Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

พฤศจิกายน 2023

กรุงเทพฯ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 – นางสาวอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานมอบวุฒิบัตรกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายดีพร้อมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่ตลาดสากล (DIPROM Connext) พร้อมดันผู้ประกอบการไทยสู่สากล ณ ห้องบอลรูม 2 โรงแรม เอส 21 สุขุมวิท นางสาวอังสนา โสมาภา เผยว่า ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป การดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายหลากหลายประการ ทั้งทรัพยากรที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตมีปริมาณจำกัดลง ผู้บริโภคมีสิทธิเลือกซื้อสินค้า การแข่งขันทางด้านการค้าทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มสาขาแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน สินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นผู้ประกอบการ SME ยุคใหม่ ต้องมีความพร้อมทั้งองค์ความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ

"ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน” นั่นคือเสน่ห์ดั้งเดิมที่อยู่คู่จังหวัดยะลามาอย่างยาวนาน แต่ในปัจจุบันนี้ เมืองใต้สุดแดนสยามกำลังพลิกโฉมไปสู่โลกยุคใหม่ที่มีความทันสมัยภายใต้การบริหารจัดการของหลายองคาพยพ เพื่อพัฒนาเมืองยะลาให้เป็น “สมาร์ท ซิตี้” (Smart City) ภายใต้เป้าหมาย “นครยะลา เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน” เต็มรูปแบบ ตอบสนองการใช้ชีวิตของคนในพื้นที่และผู้เยี่ยมเยือนให้ได้รับความสะดวกสบาย และปลอดภัย การพัฒนาจังหวัดยะลา ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มต้นการพัฒนาจากศูนย์กลาง นั่นคือ “เทศบาลนครยะลา” ให้เป็นสมาร์ท ซิตี้ ซึ่งเริ่มต้นการพัฒนามาตั้งแต่ปี 2564 ภายหลังรัฐบาลได้ประกาศให้เทศบาลนครเมืองยะลา เป็นหนึ่งในเมืองสมาร์ท ซิตี้ ของประเทศไทยในระยะแรก เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อม และมีความเหมาะสมในการยกระดับให้เป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุขอย่างยั่งยืน “พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ” นายกเทศมนตรีนครยะลา เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการพัฒนาเมืองยะลาไปสู่การเป็นสมาร์ท ซิตี้ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันขอบเขตของเทศบาลนครยะลา มีชุมชนต่าง ๆ

[gallery columns="2" size="full" ids="32058,32057"] ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS พร้อมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ร่วมกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ออกบูธนิทรรศการโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 GeV และห้องปฏิบัติ และ Proton Therapy เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งขั้นสูง ที่ทันสมัย และมีมาตรฐานทัดเทียมกับต่างประเทศ และนวัตกรรม Medical Innovation for Thai Elderly ที่ช่วยสนับสนุนสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้สูงวัย โดยนายอนุทินและคณะผู้บริหารได้รับฟังและซักถามถึงการดำเนินงานด้วยความสนใจ ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา (อว.) เมื่อเร็ว ๆ นี้

เท่าที่พบเจอมาในประเทศไทย วิธีการชมเหยี่ยวแดงที่ง่ายดายที่สุด คือ ไปที่ร้านอาหารคนพลัดถิ่น จ.ตราด ช่วงเวลาหลักที่ทางร้านจะเรียกฝูงเหยี่ยวมาด้วยการให้อาหาร คือ ช่วงเที่ยงไปจนถึงบ่ายสาม สั่งอาหารแล้วนั่งรอชมกันได้เลย ด้วยสภาพของป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ สอดคล้องกับแหล่งอาศัยของเจ้าเหยี่ยวแดงในบริเวณปากอ่าว บวกกับความบังเอิญของเจ้าของร้านที่ขุดบ่อตกปลาขึ้นมา เมื่อให้อาหารปลาก็มีเจ้าเหยี่ยวเข้ามาขอเอี่ยว จากนั้นพวกมันก็ชักชวนกันมาเป็นฝูงใหญ่ โปรยอาหารเมื่อไหร่ก็จะออกมาโฉบไปมา ยกเว้นวันฝนตกที่จะซุ่มอยู่ในป่าเท่านั้น “คนพลัดถิ่น” จึงกลายเป็นแหล่งรวมช่างภาพสายดูนก รวมทั้งสายเที่ยวไปโดยปริยาย แต่ที่ดึงดูดใจได้ไม่แพ้กันก็คือรสชาติของอาหารที่จัดว่าเด็ดมานานแล้ว ถ้าจะดูเหยี่ยวช่วงเย็น ๆ ก็แวะไปที่ร้าน "ทิวธารา" ปากคลองน้ำเชี่ยว อ.เมือง ตราด เป็นอีกจุดชมเหยี่ยวสุดเฟี้ยวไม่แพ้กัน นอกจากร้านคนพลัดถิ่น พื้นที่รอยต่อจังหวัดตราดและจันทบุรี บริเวณ “แม่น้ำเวฬุ” ก็เป็นแหล่งอาศัยของเหยี่ยวแดง แต่ที่นี่มีกิจกรรมที่ทำให้เราได้ใกล้ชิดกับพวกมันแบบไปไหนไปกัน [caption id="attachment_32039" align="aligncenter" width="800"] บ้านมณีแดงโฮมสเตย์ มีที่พักให้เลือหลายแบบ[/caption] กิจกรรมล่องเรือชมเหยี่ยวแดงในแม่น้ำเวฬุ ณ หมู่บ้านไร้แผ่นดิน (ซึ่งหมายถึงการดำรงชีวิตอยู่ในลุ่มน้ำ) อ.ขลุง

กลุ่มนักวิชาการทางศาสนา นักกิจกรรม และประชาชนผู้มีเจตนารมณ์ร่วมกัน จัดงาน WE STAND WITH PALESTINE รวมพลคนรักปาเลสไตน์ราว 500 คน ร่วมแสดงจุดยืนด้านมนุษยธรรม ดุอาร์ (ขอพร) และร่วมบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวปาเลสไตน์  ณ Trees in Town ลาดพร้าว 112 สถานการณ์ความขัดแย้งในอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ยืดเยื้อยาวนานจนเข้าสู่เดือนที่สอง สร้างผลลกระทบอย่างหนักให้กับประชาชน โดยเฉพาะในเขตกาซาที่มีความเดือดร้อนจากปัญหาการขาดแคลนอาหาร เวชภัณฑ์ พลังงานและที่พังพิง โดยมีสังคมโลกคอยจับตาและร่วมเรียกร้องหาสันติภาพ ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่แสดงความห่วงใยโดยการส่งความช่วยเหลือผ่านสหประชาชาติ (UN) รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมในหลายพื้นที่เพื่อแสดงจุดยืนด้านมนุษยธรรมและการร่วมบริจาคช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 กลุ่มนักวิชาการทางศาสนา นักกิจกรรม และประชาชน ร่วมจัดงาน WE STAND WITH

ภาพความทรงจำอาจเลือนราง แต่เรื่องราวบางอย่างกลับชัดเจนขึ้น ที่เคยคิดว่าลืมเลือนไปแล้ว กลายเป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในใจ เพียงแค่ไม่ได้ขุดค้นมันขึ้นมา

การได้อยู่กับธรรมชาติ ภายใต้บรรยากาศอันเงียบสงบ เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก แต่สมัยก่อน หากเรากล่าวถึงการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ภาพของการผจญภัยของสายลุย จะลอยมาพร้อมคนแบกเป้ แคมป์ไฟและลานกางเต็นท์  โควิด 19 เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้การตั้งแคมป์เป็นเทรนด์ท่องเที่ยวหนึ่งที่มาแรง  และเป็นที่มาของการเติบโตของสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับกิจกรรมกลางแจ้ง เนื่องจากผู้คนโหยหาธรรมชาติ และความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังอยากได้รับความสะดวกสบาย ลุยได้แต่ต้องหล่อ ขณะที่โรงแรมยังปิดให้บริการ พวกเขาจึงมองหาอุปกรณ์ที่เพิ่มลูกเล่นให้กับการท่องเที่ยวแนวแคมป์ ซึ่งต้องเป็นของดี มีสไตล์เก๋ไก๋ สะดวกใช้ ถ่ายรูปสวย และต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย เป็นที่มาของสินค้าที่กลุ่ม Glamping (แกลมปิง) และจะเรียกผู้คนที่มี Luxury Lifestyle นี้ว่า “แกลมเปอร์” แกลมปิง หรือ Glamping มาจากคำว่า ‘Camping’ บวก ‘Glamorous’ หมายถึงการท่องเที่ยวแคมป์ปิ้ง (Camping) แบบหรูหราหรือมีสไตล์ สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวยุคใหม่ที่ชอบแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ๆ