Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

CEA หนุนคอนเทนต์ไทยสู่ตลาดสากล Kick Start 4 อุตสาหกรรม

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA หนุนคอนเทนต์ไทยสู่ตลาดสากล เดินหน้า Kick Start ชู 4 อุตสาหกรรมปั้นบุคลากรมืออาชีพ สร้างได้ ขายเป็น ผ่านเวที Content Lab เชิญโปรดิวเซอร์ระดับโลก “เรย์มอนด์ พัฒนวีรางกูล” และ “ยูยองอา” นักเขียนบทชาวเกาหลี ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และผลักดันพื้นที่ Virtual Media Lab เสริมทัพด้านเทคโนโลยี ร่วมกับ 12 มหาวิทยาลัย พัฒนาแรงงานสร้างสรรค์ พร้อมผนึกภาคเอกชนผลักดันแหล่งเงินทุนรูปแบบต่าง ๆ สนับสนุน Creative Economy มุ่งหน้าขับเคลื่อน Soft Power เสริมแกร่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย

ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เปิดเผยว่า“อุตสาหกรรมคอนเทนต์” เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้ส่งออกผ่านนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยมี 4 สาขาอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยที่น่าจับตามอง และมีศักยภาพส่งออกได้ ประกอบด้วย 1.สาขาซอฟท์แวร์ (เกมและแอนิเมชัน) 2.สาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) 3.สาขาการกระจายเสียง (Broadcasting) และ 4.สาขาการพิมพ์ (Publishing)

ปัจจุบันรัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมคอนเทนต์ให้ขับเคลื่อนในฐานะ Soft Power โดยมีปัจจัยอ้างอิงจากการจัดอันดับ Global Soft Power Index 2023 โดย Brand Finance Soft Power ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 41 จาก 121 ประเทศทั่วโลก ได้ 42.4 คะแนน โดยเพิ่มขึ้นจาก 40.2 คะแนนในปี 2022 และกลุ่มสาขา Media & Communication ซึ่งเป็น 1 ใน 7 Soft Power Pillars จากเดิมที่มี 2.9 คะแนน ในปี 2022 เพิ่มเป็น 3.3 ในปี 2023 ซึ่งแสดงให้เห็นแนวโน้มของการเติบโตที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมคอนเทนต์มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่อง Hunger คนหิวเกมกระหาย ทาง Netflix ยังเป็นคอนเทนต์ไทย ในหมวดภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศ (Non-English) ที่ติดอันดับ 1 ใน 88 ประเทศทั่วโลก ตอกย้ำถึงศักยภาพอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยเป็นหนึ่งใน Soft power ที่ส่งออกสู่ตลาดโลกได้อย่างแท้จริง

CEA จึงจัดทำแนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์ประกอบของอุตสากรรมคอนเทนต์ เพื่อลดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ทั้งในส่วนของบุคลากร เทคโนโลยี การตลาด ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งการบูรณาการความร่วมมือกับอีกหลายหน่วยงาน เพื่อผลักดันคอนเทนต์ไทยให้ก้าวสู่ตลาดโลกได้อย่างมีศักยภาพ

ด้านบุคลากร: ได้จัดโครงการ Content Lab เพื่อเป็นศูนย์กลางการบ่มเพาะ สนับสนุนนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ส่งต่อตลาดในกลุ่ม OTT และ Broadcasting แบ่งเป็น 2 โปรเจ็กต์ คือ 1) กลุ่มภาพยนตร์ และซีรีส์ (Film & Series) โดยเริ่มต้นในการพัฒนาทักษะให้กับแกนหลักของอุตสาหกรรมคอนเทนต์ ประกอบด้วย โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับ และนักเขียนบท ผ่านโครงการอบรม ไปจนถึงการสร้าง Project Proposal และ Teaser ให้เกิดขึ้นจริง

โดยมีทุนสนับสนุน พร้อมโอกาสในการ Pitching กับ Streaming Platform และผู้ผลิตภาพยนตร์ 2) กลุ่มดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดโอกาสให้นักศึกษาและบุคคลทั่วไปเข้ามาอบรมด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่

ด้านเทคโนโลยี: ได้จัดทำโครงการ CEA Virtual Media lab สนับสนุนพื้นที่การทำ Post Production มุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยี AR/VR และ Virtual Production ที่ใช้อย่างแพร่หลายในสาขาภาพยนตร์ โฆษณา เกม แอนิเมชัน และอีเวนต์ โดยจะเริ่มเฟสแรกในปี 2566 เปิดพื้นที่สำหรับนักศึกษาเข้ามาใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยจะมีการ MOU กับ 12 มหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาเข้ามาใช้พื้นที่ ส่วนเฟส 2 ในปี 2567 จะเปิดพื้นที่สำหรับภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs เข้ามาใช้บริการ

ด้านการสนับสนุนงบประมาณ: CEA สนับสนุนการจัดตั้งกองทุน Private Equity Trust  เพื่อส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย เป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนให้กับนักสร้างสรรค์ไทย ในการผลิตและต่อยอดผลงาน โดยจะมีภาคเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุน ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ  ในการจัดตั้งกองทุน คาดว่าจะพร้อมเปิดตัวได้ภายใน 1-2 ปี

นอกจากนั้น CEA จะประสานความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาคอนเทนต์ไทยให้เติบโตได้ทั้งในและต่างประเทศ อาทิ บริษัท เน็ตฟลิกซ์   (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) จำกัด, สมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจบันเทิงไทย (TECA), สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ, สมาคมผู้กับกับภาพยนตร์ไทย เป็นต้น

“ประเทศไทยมี Local Content ที่เด่นชัดในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปวัฒนธรรม หัตถกรรม สถาปัตยกรรม อาหาร บันเทิง ดนตรี ภาพยนตร์ สิ่งเหล่านี้นับเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรม เมื่อนำความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อน จะเป็นหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นโมเดลที่สะท้อนภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศไทย” ดร.ชาคริต กล่าว

กูรูระดับอินเตอร์ แชร์ไอเดียช่วยหนังไทย

สำหรับโครงการ Content Lab เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ปัจจุบันได้เดินทางมาถึงช่วงของการอบรมพัฒนาทักษะเพื่อสร้างผลงาน โดยล่าสุดได้เชิญบุคลากรมืออาชีพมาแบ่งปันประสบการณ์ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย “เรย์มอนด์ พัฒนวีรางกูล” โปรดิวเซอร์ไทยระดับโลก ที่มีผลงานระดับสากล อาทิ Thirteen Lives (2022) ร่วมกับผู้กำกับระดับโลก Ron Howard, Tokyo Sonata (2008), Apprentice (2016)

และ “ยูยองอา” นักเขียนบทภาพยนต์และซีรีส์ชาวเกาหลีที่มีผลงานโดดเด่น อาทิ Thirty Nine (2018), Kim Ji-yong: Born 1982 (2019), Divorce Attorney Shin (2023)

“เรย์มอนด์ พัฒนวีรางกูล” โปรดิวเซอร์ไทยระดับโลก กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมภาพยนต์ไทยพบเจออุปสรรคหลายด้าน ทั้งในแง่เงินทุน การสนับสนุนจากภาครัฐ พฤติกรรมของผู้บริโภค รวมทั้งอิทธิพลของสตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม (OTT Platform)  ส่งผลให้จำนวนภาพยนตร์ไทยในแต่ละปีลดลงมาก ปัจจุบันมีภาพยนตร์ไทยออกสู่ตลาดไม่ถึง 50 เรื่อง จากจำนวน 100 – 200 เรื่อง ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 2000

แนวคิดในการก่อตั้งกองทุนสำหรับผู้ผลิตคอนเทนต์ จะเป็นหนทางหนึ่งในการแก้อุปสรรคของผู้สร้างภาพยนตร์และซีรีส์ในปัจจุบัน ที่ประสบปัญหาขาดเงินทุนและการสนับสนุน ทำให้ต้องอาศัยเงินทุนจากค่ายสตรีมมิ่งแพล็ตฟอร์ม ซึ่งจะเสียโอกาสในการถือครองลิขสิทธิ์ไปในที่สุด ทั้งนี้ หากรัฐบาลหันมาให้ความสำคัญในการสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างจริงจังก็จะช่วยแก้ปัญหาที่มีอยู่ออกไปได้มาก

แนวทางที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยให้เติบโตและก้าวสู่สากลได้อีกประการหนึ่ง คือ การสร้างเวทีเพื่อแสดงศักยภาพของประเทศไทย เช่นเดียวกับเวทีที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อาทิ รางวัลปาล์มทองคำ เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ฯลฯ ซึ่งเวที Content Lab ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่น่าสนใจนอกจากนั้นประเทศไทยควรมีหน่วยงานศูนย์กลางด้านภาพยนตร์เช่นเดียวกับหลาย ๆ ประเทศ เช่น สภาการภาพยนตร์เกาหลี (Korean Film Council หรือ KOFIC)  เพื่อเป็นตัวแทนในการดำเนินงาน ทั้งการสนับสนุนและพัฒนาวงการภาพยนตร์ไทย

นักเขียนบทเกาหลี ชี้เส้นทางสู่ความสำเร็จ

ด้าน “ยูยองอา” นักเขียนบทภาพยนตร์และซีรีส์ชาวเกาหลี กล่าวว่า เส้นทางความสำเร็จของอุตสาหกรรมคอนเทนต์เกาหลีมาจากหลายปัจจัย เช่น การสนับสนุนของภาครัฐที่ค่อนข้างสมบูรณ์ครบวงจร มีการผลิตบุคลากรผู้สร้างสรรค์ผลงานได้ทันการเติบโต มีเงินลงทุนและผู้สนับสนุนอย่างชัดเจน ดังนั้นการที่ CEA มีเวที Content Lab ถือเป็นการสร้างเวทีให้กับคนรุ่นใหม่ได้เข้ามาแสดงวิสัยทัศน์ และพัฒนาตัวเองในสายอาชีพนี้ ซึ่งทั้งเกาหลี หรือฮอลลีวูดก็มีเวทีแบบนี้เช่นกัน

สำหรับการเขียนบท ถือ เป็นส่วนหลักในการกำหนดทิศทางของการผลิตคอนเทนต์ และเป็นตัวกำหนดแรงดึงดูดและคล้อยตามของผู้ชม โดยส่วนตัว “ยูยองอา” ระบุว่า ชื่นชมภาพยนตร์ไทยเรื่อง Hunger และ ฮาวทูทิ้ง ที่มีบทน่าสนใจ พร้อมคาแรคเตอร์ที่ชัดเจน ขณะที่หนังสยองขวัญของประเทศไทยถือว่าทำได้ดีเช่นเดียวกับซีรีส์วาย

ในโอกาสการมาบรรยายบนเวที Content Lab ในประเทศไทย “ยูยองอา” ได้แบ่งปันประสบการณ์ให้กับผู้เข้าอบรมในหลายประเด็น เช่น การสร้างพล็อตที่ดี ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ช่วง Set Up, Climax และ Ending ซึ่งช่วงแรกถือว่าสำคัญมาก ต้องดึงความสนใจของผู้ชมไว้ให้ได้ตั้งแต่ 15 นาทีแรกการสร้างคาแรคเตอร์ของตัวละครต้องสะท้อนความคิดและการแก้ปัญหาเมื่อเจอสถานการณ์และความเสี่ยงที่เพิ่มระดับมากขึ้น เป็นต้น อีกทั้งยังแนะนำว่า นักเขียนบทต้องเป็นคนช่างสังเกต มีการเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องรู้จักตัวละครอย่างละเอียด ต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรับฟังคำวิจารณ์เพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้น

สำหรับเส้นทางนักเขียนบทของ “ยูยองอา” เธอเป็นนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีนที่ชื่นชอบการเขียนบทกวี เริ่มต้นฝึกเขียนบทตอนมีลูกคนแรก และใช้เวลาถึง 5 ปีในการฝึกฝน ก่อนจะได้รับคัดเลือกเป็นผู้ช่วยนักเขียนบท และหาทางพัฒนาฝีมือจนกลายเป็นนักเขียนบทที่มีผลงานอันโดดเด่นในปัจจุบัน

โครงการ Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล ในกลุ่มภาพยนตร์ และซีรีส์ (Film & Series) อยู่ระหว่างการจัดเวิร์กช็อปและอบรมผู้เข้าร่วมทั้งหมด 30 ทีม (เม.ย. – มิ.ย. 2566) และจะมีการคัดเลือกทีมที่ได้รับทุนสนับสนุนการผลิตตัวอย่างแบบสั้น จำนวน 10 – 15 ทีม จาก CEA และ ปตท. ในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 โดยจะเปิดรอบการนำเสนอผลงานเพื่อโอกาสการผลิตจริง (Pitching Event) ในวันที่ 28 สิงหาคม 2566 ต่อผู้ผลิตภาพยนตร์ ผู้ผลิตซีรีส์ เพื่อต่อยอดต้นแบบคอนเทนต์และผลักดันโปรเจ็กต์นั้นให้ไปได้ไกลในระดับสากลต่อไป

Post a comment

eight + 15 =