอบใส่ข้าวสารและน้ำตาลเพื่อเป็นบรรณาการมานาน ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาจนกลายเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน การเดินทางทำให้เราได้มาเจอกับ “วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี” (Varni)

บางครั้งเราก็ลืมไปว่า หน้าที่ของสะพาน ใช้ในการเชื่อมโยงของสองฝั่งเข้าด้วยกัน เพราะวันนี้มีสะพานชมวิวเกิดขึ้นมากมาย บ้างก็ข้ามไปอีกที่ บ้างก็ไม่ได้ข้ามไปไหน แต่ที่สะพานไม้แกดำ นอกจากสะพานจะเล่าเรื่องราวให้เราฟังแล้ว สะพานยังเชื่อมโยงเรื่องราวของอีกฝั่งออกมาอย่างมีสีสัน สะพานไม้แกดำ ตั้งอยู่ที่วัดดาวดึงษ์ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เป็นสะพานไม้เก่า อายุราวมากกว่า 50 ปี  ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางข้ามอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ โดยเชื่อมระหว่างบ้านหัวขัวกับหมู่บ้านแกดำ [caption id="attachment_17370" align="aligncenter" width="800"] ทองอยู่ บุติมนตรี[/caption] จากคำบอกเล่าของ “ทองอยู่ บุติมนตรี” คุณครูวัยเกษียณ ตัวแทนของชมรมอนุรักษ์หนองแกดำ เล่าว่า เดิมทีราวปี 2502 สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นโดยคนในชุมชน เพื่อใช้ข้ามอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ ให้ชาวบ้านได้สัญจรไปมา เด็กๆ ได้ใช้เส้นทางนี้ข้ามไปโรงเรียน โดยไม่ต้องอ้อมไปทางถนน สะพานทอดยาว เล่าเรื่องราวในตัวเอง จากสภาพของไม้ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เรียงต่อกันด้วยฝีมือของคนในชุมชน สภาพไม่ได้เรียบร้อยเหมือนงานช่างที่เน้นความเป็นระเบียบ

ไม่ใช่เพียงแค่หน้าที่ที่ทำให้คนเรายังมีที่ยืน ที่อยู่ ที่อาศัย แต่วันนี้โลกรู้แล้วว่า ดิน คือ ที่พึ่งของคนทั้งโลก เพราะแม้แต่กองทัพยังต้องเดินด้วยท้อง ดังนั้นความมั่นคงของประเทศ ที่หลายคนมองว่าเป็นแค่เรื่องของการทหาร ก็ยังต้องพึ่งพาอาหาร ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศมีความมั่นคงสูง ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร แต่ในขณะเดียวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการเรื่องของดิน น้ำ ป่า เพราะหากใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง  อาจจะกลายเป็นการทำลายสิ่งที่มีค่าไปอย่างน่าเสียดาย หลายคนคงได้ทราบแล้วว่า ในวันดินโลก พ.ศ.2561 ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสหประชาชาติ (UN) มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันดินโลก เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชา และน้อมสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาดิน  รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดินเพื่อความมั่นคงทางอาหารโลกอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด ‘Be the solution to soil pollution’ เน้นเรื่องมลพิษทางดินซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร [caption

ได้ยินไกด์ท้องถิ่นพูดแว่วๆ ว่า ใครที่ได้มาดาลัดแล้ว ต้องได้กลับมาอีก เพราะการมาเที่ยวดาลัดก็จะได้อะไรดีๆ กลับไปเสมอ อาจจะเป็นความรู้สึกดีๆ ที่เป็นตัวเป็นตน เป็นใครสักคน หรืออาจจะหมายถึงความทรงจำดีๆ ก็เป็นได้ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เดินทางมาดาลัด แต่ก็ยังรู้สึกเหมือนได้พบกันครั้งแรก ไม่ใช่ภาพที่เปลี่ยนไปจากระยะห่างนานหลายปี แต่เป็นเพราะภาพเดิมที่ยังคงงดงาม คล้ายๆ กับการได้กลับไปพบเจอใครสักคนที่ได้แอบคิดถึงมานานแล้ว 3 วัน 2 คืนในดาลัดในช่วงปลายฝนเดือนตุลาคม เราพบกับ 4 บุคลิกของเมืองแห่งนี้ ยามเช้าที่หนาวเย็นจนแทบไม่อยากออกจากอาณาจักรผ้าห่ม ตกสายที่เริ่มเจอแดดร้อนเสิร์ฟตรงถึงใบหน้า บ่ายคล้อยเริ่มมีฝนพรำจนต้องวิ่งหลบ แต่พอตกค่ำ ลมหนาวก็กระหน่ำมาเป็นชุดใหญ่ ด้วยเป็นเมืองที่มีสภาพอากาศเย็นทั้งปี หลายแห่งของที่นี่จึงไม่มีเครื่องปรับอากาศ เช่นเดียวกับโรงแรมใจกลางเมืองที่เราเข้าพัก DU PARK HOTEL DALAT หากร้อนก็เปิดหน้าต่าง แต่ถ้ารู้สึกเย็นก็ปิดหน้าต่างซะ ก็เท่านั้น [caption id="attachment_17303" align="aligncenter" width="800"] วัดเจดีย์มังกร[/caption] มีหลายอย่างที่เราได้เห็นความน่ารักของดาลัดในวันนี้

ผู้หญิงกับดอกไม้เป็นของคู่กัน แต่วันนี้ได้เห็นแล้วว่า ถ้าเจอทุ่งดอกไม้งามๆ ก็เล่นเอาผู้ชายใจสลายได้เหมือนกัน และนี่เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวราวความคิด ที่อยู่ในเมืองสวรรค์ อย่าง “นครสวรรค์” เข้าหน้าหนาวแล้ว ท้องฟ้าขับสีเข้มอวดโฉม ใครที่มองหาบรรยากาศแห่งทุ่งดอกไม้ในเมืองไทย มีจุดหมายให้เลือกหลายแห่ง เช่นเดียวกับนครสวรรค์ ซึ่งหลายคนอาจจะทราบแล้ว แต่หลายคนก็ยังไม่ทราบว่า ในช่วงปลายปีจะมีบรรดาทุ่งดอกไม้อวดโฉมอยู่เหมือนกัน ทุ่งปอเทืองไร่ธรรมชัย อ.ตากฟ้า กลายเป็นสวรรค์ของคนรักดอกไม้ เพราะมาที่นี่แล้ว จะได้พบกับทุ่งดอกไม้ถึง 3 ชนิด แถมยังเป็นดอกไม้ที่สวยและมีประโยชน์อย่างมาก ปกติแล้วเกษตรกรชาวนครสวรรค์นิยมปลูกต้นปอเทืองเพื่อบำรุงดินหลังจากการทำไร่นา แต่ที่ไร่ธรรมชัยถือว่าเป็นทุ่งปอเทืองที่มีขนาดใหญ่ราว 40 ไร่ แถมยังมีฉากหลังเป็นภูเขาอันงดงาม สัมผัสได้ตั้งแต่แรกเริ่มที่มาถึง ที่ไร่ธรรมชัยจะทำการปลูกปอเทืองราวตุลาคม ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่กำลังบานยาวไปจนถึงต้นปีหน้า อากาศที่เย็นลง เป็นแรงจูงใจที่ดีสำหรับการเข้ามาท่องเที่ยว การปลูกปอเทืองเริ่มจากการเตรียมเมล็ดพันธุ์ เริ่มเพาะ โดยจะใช้เมล็ดพันธุ์ราว 5 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นก็ทำการหว่านเมล็ดลงไป 3-5 วันต้นอ่อนจะเริ่มงอกออกมา 50-60 วันดอกเหลืองๆ จะเริ่มผลิบาน

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู เดินหน้าสานพลังไทยนิยมยั่งยืน จัดโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี นำเสนอของดี วิถีเด่น ชูเส้นทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ใน 6 หมู่บ้าน พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนภายใต้การประกวด “นักเล่าเรื่อง” เสริมเสน่ห์ท่องเที่ยววิถีไทย สืบสานคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น หนุนฐานรากอันเข้มแข็ง สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน [caption id="attachment_17145" align="aligncenter" width="900"] สงวน มะเสน (ขวา)[/caption] นางสงวน มะเสนา พัฒนาการจังหวัดหนองบัวลำภู  เปิดเผยว่า จังหวัดหนองบัวลำภู มีศักยภาพและความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ด้วยสภาพทางธรรมชาติที่มีความงดงาม เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ และวิถีชุมชนอันเป็นเอกลักษณ์ พร้อมด้วยภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่า สามารถพัฒนาและต่อยอดเพื่อขยายการรับรู้ไปในวงกว้าง เพื่อดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ อันจะนำไปสู่การสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน ส่งผลต่อการเติบโตในภาพรวมของเศรษฐกิจระดับประเทศ โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นอีกหนึ่งโครงการที่รัฐบาลมอบหมายให้ทุกจังหวัดดำเนินการขับเคลื่อนภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน โดยเป็นแนวคิดในการพัฒนา

สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ภูมิปัญญา ความคิด หรือ ความงาม เรียกกันว่า “ศิลปะ” แต่ไม่ใช่ว่า อารมณ์ความนึกคิดทุกอย่างจะเป็นศิลปะ เพราะต้องสอดแทรกด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดยมีจุดประสงค์ที่แน่นอนแฝงอยู่ และที่สุดแล้ว  ต้องถูกกลั่นกรองออกมาจากความตั้งใจ แต่อย่าไปสนใจหรือบีบบังคับด้วยการท่องจำเลยว่า ศิลปะจะหมายถึงอะไร เพราะหากหัวใจเปิดรับความงดงามของศิลปะได้ก็เพียงพอแล้ว รอยขูดเขียนบทผนัง หรือ กราฟฟิตี้ (Graffiti) อาจจะเคยอยู่ในโลกปิด และไม่อาจจะยอมรับได้มาก่อน เพราะหากจิตรกรมีหน้าที่ในการซื้อผืนผ้าใบของตัวเอง เหล่าศิลปินกราฟิตี้ ก็น่าจะต้องสร้างผนังของตัวเองมาเช่นกัน แต่ใช่ว่าผนังกำแพงจะสามารถขวางกั้นความงดงามได้ เพราะวันนี้มีพื้นที่อีกมากมาย พร้อมเป็นเฟรมขนาดใหญ่ให้ศิลปินผู้เต็มไปด้วยไอเดียและฝีมือเข้ามาบรรเลงกันให้หนำใจ และดูเหมือนว่าตอนนี้ เกือบทุกที่จะมี Street Art เท่าที่เดินทางไปในหลายจังหวัด ก็ได้เจอศิลปะแนวนี้อยู่แทบจะทุกแห่ง และมันไม่ใช่ศิลปะของคนเมืองอีกต่อไป เพราะแม้จะอยู่ในชนบทห่างไกลก็ยังเจอ วันนี้เราเดินทางมายังจังหวัดร้อยเอ็ด ที่นอกจากเกินร้อยแล้ว มักจะเป็นคำโดนต่อท้ายด้วย “เจ็ดย่านน้ำ” ทำให้เป็นจังหวัดที่ดูพลังล้นเหลือ แล้วก็ได้เห็นจริงๆ ก่อนหน้านี้ ราว

รู้สึกดีที่ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปถึงไหน แต่เราก็ยังมีสายตามองเห็นความงามได้เช่นเดิม สิ่งที่เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่อยากให้ลืม เกิดขึ้นหลายอย่างในปีนี้คือ “คนทำดีถือว่าเท่” และกลายเป็นแบบอย่างให้เราได้อุ่นใจอยู่เสมอ ท่ามกลางข่าวสารที่แสดงให้เห็นความน่ากลัวของคน มากขึ้นทุกวัน ที่พัทลุงเขาก็เท่ ไม่ได้เท่เพราะแคมเปญ “เที่ยวไทยเท่” อย่างเดียวหรอกนะ ได้กลับไปเยือนครั้งนี้ ได้เห็นมุมมองดีๆ จนอยากจะบอกต่อ เพราะสิ่งที่เขาทำ เกิดเป็นความดีที่เท่แท้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เราอาจจะเคยได้ยินเรื่องของการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เป็นจุดขายของแต่ละพื้นที่ สิ่งที่ทำได้ง่ายและทำได้เลยก็คือ การรวมตัวของคนในชุมชนเป็นตลาดนัดชุมชน ที่นำของดีของเด็ดของแต่ละคนมานำเสนอ เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสกันแบบที่เดียวครบ จบทุกของดีของอร่อย [caption id="attachment_17064" align="aligncenter" width="799"] เท่ตั้งแต่แรกเห็น[/caption] ที่พัทลุงเขามีตลาดใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายแห่ง ซึ่งไม่ได้มีแค่เอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่มีความเท่แท้อย่างที่เราบอกไป เริ่มต้นจาก “ตลาดป่าไผ่” ชื่อเต็มๆ ว่า “ตลาดป่าไผ่สร้างสุข” อ.ควนขนุน ห่างจากตัวเมืองพัทลุงแค่ 17 กิโลเมตร จะไม่สุขได้อย่างไร เพราะที่นี่เป็นตลาดแห่งความรักษ์ รักโลก รักสิ่งแวดล้อม ด้วยการร่วมมือร่วมใจของคนซื้อและคนขาย ตลาดป่าไผ่สร้างสุข

ถ้าชีวิตของคุณคือบริษัทหนึ่งที่จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์และเป้าหมาย เคยหรือไม่ ที่จะตั้งคำถามว่า อีก 10-20 ปีข้างหน้า “ฉันจะเป็นอย่างไร” แล้วกลยุทธ์ที่จะทำให้เดินไปถึงเป้าหมายนั้นเป็นแบบไหน “เคชม” หรือ คุณดุษศิดา ภาคาเดช คณะกรรมการผู้จัดการ ลาชูเล่ กรุ๊ป ผู้ก่อตั้งเพจ เคชม Beautypreneur เคล็ดลับธุรกิจพันล้าน บทบาทของนักธุรกิจที่ผันตัวมาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในนาม “ครูเคชม” วันนี้เธอจะมาแบ่งปันประสบการณ์ในเส้นทางธุรกิจ 20 ปีที่ผ่านมา  รวมทั้งเส้นทางสู่เป้าหมายครั้งใหม่ในระดับหมื่นล้าน จากแนวคิดที่อาจจะทำให้หลายคนได้แรงบันดาลใจและกลับมาสนุกกับการตั้งเป้าหมายให้กับชีวิตอีกครั้ง เคชม เล่าย้อนไปถึงสมัยเริ่มต้นทำธุรกิจว่า สมัยเรียนจบเคยอยากเป็นแอร์โฮสเตส เพราะอยากเดินทางท่องเที่ยว แต่เมื่อลองย้อนมองตัวเองแล้วพบว่า  ไม่ได้ชื่นชอบงานบริการสักเท่าไหร่  จนตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ชีวิตในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเป็นอย่างไร” จนได้รู้จักกับพันธมิตรทางธุรกิจชาวฝรั่งเศส ซึ่งแนะนำผลิตภัณฑ์ความงามที่มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ปัญหาของคนไทยได้ จึงตัดสินใจเริ่มทำธุรกิจ ด้วยเล็งเห็นว่า

หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ร่วมกับ มูลนิธิบัวหลวง จัดโครงการประกวดศิลปิน “ดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑” ครั้งที่ ๑๑ ภายใต้หัวข้อ “ก้าวใหม่  :  ศิลปะไทยวิวัฒน์ ” เพื่อเปิดเวทีสร้างสรรค์ให้ศิลปินรุ่นใหม่มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง  [caption id="attachment_16985" align="aligncenter" width="800"] คุณหญิงชดช้อย  โสภณพนิช[/caption] คุณหญิงชดช้อย  โสภณพนิช  กรรมการมูลนิธิบัวหลวง และประธานโครงการดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑  เปิดเผยว่า  การจัดโครงการประกวดศิลปิน “ดาวเด่นบัวหลวง ๑๐๑” ครั้งที่ ๑๑ ภายใต้หัวข้อ “ก้าวใหม่  :  ศิลปะไทยวิวัฒน์ ” เพื่อเปิดเวทีสร้างสรรค์ให้ศิลปินรุ่นใหม่ แสดงออกถึงความสามารถ  จุดประกายความตื่นตัวการสร้างสรรค์งานศิลปะ ของศิลปินหนุ่มสาวรุ่นใหม่สู่สาธารณชน  มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง 

เมื่อวันที่อาหารการกิน ไม่ได้จำกัดเรื่องราวเพียงวัตถุดิบ รสชาติ หรือวัฒนธรรม และเป็นวันที่ห้องครัวที่เคยถูกปิดเป็นพื้นที่หวงห้ามถูกเปิดขึ้น เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่เราได้รู้จักกับสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีผู้อยู่เบื้องหลังศิลปะการปรุงมากขึ้น และนี่คือความสุข จากความคิดและการสร้างสรรค์วิถีความเป็นอยู่ ยกระดับมื้ออาหารให้เป็นหนึ่งในช่วงเวลาของการละเลียดผลงานศิลปะ ผ่านเรื่องราวที่เชฟบรรจงสร้างมา Meetthinks มีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดตรัง และแวะชมสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามหลายแห่ง และในดินแดนที่ได้ชื่อว่า “ยุทธจักรความอร่อย” ก็ยังมีรสชาติใหม่ๆ ให้สัมผัสอยู่เสมอ [caption id="attachment_16978" align="aligncenter" width="800"] ระยะการเดินขึ้นไปชมน้ำตกใกล้ๆ แค่ 5 นาที[/caption] กะช่องฮิลล์ อาจจะเป็นชื่อที่คุ้นเคยของผู้ที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณเขาพับผ้า ที่เชื่อมเส้นทางของจังหวัดและพัทลุงเข้าด้วยกัน ท่ามกลางความเขียวขจีของขุนเขาที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ หลายคนอาจจะเคยเดินทางมาเที่ยวน้ำตกกะช่อง ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาน้ำตกของตรัง เนื่องจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เคยเสด็จมาประพาสเมื่อปี 2502 และประวัติศาสตร์ไทยยังได้จารึกไว้ว่า น้ำตกแห่งนี้ยังมีพระมหากษัตริย์ทรงเสด็จมาประพาสอีก 2 พระองค์ คือ รัชกาลที่ 6 เมื่อปี 2548 และรัชกาลที่

ไม่อยากขึ้นต้นเลยว่า เป็นจังหวัดที่ใกล้แค่ขับรถเพียงชั่วโมงกว่าๆ ก็ไปถึง เพราะจริงๆ นักท่องเที่ยวไทย ก็ไม่ได้มีแค่คนที่ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ และอยากบอกว่า นี่คืออีกแหล่งท่องเที่ยวในเมืองไทย ที่ไม่ได้มีใครซุกซ่อนไว้ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก อ่างทองเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรม มีวัดที่มีเอกลักษณ์จากความเป็นที่สุด ถึง 3 แห่ง ทั้ง วัดม่วง ซึ่งประดิษฐาน “หลวงพ่อใหญ่” หรือ “พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในโลก  “วัดขุนอินทประมูล” ที่นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามาสักการะบูชา “องค์พระพุทธไสยาสน์” ที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย รวมทั้ง “วัดจันทรังษี” โดยมีรูปหล่อของ "หลวงพ่อสด"  ซึ่งเป็นหลวงพ่อสดองค์ใหญ่ที่สุดเช่นเดียวกัน วันนี้เราเดินทางมายังอ่างทอง เพื่อเปิดมุมมองใหม่ แต่จะว่าไปก็ไม่ได้ใหม่สดแบบเพิ่งเกิดขึ้น แต่อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เพราะที่นี่คือ “วัดบ้านพราน” วัดเก่าแก่ของจังหวัดอ่างทองที่มีอายุมากกว่า 900 ปี ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ชัยมงคล

ได้ยินเรื่องราวน่ารักจากการสนทนาของเด็กน้อยกับคุณน้า เด็กน้อย : ประเทศอะไรมีนาอยู่ตรงกลาง น้า : ปานามา เด็กน้อย : ผิด! แคนาดา ต่างหาก น้า : อ้าว แล้วปานามาไม่ถูกหรือ เด็กน้อย : มีที่ไหน ประเทศปานามา

เรื่องชุ่มเย็นใจของคนหัวใจศิลป์มาถึงแล้ว เพราะในช่วงที่ประเทศไทย กำลังอบอวนไปกลิ่นไอของสุนทรียะของศิลปกรรม จากศิลปิน และผู้สนใจงานด้านศิลปะจากทั่วโลก ในงานเทศกาลศิลปะ “Biennale” ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในแวดวงศิลปะระดับนานาชาติ ที่มาจัดงานในประเทศไทยเป็นครั้งแรก   ในช่วงเดือนตุลาคม 2561 ถึง กุมภาพันธ์ 2562  โดยแบ่งเป็น 2 งาน  คือ Thailand Biennale 2018 และ Bangkok Art Biennale  มูลนิธิบัวหลวง จึงจัดงานนิทรรศการ “Beyond Artistic Boundary : ความงามข้ามขอบเขต” คู่ขนานไปพร้อมๆ กัน   นิทรรศการ “Beyond Artistic Boundary : ความงามข้ามขอบเขต”

มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชม นิทรรศการศิลปะ Beauty and Ugliness : Aesthetic of Marsi ความงามและความน่าเกลียด : สุนทรียศิลป์ แห่งมารศี นิทรรศการใหญ่ครั้งแรก ในรอบ 5 ปี ที่จะนำผู้ชมร่วมค้นหาความหมายแห่งสุนทรียศาสตร์ จากผลงาน  จิตรกรรมฝีพระหัตถ์อันทรงคุณค่ากว่า 40 ชิ้น ของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร จิตรกรหญิงชาวไทยผู้สร้าง สรรค์ ผลงานอันเปี่ยมล้นด้วยตัวตนและจิตวิญญาณ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า ตั้งแต่ 7 พฤศจิกายน ถึง 23

คนเราไม่ชอบความเปลี่ยนแปลงสักเท่าไหร่ แม้ส่วนใหญ่ชอบออกมาตะโกนว่า อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง เพราะแม้แค่การปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างในชีวิตประจำวัน เราก็รู้สึกขัดหูขัดตาเสียกระบวนท่าการใช้ชีวิตไปเสียแล้ว “แปรงสีฟันฉันอยู่ไหน” รับรองว่าคุณจะเป็นอีกคนที่มึนงงหน้ากระจก หากวันใดวันหนึ่ง อุปกรณ์ยามเช้าของคุณได้ย้ายที่อยู่ออกไปตั้งรกรากใหม่ แม้จะเป็นเพียงฝั่งซ้ายไปฝั่งขวา ก็เขม่นลูกกะตาแล้วว่า ฝีมือใคร! ความรู้สึกพอๆ กับแม่มาเยี่ยมที่หอพัก พอกลับไปแล้ว อะไรที่เคยอยู่ (ไม่เป็นที่) ก็กลายเป็นหายไปตามระเบียบ (เรียบร้อย) คนอยากผอม จึงอยากได้ความเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่ไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง ก็ยังอยากฟินกินสุโก้ยโซ้ยแหลกอยู่นี่นา จะย้ายร่างออกไปตุเลงเต๊งชึ่งในฟิตเนสก็แหม ไม่มีมีเวลามากหรอกนะ คนทำงานมาเหนื่อยๆ มันต้องพักบ้างรู้รึเปล่า

คำว่า “ทั้งปี” มักจะอยู่ในรูปประโยคที่ไม่ค่อยดี เช่น เป็นอย่างนี้ทั้งปี! ที่แสดงถึงการบ่นถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  แต่มองอีกด้าน คำว่า “เป็นอย่างนี้ทั้งปี” มันก็เสมอต้นเสมอปลายดีนะ พอบอกว่า “ทั้งปี” จะหมายถึงอะไรได้บ้าง สภาพอากาศ ฝนตกทั้งปี ออกดอกทั้งปี ออกผลทั้งปี มาถึงคราวนี้ เราจะได้เข้าใจความหมายของคำว่า “ทั้งปี” กันมากขึ้น “ทั้งปี” ไม่ได้หมายถึง “ทุกวัน” เหมือนดอกไม้ที่ออกดอกทั้งปี ก็ไม่ได้ออกดอกทุกวัน จบคาบภาษาไทยแล้ว ออกไปเที่ยวกันได้ เพราะเวลาบอกว่าที่เบตง มีหมอกให้ชมทั้งปี คนก็หมายความว่า มันต้องมีให้เห็นทุกวันสินะ แต่บางครั้ง วันฝนตก อากาศไม่เป็นใจ มวลมหาหมอกก็ไม่มารวมตัวกันให้เราชม เหมือนบรรดาพลังแสงยามเช้าหรือยามเย็น ที่ต้องเฝ้ารอคอยชมความงามกันในแต่ละที่ เจอกับอิทธิฤทธิ์ของเมฆฝนเข้าไป ก็ทำให้บังแสงที่ควรจะส่องให้ชมได้ ที่ “เบตง” ได้ชื่อว่า “เมืองในหมอก” ที่ซึ่งจะชมความงามของหมอกรอบตัวได้ทั้งปี

การได้คุยกับใครสักคน เป็นความสุขหนึ่งที่สร้างความโล่งโปร่งสบายใจ แต่การได้นั่งฟังใครสักคนหนึ่ง ก็ชื่นใจไม่แพ้กัน แถมยังเปิดจินตนาการจากเรื่องเล่าได้ไม่รู้เบื่อ เพราะนี่คือ “เรื่องเล่าแห่งชาวไทลื้อ” จากแม่แสงดา สาวชาวไทลื้อ ผู้มีเรื่องราวมากมาย เป็นนิทานที่ไม่มีวันจบสิ้น กล่อมให้เราตกอยู่ในห้วงแห่งการท่องเที่ยวอย่างมีความสุข   อ.เชียงคำ จ.พะเยา คือ ประสบการณ์แห่งความสุขจากเรื่องเล่าของชาวไทลื้อที่เราได้มาสัมผัสในวันนี้ พร้อมกับความแปลกใหม่กับการสวมชุดไทลื้อออกไปท่องโลกไทลื้อในชุมชนแห่งนี้ [caption id="attachment_16634" align="aligncenter" width="900"] เช่าชุดไทลื้อมาสวมใส่ สร้างประสบการณ์ใหม่ เที่ยวชุมชนไทลื้อ[/caption] ไทลื้อ หรือ ไตลื้อ เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่างๆ ดังที่เราได้ลองแปลงร่างเป็นชาวไทลื้อวันนี้ พบว่า ชุดไทลื้อมีความเรียบง่าย แต่ก็งดงาม [caption id="attachment_16649" align="aligncenter" width="900"]